วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ผักพื้นบ้านและพืชสมุนไพร

กระเจี๊ยบมอญ (Okra)Abelmoschus esculentus ( L.) MoenchMALVACEAEชื่ออื่น กระเจี๊ยบ มะเขือควาย มะเขือมอญ(กลาง) มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือมอญมะเขือละโว้ (เหนือ) ลักษณะทั่วไป ไม้ล้มลุกสูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีขนหยาบลำต้นมีสีเขียวกลม เส้นผ่าศูนย์กล่างเฉลี่ย 1-3 เซนติเมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปมือ เป็นแฉกลึกกว้าง 7 - 26 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ดอก ออกตามซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบด้านในสีม่วงแดง ก้านชู อับเติดกันเป็นหลอด เป็นพืช ผสมตัวเอง มีทั้งเกษรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ผล เป็นผลแคปซูล มีรูปร่างเรียวยาวเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม ผลตั้งชูขึ้นมีสีเขียวอ่อน หรือเขียวแก่ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ เมล็ด สีดำ จำนวน 200 เมล็ด หนักประมาณ 10 กรัม->>
<<-การปลูกจำใช้เมล็ดพันธุ์ 500 กรัม/ไร่ พันธุ์พื้นเมืองจะมีต้นสูงใหญ่ มีผลที่มีขนาดใหญ่ แต่ไม่มีความสม่ำเสมอ ผลสีเขียวอ่อน ส่วนพันธุ์ลูกผสมเช่นพันธุ์ลักกี้ไฟน์ เบอร์ 473 และพันธุ์เซาท์ซี เบอร์ 474 จะมีความสม่ำเสมอผลสีเขียวเข้มติดผลบริเวณข้อ
ประโยชน์ และความสำคัญทางอาหาร ผลอ่อน ลวกนึ่งหรือเผาไฟ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนำผลอ่อนมาแกงส้มเครื่องปรุง น้ำพริกแกงส้มมีดังนี้ พริก เกลือ ตะไคร้ ขมิ้น กระเทียม หอม กะปิโขลกเครื่องปรุงน้ำพริกให้เข้ากัน ผัดน้ำพริกกับน้ำมันและเนื้อปลาให้สุกและหอมตักเอาปลาออก และเติมน้ำทิ้งไว้จนกระทั่งเดือด ใส่กระเจี๊ยบมอญจนกระทั่งสุก

ประโยชน์ทางสมุนไพรผลแห้งป่นชงรับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ และดื่มน้ำตามวันละ 3-4 ครั้งช่วยรักาาโรคกระเพาะ ผล มีสาร pectin และ mucilage ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร
กระดอมGymnopetalum cochinense Kurz.CUCURBITACEAE ชื่ออื่น ขี้กาดง (สระบุรี) มะนอยจา (เหนือ)ผักแคบป่า (น่าน)มะนอยหก มะนอยหกฟ้า(แม่ฮ่องสอน) เขียวขี้กาลักษณะทั่วไป พืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยไปตามดิน เถามีขนาดเล็กเป็นร่องส่วนปลายจะมีมือเกาะเป็นเส้นกลมสีเขียวคล้ายลวดสปริง ยาว 14-25 เซนติเมตรออกตรงข้ามกับใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันรูปร่างต่าง ๆ กัน เป็นรูปไตสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือฉแก ขอบใบหยักเว้าเป็นฟันเลื่อย ใบกว้าง 5 -10เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร เส้นใบแยกจากโคนใบที่จุดเดียวกัน ฐานใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ มีขนแข็งปกคลุม สากมือทั้งด้านบนและด้านล่าง
ผลกระดอมสุก
-->> กลีบดอกยาว1.5 - 3.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 3 อันติดอยู่ที่ calyx-tube โดนที่อับเกสรตังผู้จะอยู่ติดกันเป็นแท่ง S-shapedดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยวมีลักษณะและจำนวนของกลีบเลี้ยงคล้ายดอกเพศผู้แต่มีก้านดอกสั้นกว่า เกสรตัวเมียมี 1 อัน รังไข่ติดกับฐานรองดอกคล้ายกระสวย มีหนามแหลมเป็นชนิดมีเนื้อนุ่มปกคลุม ยอดเกสรตัวเมียจะแยกเป็น 3 แฉก รังไข่มี 3 ห้อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ผล รูปรีหัวท้ายแหลมเป็นชนิดมีเนื้ออ่อนนุ่ม ผลนาว 3 - 7 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 เซนติเมตร มีสัน 10 สันผลอ่อนมีผิวสีเขียว เมื่อแก่มีสีส้มปนแดงเนื้อภายในเต็ม ผิวสาก เมล็ด สีน้ำตาลรูปรียาว 6 มิลลิเมตร การขยายพันธุ์ โดยเมล็ดและเถาปักชำ
ดอกกระดอม
นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบบริเวณที่รกร้าง ทุ่งนาและทุ่งหญ้าทั่วไปประโยชน์และความสำคัญ ทางอาหาร ผลอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก เป็นผักแกงป่า เป็นผักแกงป่า และแกงคั่วโดยผ่าเอาเม็ดออก ทางสมุนไพร ผลรสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ ดีเดือด คลั่ง เพ้อ คุ้มดีคุ้มร้าย ทำโลหิตให้เย็น ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก รักษามดลูกหลังอาการแท้งหรือคลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบ ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ใช้ผลแห้ง 12-16ผล น้ำหนักประมาณ 10 กรัม ต้มกับน้ำพอประมาณ เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3กรองน้ำดื่มเช้าเย็น จนกว่าจะหาย ผลแก่เป็นพิษ เมล็ด แก้ผิดสำแดง กินแก้ผลไม้เป็นพิษ รักษาโรคในการแท้งลูก ใช้ขับน้ำลายช่วยย่อยอาหาร ราก รสขม แก้ไข บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ดับพิษโลหิตรากแห้งบดผสมน้ำร้อนใช้ทางถูนวดบริเวณที่ปวดเมื่อย ใบ น้ำคั้นใบใช้หยอดตา แก้อักเสบ แก้พิษของบาดทะยัก เถา บำรุงน้ำดี แก้ไข้ เจริญอาหารถอนพิษผิดสำแดง ดีฝ่อ ดีเดือด ดับพิษโลหิตทั้งห้า บำรุงธาตุ แก้ไขจับสั่นรักษมดลูกหลังจากการคลอดบุตร บำรุงน้ำนมฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว เมื่อฉีดหรือป้อนสารสกัดผลแห้งด้วยแอลกอฮอล์-น้ำ (1:1) ในขนาด10 กรัม/กิโลกรัม ไม่เป็นพิษ

ไม่มีความคิดเห็น: