วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ผักพื้นบ้านและพืชสมุนไพร

กระเจี๊ยบมอญ (Okra)Abelmoschus esculentus ( L.) MoenchMALVACEAEชื่ออื่น กระเจี๊ยบ มะเขือควาย มะเขือมอญ(กลาง) มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือมอญมะเขือละโว้ (เหนือ) ลักษณะทั่วไป ไม้ล้มลุกสูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีขนหยาบลำต้นมีสีเขียวกลม เส้นผ่าศูนย์กล่างเฉลี่ย 1-3 เซนติเมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปมือ เป็นแฉกลึกกว้าง 7 - 26 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ดอก ออกตามซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบด้านในสีม่วงแดง ก้านชู อับเติดกันเป็นหลอด เป็นพืช ผสมตัวเอง มีทั้งเกษรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ผล เป็นผลแคปซูล มีรูปร่างเรียวยาวเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม ผลตั้งชูขึ้นมีสีเขียวอ่อน หรือเขียวแก่ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ เมล็ด สีดำ จำนวน 200 เมล็ด หนักประมาณ 10 กรัม->>
<<-การปลูกจำใช้เมล็ดพันธุ์ 500 กรัม/ไร่ พันธุ์พื้นเมืองจะมีต้นสูงใหญ่ มีผลที่มีขนาดใหญ่ แต่ไม่มีความสม่ำเสมอ ผลสีเขียวอ่อน ส่วนพันธุ์ลูกผสมเช่นพันธุ์ลักกี้ไฟน์ เบอร์ 473 และพันธุ์เซาท์ซี เบอร์ 474 จะมีความสม่ำเสมอผลสีเขียวเข้มติดผลบริเวณข้อ
ประโยชน์ และความสำคัญทางอาหาร ผลอ่อน ลวกนึ่งหรือเผาไฟ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนำผลอ่อนมาแกงส้มเครื่องปรุง น้ำพริกแกงส้มมีดังนี้ พริก เกลือ ตะไคร้ ขมิ้น กระเทียม หอม กะปิโขลกเครื่องปรุงน้ำพริกให้เข้ากัน ผัดน้ำพริกกับน้ำมันและเนื้อปลาให้สุกและหอมตักเอาปลาออก และเติมน้ำทิ้งไว้จนกระทั่งเดือด ใส่กระเจี๊ยบมอญจนกระทั่งสุก

ประโยชน์ทางสมุนไพรผลแห้งป่นชงรับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ และดื่มน้ำตามวันละ 3-4 ครั้งช่วยรักาาโรคกระเพาะ ผล มีสาร pectin และ mucilage ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร
กระดอมGymnopetalum cochinense Kurz.CUCURBITACEAE ชื่ออื่น ขี้กาดง (สระบุรี) มะนอยจา (เหนือ)ผักแคบป่า (น่าน)มะนอยหก มะนอยหกฟ้า(แม่ฮ่องสอน) เขียวขี้กาลักษณะทั่วไป พืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยไปตามดิน เถามีขนาดเล็กเป็นร่องส่วนปลายจะมีมือเกาะเป็นเส้นกลมสีเขียวคล้ายลวดสปริง ยาว 14-25 เซนติเมตรออกตรงข้ามกับใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันรูปร่างต่าง ๆ กัน เป็นรูปไตสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือฉแก ขอบใบหยักเว้าเป็นฟันเลื่อย ใบกว้าง 5 -10เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร เส้นใบแยกจากโคนใบที่จุดเดียวกัน ฐานใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ มีขนแข็งปกคลุม สากมือทั้งด้านบนและด้านล่าง
ผลกระดอมสุก
-->> กลีบดอกยาว1.5 - 3.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 3 อันติดอยู่ที่ calyx-tube โดนที่อับเกสรตังผู้จะอยู่ติดกันเป็นแท่ง S-shapedดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยวมีลักษณะและจำนวนของกลีบเลี้ยงคล้ายดอกเพศผู้แต่มีก้านดอกสั้นกว่า เกสรตัวเมียมี 1 อัน รังไข่ติดกับฐานรองดอกคล้ายกระสวย มีหนามแหลมเป็นชนิดมีเนื้อนุ่มปกคลุม ยอดเกสรตัวเมียจะแยกเป็น 3 แฉก รังไข่มี 3 ห้อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ผล รูปรีหัวท้ายแหลมเป็นชนิดมีเนื้ออ่อนนุ่ม ผลนาว 3 - 7 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 เซนติเมตร มีสัน 10 สันผลอ่อนมีผิวสีเขียว เมื่อแก่มีสีส้มปนแดงเนื้อภายในเต็ม ผิวสาก เมล็ด สีน้ำตาลรูปรียาว 6 มิลลิเมตร การขยายพันธุ์ โดยเมล็ดและเถาปักชำ
ดอกกระดอม
นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบบริเวณที่รกร้าง ทุ่งนาและทุ่งหญ้าทั่วไปประโยชน์และความสำคัญ ทางอาหาร ผลอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก เป็นผักแกงป่า เป็นผักแกงป่า และแกงคั่วโดยผ่าเอาเม็ดออก ทางสมุนไพร ผลรสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ ดีเดือด คลั่ง เพ้อ คุ้มดีคุ้มร้าย ทำโลหิตให้เย็น ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก รักษามดลูกหลังอาการแท้งหรือคลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบ ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ใช้ผลแห้ง 12-16ผล น้ำหนักประมาณ 10 กรัม ต้มกับน้ำพอประมาณ เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3กรองน้ำดื่มเช้าเย็น จนกว่าจะหาย ผลแก่เป็นพิษ เมล็ด แก้ผิดสำแดง กินแก้ผลไม้เป็นพิษ รักษาโรคในการแท้งลูก ใช้ขับน้ำลายช่วยย่อยอาหาร ราก รสขม แก้ไข บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ดับพิษโลหิตรากแห้งบดผสมน้ำร้อนใช้ทางถูนวดบริเวณที่ปวดเมื่อย ใบ น้ำคั้นใบใช้หยอดตา แก้อักเสบ แก้พิษของบาดทะยัก เถา บำรุงน้ำดี แก้ไข้ เจริญอาหารถอนพิษผิดสำแดง ดีฝ่อ ดีเดือด ดับพิษโลหิตทั้งห้า บำรุงธาตุ แก้ไขจับสั่นรักษมดลูกหลังจากการคลอดบุตร บำรุงน้ำนมฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว เมื่อฉีดหรือป้อนสารสกัดผลแห้งด้วยแอลกอฮอล์-น้ำ (1:1) ในขนาด10 กรัม/กิโลกรัม ไม่เป็นพิษ

ตัวอย่างพืชที่มีคุณสมบัติใช้ไล่ยุงหรือป้องกันยุงกัดได้ เช่น

มะกรูด
ชื่อวิทยาศาสตร์
Citrus hystri
ลักษณะ
มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบหนาและมีรอยคอดตรงกลาง ดอกสีขาว ผิวของผลมะกรูดขรุขระเป็นปุ่มปมทั้งลูก น้ำในลูกมีรสเปรี้ยว มีหนามแหลมยาว ตามลำต้นและกิ่ง
ส่วนที่ใช้
ผล
วิธีใช้
นำผิวของผลมะกรูดสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำ โดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้
ไพลเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Zingiber cassumunar
ลักษณะ
ไพลเหลืองเป็นพืชหัว หัวเป็นแง่งโตติดกันเป็นพืด ใบเล็กยาว ปลายแหลม
ส่วนที่ใช้
หัว
วิธีใช้
นำหัวไพลเหลืองสดมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง แต่มีข้อเสียคือทำให้ผิวหนัง ติดสีเหลือง ล้างออกยาก
สะระแหน่
ชื่อวิทยาศาสตร์
Mentha arversis
ลักษณะ
สะระแหน่เป็นพืชเลี้อยตามพื้นดิน ลำต้นสีแดงเข้ม ใบกลมขนาดหัวแม่มือ ใบค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบและมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ ใบ
วิธีใช้
ขยี้ใบสะระแหน่สดทาถูที่ผิวหนังโดยตรง
กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Allium sativum
ลักษณะ
กระเทียมเป็นพืชหัว ประกอบด้วยกลีบเล็กๆ เกาะกัน โดยมีเยื่อบางๆ สีขาวหุ้มหัวไว้เป็นชั้นๆ ใบยาว แข็งและหนา ดอกเป็นช่อ เล็กๆมีสีขาวรวมกันเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายก้านดอก
ส่วนที่ใช้
หัว
วิธีใช้
นำหัวกระเทียมสดมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง หรือจะใช้หัวกระเทียมสด ทาถูที่ผิวหนังโดยตรงก็ได้
กะเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ocimum sanotum
ลักษณะ
กะเพราเป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นและใบมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ที่นิยมปลูกตามบ้านมี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว ใบสีเขียว และ กะเพราแดง ใบมีสีออกแดงเลือดหมู
ส่วนที่ใช้
ใบ
วิธีใช้
ขยี้ใบสดหลายๆ ใบวางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันกะเพราที่ระเหยออกมาจากใบจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้ หรือจะขยี้ใบสดแล้วทาถู ที่ผิวหนังโดยตรงก็ได้ แต่กลิ่นน้ำมันกะเพรานี้ระเหยหมดไปค่อนข้างเร็วจึงควรหมั่นเปลี่ยนบ่อยครั้ง
ว่านน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Acorus calamus
ลักษณะ
ว่านน้ำเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมหนองน้ำหรือบริเวณที่ชื้นแฉะ เหง้าเป็นเส้นกลมหนา สีขาวออกม่วง เจริญงอกงามตามยาวขนานกับ ผิวดิน รากเล็กเป็นฝอย ใบแตกจากเหง้า ลักษณะเป็นเส้นตรง ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ เห็นเส้นกลางใบชัดเจน ช่อดอกทรง กระบอกสีเหลืองออกเขียว
ส่วนที่ใช้
เหง้า
วิธีใช้
หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง
แมงลัก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ocimum citratum
ลักษณะ
แมงลักเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 60-70 เซนติเมตร ดอกสีขาว เป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง
ส่วนที่ใช้
ใบ
วิธีใช้
ขยี้ใบสดทาถูที่ผิวหนัง
ตะไคร้หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cymbopogon nardus
ลักษณะ
ตะไคร้หอมขึ้นเป็นกอ ลักษณะคล้ายตะไคร้บ้านแต่ใบยาวกว่าและลำต้นมีสีแดง ดอกเป็นพวงช่อฝอย
ส่วนที่ใช้
ต้นและใบ
วิธีใช้
นำต้นและใบสดมาโขลกผสมกับน้ำ ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง หรือนำต้นสด 4-5 ต้น มาทุบแล้ววางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันตะไคร้หอมที่ระเหยออกมาจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้
ยูคาลิปตัส
ชื่อวิทยาศาสตร์
Eucalyptus citriodara
ลักษณะ
ยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นสูง ใบยาวรี ค่อนข้างหนา
ส่วนที่ใช้
ใบ
วิธีใช้
ขยี้ใบสดทาถูที่ผิวหนัง
ต้นไม้กันยุง
ต้นไม้กันยุงเป็นพันธุ์ไม้ที่ได้รับการพัฒนาโดยนักพืชสวนชาวดัทช์ Dirk van Leenen ซึ่งใช้ วิธีการทางพันธุ์วิศวกรรมระหว่างพันธุ์ไม้ 2 ตระกูล คือ อาฟริกัน เจอราเนียม (African Geranium) และตะไคร้หอม (Citronella) ต้นไม้กันยุงจึงมีลักษณะคล้ายกับต้นเจอราเนียม แต่จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆของต้นตะไคร้หอม เนื่องจากน้ำมันตะไคร้หอมมีคุณสมบัติในการไล่ยุง (เป็น repellent) ต้นไม้กันยุงนี้จึงสามารถ ไล่ยุงได้เช่นกัน แต่ประสิทธิภาพจะขึ้นอยู่กับขนาดของต้นไม้และพื้นที่ที่ใช้งาน เช่น ต้นไม้กันยุง อายุประมาณ 2 เดือน จะมี ความสูงจาก ผิวดินประมาณ 6 นิ้ว กลิ่นน้ำมันที่ระเหยออกมาจากต้นไม้จะสามารถไล่ยุงได้ในพื้นที่ประมาณ 100 ตารางฟุต เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ใน ต้นไม้กันยุงจะมีสารอยู่สองชนิด คือ สารที่มีคุณสมบัติเป็นสารดึงดูดยุง (attractant) และสารไล่ยุง (repellent) ต้นไม้กันยุงที่ยังเล็กจะมี สารดึงดูดยุงมากกว่าสารไล่ยุง ต่อเมื่อโตขึ้นสารดึงดูดยุงจะค่อยๆลดปริมาณลง จนสารไล่ยุงสามารถแสดงคุณสมบัติได้เต็มที่
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pelargonium citrosum
ลักษณะ
เป็นไม้พุ่ม ใบแตกออกจากทั้งตายอดและตาข้าง ขอบใบหยัก
ส่วนที่ใช้
ใช้ทั้งต้นโดยจะปลูกเป็นไม้ประดับ ในขณะเดียวกันก็จะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้
วิธีใช้
วางกระถางที่ปลูกต้นไม้กันยุงไว้ในห้อง สามารถไล่ยุงได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ต้นไม้ก็ต้องการแสงแดดเพื่อการสังเคราะห์แสง จึงควรนำต้นไม้ไปรับแสงแดด อย่างน้อยวันละ 4 ชั่วโมงและรดน้ำให้ชุ่มในเวลาเช้า หากแสงแดดไม่จัด ควรให้น้ำพอสมควรเพื่อ ป้องกันมิให้รากเน่า