วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ผักใหม่โครงการหลวง วิจัยแก้ปัญหาราคาตกต่ำ

6สุกัญญา ศุภกิจอำนวยมูลนิธิโครงการหลวง หน่วยงานที่ให้ความสำคัญ กับการวิจัยและพัฒนา พันธุ์พืชผัก-ผลไม้อย่างต่อเนื่อง ทุกๆ ปีจะมีผลผลิตหน้าตาแปลกๆ ออกสู่ตลาด เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา ราคาผลผลิตตกต่ำ ทดแทนการนำเข้า ปีนี้ก็เช่นกัน ผัก 6 ชนิด ออกมาอวดโฉม ในซูเปอร์มาร์เก็ต ภายใต้เครื่องหมายการค้า 'ดอยคำ' งานด้านการวิจัยและพัฒนา จัดเป็นวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งมูลนิธิโครงการหลวง โครงการส่วนพระองค์ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2512 นับถึงวันนี้ย่างเข้าสู่ปีที่ 35 เพื่อวิจัยพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่สูง ทดแทนพืชเสพติดซึ่งเคยเป็นปัญหาในอดีต การนำเกษตรกรมาเข้าร่วมโครงการ ยังช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้กับพวกเขา ปัจจุบันโครงการหลวงมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการกินพื้นที่หลายหมื่นไร่ กระจายตามศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 37 แห่ง ครอบคลุม 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และแม่ฮ่องสอน โดยมีสถานีวิจัย 4 แห่ง ที่อ่างข่าง ปางดะ อินทนนท์ และขุนวาง ผลจากการวิจัยและพัฒนา ทำให้ทุกๆ ปี โครงการหลวงสามารถวิจัยพืชผักเมืองหนาวใหม่ๆ ออกสู่ตลาดไม่ขาด ภายใต้เครื่องหมายการค้า 'ดอยคำ' ผ่านช่องทางการจำหน่ายในร้านดอยคำ และซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่เกือบทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็น แม็คโคร โลตัส คาร์ฟูร์ ท็อปส์ถือเป็นการผูกการผลิตไว้กับการตลาดไว้อย่างครบครันในปีนี้ก็เช่นกัน โครงการหลวงได้เปิดตัวผักใหม่ 6 ชนิด ได้แก่ แตงหอม, ดอกกุยช่ายไต้หวัน, มะระหยกดอยคำ, มะเขือเทศเชอรี่เหลือง, แตงกวายุโรป และคะน้าเห็ดหอม ในงานโครงการหลวงเฉลิมพระเกียรติมหาราชินีนาถ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคค่อนข้างดีอัญชัญ ชมภูพวง นักวิชาการผัก หัวหน้าโครงการงานวิจัยผักใหม่ โครงการหลวง บอกว่า สาเหตุหนึ่งของการวิจัยผักใหม่ทดแทนผักชนิดเดิมๆ เพื่อต้องการแก้ปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่คุ้มค่าในการลงทุนของเกษตรกร อีกทั้งต้องการสร้างความหลากหลายให้กับผู้บริโภค'ของเดิมปลูก เกษตรกรต้องใช้พื้นที่มาก ขาดทุนไม่คุ้มค่าปุ๋ย ยา พอโครงการหลวงพัฒนาพืชผักใหม่ ทำให้เกษตรกรใช้พื้นที่ปลูกน้อยลง ปลูกผักที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น' ทุกครั้งที่มีการพัฒนาผักใหม่ จะสามารถขยับราคาขายเพิ่มขึ้น 20-30% เลยทีเดียว เธอบอกพืชผักเหล่านี้ยังทดแทนการนำเข้าผักเมืองหนาว ซึ่งมีราคาสูงเมื่อเทียบกับราคาจำหน่ายผักของโครงการหลวง ทว่ากว่าจะวิจัยผักใหม่ๆ ได้แต่ละสายพันธุ์ กลับไม่ใช่เรื่องง่าย กินเวลาในการวิจัยไปจนถึงนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกจนสามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ อย่างน้อย 2 ปี บางสายพันธุ์พัฒนานานถึง 3 ปีนักวิจัยจึงต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมากเพื่อรอคอยความสำเร็จเธอ เล่าว่า ขั้นตอนการวิจัย เริ่มจากการนำเข้าพันธุ์ผักจากต่างประเทศ ในสายพันธุ์ที่ต้องการนำมาวิจัยและพัฒนาให้สามารถปลูกได้ในพื้นที่ภาคเหนือของไทย ด้วยการทดสอบสายพันธุ์ โดยการนำไปปลูกในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศที่มีความสูงแตกต่างกันจากระดับน้ำทะเล และในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เพื่อสังเกตความเหมาะสมด้านผลผลิต รสชาติ สีและขนาด ก่อนจะสรุปว่าพื้นที่ใดเหมาะสมต่อการเพาะปลูกมากที่สุด 'เราต้องทดลองปลูกหมดเป็นคอร์พ ในหน้าร้อน หนาว ฝน จนพบว่าการปลูกผักในหน้าหนาวช่วงเดือน พ.ย.-ก.ย.ผักจะปลูกง่ายและมีคุณภาพดี ต่างกับเมื่อเข้าหน้าร้อนหรือฝน คุณภาพผลผลิตจะต่ำ โดยเฉพาะในหน้าฝนจะต้องมีเทคนิคการเพาะปลูกภายใต้โรงเรือน' ในขั้นตอนการเพาะปลูก เจ้าหน้าที่จะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะปลูกให้กับตัวแทนเกษตรกร 4-5 คน ก่อนที่พวกเขาจะกระจายความรู้ที่ได้รับไปยังเกษตกรรายอื่น โดยเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในทุกขั้นตอนการเพาะปลูกตั้งแต่การเตรียมปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธุ์ ให้เป็นไปตามแผนการผลิตของโครงการหลวงเธอยังไล่เรียงถึงผักใหม่ทั้ง 6 ชนิด ซึ่งโครงการหลวงภูมิใจนำเสนอออกสู่ตลาด เริ่มจาก มะเขือเทศเชอรี่เหลือง ซึ่งเป็นงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากปกติจะมีสีแดง ซึ่งมีจำหน่ายอยู่เกลื่อนตลาด ทำให้ราคาจำหน่ายต่ำมาก ทำอย่างไรจะทำให้แหวกแนว ?เรื่อง 'สี' และ 'รสชาติ' เป็นคำตอบที่ได้ จนเป็นที่มาของ มะเขือเทศเชอรี่เหลือง รสชาติหวาน กรอบ เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดมากเพราะไม่มีคู่แข่งขัน โดยปัจจุบันปลูกอยู่ในระดับความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์และขุนวางคะน้าเห็ดหอม เป็นคะน้าซึ่งมีลักษณะแปลกไป ก้านใหญ่ อวบ ใบมีกิ่งหยักเห็ดหอม ซึ่งปรับปรุงพันธุ์มาจากคะน้าจีน ปัจจุบันโครงการหลวงได้พัฒนาพันธุ์ทั้งคะน้าฮ่องกง และคะน้ายอดดอยคำ แต่กลับพบว่า คะน้าเห็ดหอมมีรสชาติดีกว่าคะน้าทั่วไป ซึ่งใช้เวลาพัฒนาพันธุ์ไม่นาน เนื่องจากเป็นการต่อยอดงานวิจัยคะน้าเดิมที่มีอยู่ งานวิจัยคะน้าเห็ดหอมยังพบว่า การปลูกคะน้าในที่สูงจะทำให้ไฟเบอร์ (กากใย) น้อยลง เนื่องจากในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นจะทำให้การเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแป้งทำได้ช้ากว่าแตงหอม ใช้เวลาทดสอบสายพันธุ์นานถึง 3 ปี ทั้งสายพันธุ์อิตาลี สหรัฐ ญี่ปุ่น และไต้หวัน กว่าจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยสรุปที่จะใช้สายพันธุ์จากญี่ปุ่นและไต้หวันมาผสมกัน พันธุ์ที่นำมาปลูกชอบอากาศเย็น ต่างจากแตงส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นพืชกึ่งร้อนกึ่งหนาว แตงหอมที่พัฒนาขึ้นจะมีกลิ่นหอม รสหวาน ผิวเป็นตาข่ายลายนูน ขนาด 1.2 -1.5 กก.ต่อผล ปลูกอยู่บนพื้นที่สูง 700 เมตร จากระดับน้ำทะเล ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่'แตงหอมสายพันธุ์ญี่ปุ่นจะให้ผลผลิตขนาดใหญ่มากหนักเกือบ 2 กก. ซึ่งเราคิดว่าใหญ่เกินไปที่จะรับประทานครั้งเดียวหมด จึงวิจัยให้มีขนาดเล็กลงสามารถทานครั้งเดียวหมด เหมือนกับความพยายามที่จะวิจัยพันธุ์ฟักทองอยู่ในขณะนี้ที่กำลังส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก'ดอกกุยช่ายไต้หวัน เป็นผักที่คนไทยรู้จักมานาน แต่คุณภาพของกุยช่ายที่ขายกันอยู่ตามท้องตลาดมีจะก้านแข็ง เหนียว เคี้ยวไม่ขาด ที่มักเรียกกันว่า 'ดอกไม้กวาด' แต่กลับเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการลดคอเลสเตอรอลในเลือด แต่คนไม่ชอบทานเพราะแข็งนี่คือโจทย์ที่นักวิจัยโครงการหลวงต้องตีให้แตกพันธุ์กุยช่ายไต้หวันของโครงการหลวง เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์กุยช่ายไต้หวัน ซึ่งสามารถแก้ขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นให้หมดไป ปลูกอยู่ที่ความสูง 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล บนสถานีวิจัยหลวงปางดะ 'เราวิจัยพบว่า ถ้านำกุยช่ายไต้หวันไปปลูกในพื้นที่สูงมาก จะทำให้ผลผลิตลดลงถึง 50% เพราะกุยช่ายเป็นพืชกึ่งร้อนกึ่งหนาวนิดๆ พันธุ์นี้ใช้เวลาวิจัยไม่นานเพราะเป็นพืชที่มีอยู่ในบ้านเราอยู่แล้ว พื้นที่ 5-6 ไร่ ให้ผลผลิตมากถึงสัปดาห์ละ 2 ตัน โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน ดอกกุยช่ายยังใช้ทำดอกไม้ประดับได้'มะระหยกดอยคำ เป็นพันธุ์ที่โครงการหลวงพัฒนาต่อยอดจากมะระขาว ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่โครงการหลวงพัฒนาอยู่แล้วมาผสมกับพันธุ์ไต้หวัน ให้สีเขียว ความขมน้อยกว่า รสชาติดีกว่า สีเขียวยังให้คลอโรฟิลด์เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ปลูกอยู่ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะป๊อก สูงจากระดับน้ำทะเล 500-600 เมตร มีกำลังการผลิต 500 กก.ต่อสัปดาห์แตงกวายุโรป จะแตกต่างจากแตงกวาญี่ปุ่น ซึ่งมีผิวเป็นตุ่ม แตงกว่ายุโรปผิวจะเรียบมีทั้งขนาดผลสั้นและผลยาว พื้นที่เดิมปลูกอยู่ในแถบยุโรป ปลูกมากในฮอลแลนด์ รสชาติกรอบให้ความหวานค่อนข้างดี ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างทดสอบพันธุ์ใหม่เพิ่มเติม ผลผลิตจึงยังไม่นิ่ง ประมาณ 500 กก.ต่อสัปดาห์ ปลูกอยู่ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงดอยอินทนนท์ และแม่สาใหม่

การปลูกกุยช่ายขาว

ในการปลูกกุยช่ายขาวนั้น มีความสัมพันธ์กับการปลูกกุยช่ายเขียว คือ ในกอเดียวกันจะต้องปลูกกุยช่ายเขียวก่อน เมื่อตัดกุยช่ายเขียวแล้วจึงปลูกกุยช่ายขาวต่อ โดยทำสลับกัน ดังนี้
1. หลังจากตัดกุยช่ายเขียวแล้ว นำกระถางดินเผาที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ความยาว 40 เซนติเมตร มาครอบกอกุยช่ายไว้ไม่ให้ถูกแสงแดด แล้วมุงด้วยตาข่ายพรางแสง โดยให้ตาข่ายสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร 2. รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และรดน้ำหมักชีวภาพทุก 7 วัน 3. ประมาณ 8-11 วัน จะได้กุยช่ายขาวที่มีขนาดความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร จึงสามารถตัดจำหน่ายได้ 4. หลังจากตัดกุยช่ายขาวแล้ว ให้รื้อตะข่ายพรางแสงออก และไม่ต้องครอบด้วยกระถางดินเผา 5. รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ตามด้วยน้ำหมักชีวภาพทุก 7 วัน รอประมาณ 45 วัน จึงตัดกุยช่ายเขียว และหลังจากนั้นจึงทำเป็นกุยช่ายขาว ทำสลับกันเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาต้นกุยช่ายให้แข็งแรงนั้น เกษตรกรควรหมั่นรดน้ำทุกๆ วัน เช้า-เย็น ใช้บัวรดน้ำที่มีรูขนาดเล็ก ไม่ควรรดน้ำด้วยสายยาง และควรปรับปรุงบำรุงดิน โดยนำขี้อ้อยและปุ๋ยขี้ไก่มาผสมใส่ลงในแปลงเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยให้กุยช่ายเติบโตเร็ว สมบูรณ์ และหลังจากเก็บกุยช่ายแล้ว ควรนำมาล้างน้ำให้สะอาด และบรรจุใส่ถุงเพื่อจำหน่ายต่อไป
เทคนิคการขยายพันธุ์กุยช่ายด้วยเมล็ด
การปลูกกุยช่ายที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ข้อสำคัญจะอยู่ที่ขั้นตอนการเพาะเมล็ด หากเกษตรกรขาดความรู้พื้นฐานก็จะเพาะเมล็ดไม่ขึ้นหรือขึ้นแบบไม่สม่ำเสมอ ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องมีการเตรียมดินที่ดี มีการฉีดหรือหว่านยาฆ่าแมลงไว้ในแปลงเพาะกล้า และต้องเตรียมเมล็ดพันธุ์ด้วยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ใส่ถุงผ้าไปแช่น้ำไว้ให้ชุ่ม แล้วพักไว้ในที่ร่มชื้นจนกุยช่ายมีรากงอกจากเมล็ดเสียก่อน นำเมล็ดไปหว่านลงในดินที่เตรียมไว้ ให้น้ำบ่อยๆ แต่อย่าให้มากจนเกินไป ต้นจะเริ่มแทงยอดขึ้นมา ใช้เวลาประมาณ 8-10 วัน
ระยะแรกๆ ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี รอจนต้นสูงประมาณ 3-4 เซนติเมตร หรือใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงค่อยเริ่มให้ปุ๋ยเคมีในปริมาณน้อยๆ ประมาณ 20 วันต่อครั้ง กระทั่งสามารถนำไปแยกปลูกในแปลงใหญ่

กุยช่าย...ผักสมุนไพร สร้างรายได้

ต้นกุยช่ายจัดเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท ปัจจุบัน กระแสความนิยมการบริโภคพืชผักสมุนไพรมีค่อนข้างสูง กุยช่ายจึงเป็นผักที่มีผู้ให้ความสนใจบริโภคกันเป็นจำนวนมาก เพราะกุยช่ายนอกจากจะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายดีขึ้นแล้ว ยังช่วยในเรื่องระบบทางเดินอาหาร ในการปลูกกุยช่ายนั้น ผู้ประกอบการควรเรียนรู้วิธีการและเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้กุยช่ายที่สมบูรณ์ แข็งแรง
ขั้นตอนการปลูกกุยช่าย
1. เริ่มต้นด้วยการเตรียมดิน โดยทำการยกแปลงให้สูงขึ้นขนาด 1.20 เมตร ส่วนความยาว กำหนดตามต้องการ
2. ปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ขี้อ้อย 1 กระสอบปุ๋ย กับปุ๋ยขี้ไก่ 1 กระสอบปุ๋ย ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปใส่ในแปลงพื้นที่ขนาด 5 ตารางเมตร
3. จัดหาพันธุ์กุยช่ายมาปลูก ระยะปลูกห่างกันประมาณ 25-30 เซนติเมตร (แปลงกว้าง 1.20 เมตร สามารถปลูกได้ 4 แถว)
4. รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และรดด้วยน้ำหมักชีวภาพทุก 7 วัน

การปลูกกุหลาบ

พันธุ์
กุหลาบที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทซึ่งถ้า แบ่งออกโดยสังเขปจะได้ดังนี้
1. กุหลาบตัดดอกหรือไฮบริดที (Hybrid Tea หรือ HT)J ปกติมัก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวมีขนาดโต กลีบดอกซ้อน พุ่มต้นตั้งตรงสูงประมาณ 1-2 เมตร กุหลาบที่มีขายทั่วไป ตามท้องตลาดขณะนี้มักจะเป็นกุหลาบประเภทนี้ อย่า งไร ก็ตาม พันธุ์ ไฮบริดที นั้น มิได้ใช้บลูกเป็นไม้ตัดดอกได้ดีทุกพันธุ์ ดังนั้น จำเป็น ต้องคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละท้องที่ ลักษณะที่เหมาะสมสำหรับจะใช้ เป็นพันธุ์สำหรับตัดดอก คือ 1. แข็งแรง ต้นโต เลี้ยงง่ายและเจริญเติบโตได้ดี2. ออกดอกสม่ำเสมอไม่โทรมไวเมื่อถูกตัดดอกไปมาก ๆ3. ทนต่อโรคและแมลงได้ดีพอสมควร4. ลำต้นตั้งตรง ซึ่งจะทำให้ปลูกได้ชิดกันเป็นการประหยัดเนื้อที่5. ให้กิ่งก้านยาวตรง มีหนามน้อย ใบงามสมดุลกับกิ่ง6. ฟอร์มดอกดี ทรงดอกยาวแบบแจกันหรือปลายกลีบดอกแหลม7. กลีบดอกไม่ซ้อนหนาเกินไปจนดอกบานไม่ออก8. กลีบดอกหนา ทนต่อการบรรจุหีบห่อและขนส่ง9. ดอกมีสีสะดุดตาและไม่เปลี่ยนสีเมื่อดอกโรย10. ไม่เหี่ยวเฉาง่ายหลังจากตัดแล้ว11. ดอกมีกลิ่นหอม (ถ้าเป็นไปได้)
พันธุ์เรดมาสเตอร์พีช พันธุ์แกรนด์มาสเตอร์พีช
ปัจจุบันกุหลาบที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอกในประเทศไทยมีอยู่มากมายหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้ปลูกมีดังนี้
พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ พันธุ์บราโว. เรดมาสเตอร์พีช, คริสเตียนดิออร์, โอลิมเปียด, นอริค้า, แกรนด์มาสเตอร์พีช, ปาปามิลแลนด์, เวก้า
พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ พันธุ์คิงส์แรนซัม, ซันคิงส์, เฮสมุดสมิดท์,นิวเดย์ โอรีโกลด์ และเมลิลอน
พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ พันธุ์ซันดาวน์เนอร์, แซนดรา, ซุปเปอร์สตาร์หรือทรอพปิคานา
พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์มิสออลอเมริกาบิวตี้ หรือมาเรีย, คาสลาส, ไอเฟลทาวเวอร์, สวาทมอร์, เฟรนด์ชิพ, เพอร์ฟูมดีไลท์, จูวังแซล, เฟิร์สท์ไพรซ์, อเควเรียส, ซูซานแฮมเชียร์
พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ไวท์คริสต์มาส เอทีนา
พันธุ์ดอกสีอื่นๆ ได้แก่ พันธุ์แยงกี้ดูเดิ้ล, ดับเบิ้ลดีไลท์, เบลแอนจ์
นอกจากนี้ยังมีกุหลาบสำหรับเด็ดดอกร้อยพวงมาลัย เช่น กุหลาบพันธุ์ฟูซิเลียร์ ซึ่งมีดอกสีส้ม
พันธุ์นิวเดย์ พันธุ์มิสออลอเมริกันบิวตี้
พันธุ์เพอร์ฟูมดีไลท์
2. กุหลาบพวง หรือ ฟลอริบันด้า ( Foribunda หรือ F.) กุหลาบพวงมีความแข็งแรงทนทานกว่ากุหลาบตัดดอก ออกดอกดกแต่ดอกไม่ใหญ่เท่ากับกุหลาบตัดดอกแต่มีครบทุกสี และออกดอกเป็นช่อทีละหลาย ๆ ดอก จึงนิยมเรียกว่ากุหลาบพวง และมักบานพร้อมกัน ดอกมีขนาดเล็ก พุ่มต้นตั้งตรงสูง ประมาณครึ่งเมตรถึง 1 เมตร เหมาะสมที่จะปลูกในแปลงประดับและในกระถางเช่น พันธุ์ฟูซีเลียร์, พันธุ์แองเจลเฟส
3. ประเภทแกรนดิฟลอร่า (Grandiflora หรือ Gr. ) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างกุหลาบตัดดอก และกุหลาบพวง มีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว แต่ดอกเล็กกว่ากุหลาบตัดดอก มีก้านยาว ต้นโต สูง และแข็งแรง เช่ น พันธุ์คาเมล็อท, พันธุ์คาเสทไนท์
4. กุหลาบ หรือ มินิเอเจอร์ (Miniature หรือ Min.) เป็นกุหลาบที่มีขนาดพุ่มต้นเล็ก สูง 1- 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวงและดอกมีขนาดเล็ก นิยมปลูกประดับแปลง และใช้เป็นไม้กระถาง เช่น พันธุ์เบบี้ มาสเคอร์เหรด
5. กุหลาบเลื้อย หรือ ไคลมเบอร์ (Climher หรือ Cl.) กุหลาบชนิดนี้ลำต้นสูงตรง นำไปเลื้อยพันกับสิ่งต่าง ๆ ได้ดอกมีทั้งเป็นดอกขนาดใหญ่ และดอกเป็นพวง เช่น พันธุ์ดอนจวน, พันธุ์ค็อกเทล
6. ประเภทโพลีแอนท่า (Polyantha หรือ Pol.) เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างพันธุ์โรซ่า มัลติฟอร่า กับ โรซ่า ไชเนนซิสมีขนาดพุ่มต้นเตี้ย แข็งแรงและทนทานมาก ออกดอกเป็นพวงคล้ายกุหลาบพวง ลักษณะดอกและต้นคล้ายกุหลาบหนูแต่จะแตกต่างกับกุหลาบหนูตรงที่กุหลาบโพลีแอนท่าจะมีหูใบที่มีลักษณะของพันธุโรซ่า มัลติฟลอร่า กุหลาบประเภทนี้ เช่น พันธุ์วายวอน ราเบีย
7. ประเภทแรมเบลอร์ (Rambler หรือ R) มีลำต้นยาวและอ่อนโค้งออกดอกเป็นพวง และดอกมีขนาดเล็ก เช่น พันธ์ไดโรที เปอร์กิน
8. กุหลาบพุ่ม หรือซรับโรส (Shrub หรือ S.) ได้แก่กุหลาบพันธุ์ป่าหรือลูกผสมของพันธุ์ป่า ซึ่งมีทรงต้นเป็นพุ่ม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กส่วนมากมีกลีบชั้นเดียว เช่น พันธ์โรซ่า นิติด้า, โรซ่า มัลติฟลอร่า, โรซ่า รูโกซ่า
การเตรียมดินและการปลูกถึงแม้กุหลาบจะปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่ต่างกันก็ย่อมทำให้ การเจริญเติบโตดีเลวต่างกันออกไป ดังนั้นก่อนปลูกควรเตรียมดินดังนี้
ในภาคกลางซึ่งมีสภาพดินค่อนข้างเหนียว และค่อนข้างเป็นกรดจัด ระดับ น้ำใต้ดินสูง เกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบจะนิยมปลูกแบบร่องสวน ซึ่งมีคูน้ำคั่นกลาง โดยเริ่มเตรียมดินในฤดูแล้ง คือจะต้องฟันดินและตากดินให้แห้ง เพื่อกำจัดวัชพืช ก่อน ในขณะที่ตากดินนี้อาจโรยปูนขาวลงไปด้วยก็ได้ เมื่อดินแห้งดีแล้วจึงกลับ หน้าดิน และชักดินในแต่ละแปลงให้มีขอบสูง ตรงกลางเป็นแอ่งเล็กน้อย ขนาด ของแปลงกว้างและยาวตามพื้นที่เดิมที่เคยปลูกผักมาแล้ว การวางระยะห่างของ ต้นที่จะปลูกอาจใช้ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร จำนวนแถวในแต่ละแปลงไม่ควร เกิน 3 แถว เพื่อความสะดวกในการตัดดอกและตัดแต่งกิ่งตรงแถวกลาง
สำหรับในภาคอื่นที่มีสภาพดินค่อนข้างร่วนหรือดินร่วนปนทราย อาจ ปลูกแบบเจาะหลุมปลูกหรือแยกแปลงปลูกก็ได้โดยวัดขนาดแปลงปลูกกว้าง 1 .20 เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร ความยาวของแปลงปลูกตามขนาดของพื้นที่ และใช้ ระยะปลูก 60 x60 เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นประมาณ 2,000 ต้นต่อไร่ (หรือ ทำแปลงปลูกกว้าง 1เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร และใช้ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์กุหลาบที่ขนาดของทรงพุ่มไม่แผ่กว้างมากนัก) ก่อนปลูกควรหว่าน ปูนขาวและไถพรวนตากดินไว้ให้แห้ง
กุหลาบสามารถปลูกได้ทั้งในดินที่เป็นกรดหรือด่าง แต่เจริญได้ดีในดิน ที่ค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย คือมี pH ประมาณ 4.5-6.5 ถ้าดินเป็นกรดมากให้เติม ปูนขาว 60-100 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางวา แต่ถ้าดินเป็นด่างก็ใส่กำมะถันผง 20-50 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางวา เมื่อเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว ให้ขุดหลุม ปลูกกว้างและลึก 30 x 30 เซนติเมตร (ถ้าเตรียมหลุมปลูกกว้างและลึกกว่านี้ จะ เป็นการดียิ่งขึ้น) จากนั้นก็จะใส่ปุ๋ยคอก เช่น ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้วัว ฯลฯ ประมาณหลุมละ 1 บุ้งกี๋ ใส่ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต หรือกระดูกป่นเป็นปุ๋ยรองก้นหลุม ๆ ละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงนำกิ่งพันธุ์กุหลาบซึ่งอาจจะเป็นกิ่งตอนหรือต้นติดตา ลงไปปลูก กลบดินที่โคนต้นให้กระชับและรดน้ำให้ชุ่ม
กิ่งพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ กิ่งตัดชำ และกิ่งตอนจะมีเกษตรกรบางรายที่ปลูกโดยใช้ต้นติดตา แต่มีน้อยราย
การให้น้ำกุหลาบกุหลาบเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง ปริมาณน้ำที่รดลงไปในดินปลูกควร กะให้น้ำซึมได้ลึกประมาณ 16-18 นิ้วและอาจเว้นระยะการรดน้ำได้คือ ไม่จำเป็น ต้องรดน้ำทุกวัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินปลูก) มีข้อควรจำอย่างยิ่งในการรดน้ำ กุหลาบคือ อย่ารดน้ำให้โดนใบเนื่องจากโรคบางโรคที่อยู่ตามใบหรือกิ่งจะแพร่ระบาด กระจายไปได้โดยง่าย การให้น้ำก็ไม่ควรให้น้ำกระแทกดินปลูกแรงๆ เพราะเม็ดดิน จะกระเด็นขึ้นไปจับใบกุหลาบ ทำให้เชื้อโรคบางชนิดที่อาศัยอยู่ในดินระบาดกลับ ขึ้นไปที่ต้นโดยง่ายและถ้าจำเป็นจะต้องรดน้ำให้เปียกใบควรจะรดน้ำในตอนเช้า
การใส่ปุ๋ยในระยะแรกของการปลูกจะเป็นระยะที่ต้นกุหลาบเจริญเติบโตสร้างใบ และกิ่ง ควรใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรตัวแรกคือไนโตรเจนสูง โดยใส่ทุก 15 หรือ 30 วัน อัตราการใส่ 1 กำมือต่อต้น ก่อนใส่ปุ๋ยควรมีการพรวนดินตื้นๆ อย่าให้กระทบ รากมากนัก แล้วโรยปุ๋ยให้รอบ ๆ ต้นห่างจากโคนต้น 4-6 นิ้วแล้วแต่ขนาดของ ทรงพุ่ม จากนั้นก็รดน้ำตามให้ซุ่ม (แต่อย่ารดน้ำจนโชก) เมื่อกุหลาบเริ่มให้ดอก ควรใช้ปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัสและโปแตสเซี่ยมสูงควบคู่กันไปเพื่อเร่งการออกดอก และทำให้ก้านดอกแข็งแรง นอกจากนี้อาจจะให้ปุ๋ยทางใบเพิ่มเติมก็จะเป็นการดี ข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกแล้วคือควรโรยปุ๋ยให้กระจายรอบ ๆ ต้น อย่างสม่ำเสมออย่าใส่เป็นกระจุก ๆ ที่จุดใดจุดหนึ่งเพราะอาจทำให้เกิดความเสียหาย ต่อต้นกุหลาบได้ เนื่องจากมีความเข้มข้นของปุ๋ยตรงจุดที่ใส่มากเกินไป
การป้องกันกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอาจจะใช้แรงงานคนเก็บถอนหรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชซึ่งมีทั้งชนิดคุม กำเนิดและชนิดที่ถูกทำลายต้นตาย (อัตราการใช้จะระบุอยู่ที่ฉลากของขวด) ข้อควรระวังในการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืชนี้คือ พยายามหลีกเลี่ยงที่จะฉีดพ่นสาร ให้ถูกต้นหรือใบกุหลาบและไม่ใช้ถังฉีดพ่นปะปนกับถังที่ใช้พ่นสารเคมีป้องกันกำจัด โรคและแมลง
การคลุมดินแปลงปลูกเนื่องจากกุหลาบเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง ดังนั้นสถานที่ปลูกกุหลาบจึงต้องเป็นที่โล่งแจ้งและจะต้องมีความชื้นสูงด้วย การ คลุมแปลงปลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็นส่าหรับการปลูกกุหลาบโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายใน ท้องถิ่นนั้นๆ เซ่น หญ้าแห้ง ฟาง เปลือกถั่วลิสง ซังข้าวโพด ชานอ้อย ขุยมะพ้าว แกลบ และขี้เลื่อย เป็นต้น ควรจำไว้ว่าวัสดุที่จะนำมาคลุมแปลงปลูกนี้ควรเป็น วัสดุที่เก่า คือ เริ่มสลายตัวแล้วมิฉะนั้นจะทำให้เกิดการขาดไนโตรเจนกับต้น กุหลาบ ดังนั้นถ้าไซ้วัสดุที่คลุมแปลงค่อนข้างใหม่ควรเติมปุ๋ยไนโตรเจนลงไปด้วย การคลุมแปลงนี้นอกจากจะช่วยรักษาความชื้นและอุณหภูมิรวมทั้งเพิ่มความโปร่ง ของดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินในแปลงปลูกแล้วยังช่วยป็องกันวัชพืชให้ขืน ช้าอีกด้วย
การตัดแต่งกิ่งการตัดแต่งกิ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกกุหลาบ ถ้าผู้ปลูกกุหลาบไม่มี การตัดแต่งกิ่งเลยก็จะทำให้ต้นกุหลาบเจริญเติบโตอย่างอิสระ แตกกิ่งก้านมาก เกินไป ทำให้ดอกมีขนาดเล็ก ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้น เกษตรกรจึง ควรมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นได้รูปทรง พุ่มต้นและโคนต้นโปร่งได้รับแสงแดด มากขึ้น ดอกที่ได้จะมี ขนาดใหญ่และมีคุณภาพดี นอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งยังช่วย กำจัดโรคและแมลงที่แอบแฝงอยู่ในพุ่มต้นได้ดีอีกด้วย รวมทั้งสามารถแต่งดิน ในแปลงปลูกได้สะดวก ทำให้กุหลาบที่ได้มีการตัดแต่งกิ่งแล้วเจริญเติบโตดีขึ้น
การตัดแต่งกิ่งกุหลาบสามารถ ทำได้ 2 แบบคือ
1. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เฑลือกิ่งไว้กับต้นยาว คือ ตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อย โดยให้เหลือกิ่งที่มีใบสมบูรณ์ไว้มากเพื่อให้มีอาหารเลี้ยงต้นมาก การตัดแต่งกิ่งมีหลักในการพิจารณาเลือกกิ่งที่จะต้องตัดออกคือกิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่ เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ที่เจริญเข้าหาทรงพุ่ม กิ่งที่ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ ควรจะต้องให้ตาที่อยู่บนสุดของกิ่งหันออกนอกพุ่มต้น เพื่อให้กิ่งที่แตกใหม่หัน ออกนอกทรงพุ่มด้วยและตัดกิ่งให้เฉียง 45 องศา สำหรับการตัดแต่งกิ่งแบบให้ เหลือกิ่งไว้กับต้นยาวนี้ใช้ได้กับกุหลาบที่ปลูกจากกิ่งตัดชำและกิ่งตอน

การตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นยาว
2. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เลือกกิ่งไว้กับต้นสั้น คือ ตัดแต่งกิ่งจนเหลือกิ่งบนต้นสูงจากพื้นดินประมาณ 30-45 เซนติเมตร แล้วเหลือกิ่งไว้ 3-4 กิ่งเท่านั้นการตัดแต่งกิ่งแบบนี้จะตัดแต่งได้เฉพาะต้นกุหลาบที่ปลูกจากต้นติด ตาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าต้นติดตานั้นมีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ตัดแต่งกิ่งแบบแรก แต่ต้องตัดเพิ่มเติมอีก คือ กิ่งแก่ที่ไม่ต้องการและกิ่งชักเกอร์ (กิ่งของต้นตอซึ่งเป็นกุหลาบ พันธุ์ป่า)
สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการตัดแต่งกิ่ง คือ ต้นฤดูฝน เมื่อตัดแต่ง กิ่งให้น้อยลงตามความต้องการแล้วควรใช้ปูนแดงผสมกับยากันรา หรือใช้สีน้ำมัน ทาบนรอยแผลที่ตัดเพื่อป้องกันการเน่าลุกลามของเชื้อราจากรอบแผลที่ตัด นอกจาก นี้ควรเก็บกิ่งและใบที่ตัดออก ทำความสะอาดแปลงให้เรียบร้อยด้วยแล้วจึง แต่งดินในแปลงปลูก คือ ไถพรวนหน้าดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี รวมทั้งใช้วัสดุ คลุมแปลงปลูกพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่มด้วย จะทำให้กุหลาบแตกตาได้เร็วและได้ต้น ที่สมบูรณ์
การตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น
การตัดดอกกุหลาบการตัดดอกกุหลาบเพื่อจำหน่ายนั้น ควรให้มีกิ่งเหลืออยู่อย่างน้อย 2 กิ่ง เสมอ (กิ่งที่มีใบย่อยครบ 5 ใบ) ไม่ควรตัดชิดโคนกิ่ง และเมื่อตัดดอกออกจาก ต้นแล้วให้รีบแช่ก้านดอกในน้ำทันทีเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำจากกิ่ง โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมตัดดอกในตอนบ่ายและเย็น หรืออาจตัดในตอนเช้าก็ได้ (เพื่อจะได้ส่งตลาดทันเวลา) แต่เนื่องจากดอกกุหลาบมีอายุการใช้งานสั้นและกลีบดอก ก็ช้ำได้ง่าย ฉะนั้นการตัดดอกกุหลาบในช่วงที่ยังไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น ถ้าตัดดอกตูมเกินไป ดอกก็จะไม่บานและคอดอกจะโค้งงอง่าย แต่ถ้าตัดดอกที่บานเกินไป ดอกกุหลาบจะบานเร็ว และมีอายุการปักแจกันสั้น
โรคและแมลงศัตรูกุหลาบ1. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดดำกลมบนใบ ส่วนใหญ่จะเป็นกับใบแก่จะทำให้ใบเหลืองและร่วงในเวลาต่อมา บางครั้งถ้าเป็นมากอาจ ลุกลามมาที่กิ่งด้วย ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ดูปราวิท ไดเทนเอ็ม-45 แคปแทน เบนเสท และเบนโนมิล
2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะเป็นกับยอดอ่อนและดอกอ่อนมีลักษณะเป็นปุยขาวคล้ายแป้งทำให้ส่วนของพืชที่เป็นโรคนี้เกิดอาการหงิกงอไม่เจริญเติบโตต่อไป ระบาดมากในฤดูหนาว ควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบนเสท ดาโคนิล และคาราแทน
3. โรคหนามดำ เกิดจากเชื้อราโดยเชื้อรานี้จะเข้าทำลายแผลที่เกิดจากรอยตัดหรือเด็ดหนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ ตามกิ่งก้าน ทำให้กิ่งก้าน เหี่ยวแห้งตายไปในที่สุดควรป้องกันโดยทาแผลจากรอยตัดด้วยปูนแดง
4. โรคใบจุดสีน้ำตาลหรือโรคตากบ เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดกลมสีน้ำตาลขนาด 1/4 นิ้ว แล้วจะเปลี่ยนเป็นวงกลมสีเทามีขอบสีม่วง-แดง ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยใช้สารเคมีเบนเสท ไดเทนหรือแบนแซดดี
5. โรคไวรัส เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการจะปรากฎให้เห็นที่ใบ โดยใบจะด่างเหลือง เมื่อพบว่าต้นกุหลาบเป็นโรคนี้ให้ถอนและเผาทำลายเสีย
1. หนอนเจาะดอก เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กซึ่งจะวางไข่อยู่ที่กลีบดอกด้านนอก เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวจะกัดกินดอกและอาศัยอยู่ในดอก ระบาดมากช่วงที่กุหลาบให้ดอกดกหรือในช่วงฤดูหนาว ควรป้องกันโดยใช้สารเคมี ประเภทดูดซึม เช่น ดิลดริน ฟอสดริน
2. หนอนกินใบ เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน มักวางไข่อยู่ใต้ใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะทำลายใบที่อาศัย บางชนิดทำลายเฉพาะผิวเนื้อใต้ใบทำให้ใบมีลักษณะโปร่งใสมองเห็นได้ชัดเจน สารเคมีที่ใซ้ได้ผลดี เช่น เอนดริน
3. หนอนเจาะต้น เป็นหนอนของผึ้งบางชนิดและหนอนของแมลงวันบางชนิด อาจจะเป็นหนอนของพวกต่อแตนด้วย หนอนชนิดนี้จะเจาะกินไส้กลาง และบริเวณท่อน้ำของกิ่งหรือต้น ทำให้กิ่งและต้นแห้งตาย ควรป้องกันกำจัดโดยการ ตรวจดูบริเวณรอยต่อระหว่างกิ่งแห้งและกิ่งดี หากพบตัวหนอนก็ทำลายเสียหรือ ป้องกันโดยการตัดแต่งกิ่งตามกำหนด
4. แมลงปีกแข็ง บางทีเรียกด้วงปีกแข็ง มีทั้งชนิดตัวสีดำและสีน้ำตาลขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืนระหว่าง 1-3 ทุ่ม โดยการกัดกินใบกุหลาบ ส่วนในเวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามกอหญ้า ป้องกัน โดยใช้สารเคมี เช่น คลอเดน หรือ เซพวิน
5. ผึ้งกัดใบ จะกัดกินใบกุหลาบในช่วงเวลากลางวัน สังเกตได้ที่รอยแผลมักจะเป็นรอยเหมือนถูกเฉือนด้วยมีดคมๆ เป็นรูปโค้งป้องกันได้เช่นเดียวกับแมลงปีกแข็ง
6. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูด มีสีน้ำตาลดำ ตัวอ่อนสีขาวนวลจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ดอกที่ถูกทำลายไม่บาน ระบาดมากในฤดูร้อน ป้องกันโดยการฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โตกุไทออน คลอเดนหรือนิโคตินซัลเฟต
7. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูดมักเกาะกินตามใบอ่อนหรือง่ามใบ ทำให้ใบหงิกงอ ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีกำจัดแต่ต้องผสมสารเคลือบใบลงไป ด้วยเพราะบนตัวเพลี้ยแป้งจะมีขนปุยสีขาวปกคลุม ซึ่งมีลักษณะเป็นมันจับน้ำ ได้ยาก
8. เพลี้ยหอย เป็นแมลงปากดูด มักเกาะทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงจากลำต้น จะสังเกตเป็นเป็นจุดสีน้ำตาลอยู่บนกิ่งของกุหลาบ เพลี้ยหอยนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวของมันจะมีเปลือกหุ้มหนาทำให้แมลงซึมเข้าถึงตัวได้ยาก ฉะนั้นวิธีกำจัดที่ได้ผลดีก็คือ ใช้น้ำมันทาหรือฉีดพ่นเคลือบตัวมันไว้ ทำให้เพลี้ยไม่มีทางหายใจ และตายในที่สุด แต่เมื่อเพลี้ยตายแล้วจะไม่หลุดจากลำต้นจะยังติดอยู่ที่เดิม
9. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด ทำลายพืชตรงบริเวณส่วนที่เป็นยอดอ่อนและใบอ่อน ทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี เช่น ฟอสดริน เอนดริน และพาราไธออน เป็นต้น
10. แมงมุมแดง เป็นแมงชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ แมลง ตัวมีขนาดเล็กมากเห็นเพียงจุดสีแดงอยู่ตามใต้ใบ โดยจะเกาะและดูดน้ำเลี้ยงจากใบที่ถูกทำลายนั้น ปรากฎเป็นจุดสีเหลืองซึ่งมองเห็นได้บนหลังใบ สำหรับสารเคมีที่ใช้กำจัดได้ผลคือ เคลเทน

วิธีการปลูกผักสวนครัว

1. การปลูกผักในแปลงปลูก มีขั้นตอน คือ
1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน
1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง
1.3 การปรับปรุงเนื้อดิน เนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
1.4 การกำหนดหลุมปลูก จะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิดผักต่าง ๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่แตกต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75 x 100 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น 5 x 5 เซนติเมตร เป็นต้น
2. การปลูกผักในภาชนะ
การปลูกผักในภาชนะควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือ
ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

วิธีการปลูกผักในภาชนะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี
2.1 เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก ซึ่งพืชที่ควรปลูกด้วยวิธีนี้ ได้แก่
- ผักบุ้งจีน - คะน้าจีน - ผักกาดขาวกวางตุ้ง - ผักกาดเขียวกวางตุ้ง - ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งไต้หวัน) - ตั้งโอ๋ - ปวยเล้ง -ผักกาดหอม - ผักโขมจีน - ผักชี - ขึ้นฉ่าย - โหระพา - กระเทียมใบ - กุยฉ่าย - หัวผักกาดแดง - กะเพรา - แมงลัก - ผักชีฝรั่ง - หอมหัวใหญ่
2.2 ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว ได้แก่
- หอมแบ่ง (หัว) - ผักชีฝรั่ง - กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก) - หอมแดง (หัว) - บัวบก (ไหล) - ตะไคร้ (ต้น) - สะระแหน่ (ยอด) - ชะพลู (ต้น) - โหระพา (กิ่งอ่อน) - กุยช่าย (หัว) - กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน) - แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน) หมายเหตุ มีบางพืชที่ปลูกด้วยหัว หรือส่วนของต้นก็ได้ ปลูกด้วยเมล็ดก็ได้ ดังนั้น จึงมีชื่อผักที่ซ้ำกันทั้งข้อ 1 และ 2
การปฏิบัติดูแลรักษา
การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่ จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่
1. การให้น้ำ การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า-เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก
2. การให้ปุ๋ย มี 2 ระยะ คือ
2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ปุ๋ยที่ใส่ควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่วก่อนปลูก เพื่อปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการอุ้มน้ำ และรักษาความชื้นของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชด้วย
2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2-3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบางๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ผักตายได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย หรือแอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้นและใบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล
3. การป้องกันจำกัดศัตรูพืช ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง โดยการกำจัดวัชพืช ให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนด เพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและแมลงระบาดมากควรใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่างๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่างๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสมน้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดา ถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจั๊กจั่น ให้ใช้น้ำยาล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวกมด หอย และทากให้ใช้ปูนขาวโรยบางๆ ลงบริเวณพื้นดิน

การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง
สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อนหรือ โตได้ขนาดแล้ว โดยยังคงเหลือลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่ จะสามารถงอกงาม ให้ผลได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพืชหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้างยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทานได้ในครอบครัวในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี
การบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ
การปลูกผักไว้รับประทานเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ได้บริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ แต่ทุกครอบครัวคงไม่สามารถปลูกผักทุกชนิดไว้รับประทานเองได้ ดังนั้นการต้องซื้อหาผักจากตลาดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ ทั้งนี้ผักต่างๆ เหล่านั้นอาจจะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างก็ได้ ดังนั้นควรมีการล้างผักให้ถูกวิธีและให้ปลอดภัยจากสารพิษมากที่สุด วิธีการล้างผักให้สะอาดเพื่อลดปริมาณสารพิษ สามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวกดังนี้
1. ลอกหรือปอกเปลือกแล้วแช่ในน้ำสะอาด นาน 5-10 นาที หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จะช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72
2. แช่น้ำปูนใสนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52
3. แช่ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์นาน 10 นาที (ไฮโดเจนเพอร์ออกไซด์ 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-50

4. แช่น้ำด่างทับทิมนาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ดผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-43
5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อกนาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39
6. แช่น้ำซาวข้าวนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38
7. แช่น้ำเกลือนาน 10 นาที (เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38
8. แช่น้ำส้มสายชูนาน 10 นาที (น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-36
9. แช่น้ำยาล้างผักนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 22-36
เทคนิคการปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ
1. ตระกูลแตงและตระกูลถั่ว ได้แก่ แตงกวา แตงโม แตงไทย ฟักทอง บวบ น้ำเต้า มะระ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก และถั่วอื่นๆ

- ผักต่าง ๆ เหล่านี้มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่ งอกเร็ว เช่น ผักประเภทเลื้อย ถ้าจะปลูกให้ได้ผลดีและดูแลรักษาง่ายควรทำค้าง
- วิธีการปลูก หยอดเมล็ดโดยหยอดในแปลงปลูก หรือภาชนะปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด
- เมื่อเมล็ดงอกมีใบจริง 3-5 ใบ หลังจากนั้นถอนแยกให้เหลือเฉพาะต้นที่แข็งแรง หลุมละ 2 ต้น
- ใส่ปุ๋ยยูเรียหลังเมล็ดงอก 2 อาทิตย์ เมื่อเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12
- ให้น้ำสม่ำเสมอ คอยดูแลกำจัดวัชพืช และแมลงต่าง ๆ
- เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 40-60 วัน หลังหยอดเมล็ด
2. ตระกูลกะหล่ำและผักกาด ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหัว กะหล่ำดอก และบร๊อกโคลี

- ผักตระกูลนี้มีเมล็ดค่อนข้างเล็ก บางชนิดมีราคาแพงมาก เพราะส่วนใหญ่ต้องสั่งเมล็ดมาจากต่างประเทศ
- วิธีปลูก หยอดเมล็ดเป็นหลุมๆ ละ 3-5 เมล็ด ห่างกันหลุมละ 20 เซนติเมตร หรือโรยเมล็ดบางๆ เป็นแถวห่างกันแถวละ 20 เซนติเมตร หลังหยอดเมล็ดหรือโรยเมล็ด 10 วัน หรือเมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2 ต้น หรือหากโรยเมล็ดเป็นแถวให้ถอนอีกระวังระยะต้นไม่ให้ชิดกันเกินไป
- ใส่ปุ๋ยยูเรียหลังจากถอนแยกหรือทำระยะปลูกแล้ว
- หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 10 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรียครั้งที่สอง
- อายุเก็บเกี่ยวผักแต่ละชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น คะน้า กวางตุ้ง เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 30-45 วัน ผักกาดหัว 45-55 วัน ผักกาดขาวปลี เขียวปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน หลังหยอดเมล็ด
- เมื่อเก็บเกี่ยวไม่ควรถอนผักทั้งต้น เก็บผักให้เหลือใบทิ้งไว้กับต้น 2-3 ใบ ต้นและใบที่เหลือจะสามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้อีก 2-3 ครั้ง
- ข้อควรระวัง ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ ผักตระกูลนี้มักมีปัญหาโรคแมลงค่อนข้างมาก ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด
3. ตระกูลพริก มะเขือ ได้แก่ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือพวง มะเขือเทศ

- ผักตระกูลนี้ควรมีการเพาะกล้าก่อนย้ายลงปลูกในแปลง
- การเพาะกล้า เตรียมดินในกะบะหรือในถุงพลาสติก
- หยอดเมล็ดในถุงเพาะ ถุงละ 3-5 เมล็ด ถ้าเพาะในกะบะเพาะ ควรเว้นระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร
- เมื่อเมล็ดงอกแล้วมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกเหลือต้นแข็งแรงสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น
- เมื่อกล้ามีใบจริง 5-6 ใบ หรือหลังเพาะกล้าประมาณ 30 วัน ย้ายกล้าลงแปลงปลูก
- เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ หรือเริ่มเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง
- เมื่อต้นเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 12-24-12
- อายุเก็บเกี่ยว มะเขือเทศประมาณ 50-60 วัน หลังย้ายกล้าและพริก มะเขือ ประมาณ 60-75 วัน หลังย้ายกล้า
4. ตระกูลผักชีและตระกูลผักบุ้ง ได้แก่ ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักบุ้ง

- ควรนำเมล็ดแช่น้ำก่อนปลูก ถ้าเมล็ดลอยให้ทิ้งไปและนำเมล็ดที่จมน้ำมาเพาะ
- หว่านเมล็ดในแปลง โดยจัดแถวให้ระยะห่างกัน 15-20 เซนติเมตร กลบดินทับบาง ๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร สำหรับขึ้นฉ่ายไม่ต้องกลบเมล็ด เพราะเมล็ดจะเล็กมากหากเตรียมดินละเอียดเมล็ดจะแทรกตัวลงไปในระหว่างเม็ดดินได้เอง
- ผักบุ้งจะงอกใน 3 วัน ผักชีประมาณ 4-8 วัน และขึ้นฉ่าย 4-7 วัน
- เมื่อกล้างอกมีใบจริง ถอนแยกและพรวนดินให้โปร่งเสมอจนเก็บเกี่ยว
- ผักบุ้งจีนเก็บเกี่ยวได้ภายใน 15-20 วัน ผักชี 45-60 วัน และขึ้นฉ่าย 60-70 วัน
- สำหรับผักชีและขึ้นฉ่ายไม่ชอบแสงแดดจัด อาจปลูกในที่ๆ มีร่มเงาได้ แต่สำหรับผักบุ้งจีน ต้องการแสงแดดตลอดวัน
5. ตระกูลโหระพา กะเพรา แมงลัก และตระกูลผักชีฝรั่ง ได้แก่ โหระพา กะเพรา แมงลักและผักชีฝรั่ง

- เตรียมดินให้ละเอียด หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง ใช้ฟางกลบหรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วโรยทับบางๆ รดน้ำตามทันทีด้วยบัวรดน้ำตาถี่
- เมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้าภายใน 7 วัน
- เมื่อกล้าอายุ 1 เดือน ถอนแยกจัดระยะต้นให้โปร่ง หรือใช้ระยะระหว่างต้น ประมาณ 20-30 เซนติเมตร
- โหระพา กะเพรา แมงลัก เก็บเกี่ยวได้หลังหยอดเมล็ด 45-50 วัน ผักชีฝรั่ง เก็บเกี่ยวได้หลังหยอดเมล็ด 60 วัน
- สำหรับโหระพา กะเพรา และแมงลัก ในระหว่างการเจริญเติบโต ให้หมั่นเด็ดดอกทิ้งเพื่อให้ลำต้นและใบเจริญเติบโตได้เต็มที่
- ผักชีฝรั่ง ตัดใบไปรับประทาน เหลือลำต้นทิ้งไว้จะสามารถเจริญเติบโตได้อีก