วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การทำปุ๋ยจากธรรมชาติ

อีเอ็ม (EM) คืออะไร
EMย่อมาจาก Efective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวความคิดเรื่อง “ดินมีชีวิต” ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของโลก จากนั้น ดร.อิหงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ.2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลปรากฏว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10%
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10%
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80%จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย
ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป
ลักษณะทั่วไปของEM
EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้
• ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
• ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
• เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้
• เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิต
• EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
• เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย
การดูแลเก็บรักษา
1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท
2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
3. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปหะปน
4. การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกตพิเศษ
• หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าวัชพืชที่ไม่ต้องการได้
• กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัวเมื่อเขย่าภาชนะฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
• เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองน้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ดังนี้
1. ใช้กับพืชทุกชนิด
2. ใช้กับการปศุสัตว์
3. ใช้กับการประมง
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์หลักของการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ
1. ลดต้นทุนการผลิต
2. ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม
3. ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติดี
4. สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี
5. ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ และจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคพัฒนาคุณภาพชีวิต
6. เป็นวิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้

3. จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ EM มีประโยชน์อย่างไร
การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึงการใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงานผลิต หรือ ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ

วิธีใช้และประโยชน์ EM สด
1. ใช้จุลินทรีย์น้ำกับพืช
• ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร) ใช้ ฉีด พ่นราด พืชต่างๆ ให้ทั่วจากดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม
• พืช ผัก ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน
• ไม้ดอก ไม้ประดับ เดือนละ 1 ครั้ง การใช้จุลินทรีย์สดในดิน ควรมีอินทรียวัตถุปกคลุมด้วย เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง ฯลฯ เพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป
2. ใช้ในการทำ EM ขยายจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้งและอื่น
• (ดูรายละเอียดในการทำ)
3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)
• ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง
• ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร ใช้พ่นคอกให้สะอาด กำจัดกลิ่น
• หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน ฯลฯ
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
• ใส่ห้องน้ำ – ห้องส้วม ใส่โถส้วมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์ละ ½ แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลาย ไม่มีกาก ทำให้ส้วมไม่เต็ม
• กำจัดกลิ่น ด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาล ในอัตรา ส่วน 1:1:1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ : กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 1 ลิตร ) ฉีด พ่น ทุก 3 วัน
• บำบัดน้ำเสีย 1:10,000 หรือ EM 2 ช้อนโต๊ะ :น้ำ 200 ลิตร
• ใช้กำจัดเศษอาหารหรือทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร
(ดูรายละเอียดในการทำ)
• แก้ไขท่ออุดตัน EM 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ 5-7 วัน / ครั้ง
• ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน
• กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำ
- ใช้ ฉีด พ่น หรือ ราดลงไปในแหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม.
- กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำ แล้วแต่สภาพความแห้ง หรือ ความเหม็น โดยผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วน
- ขยะแห้งประเภทกระดาษ ใบตอง เศษอาหารใช้ฉีดพ่น อัตรา EM ขยาย 1 ส่วนผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร

วิธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย
1. ใช้กับพืชเหมือน EM สด
2. ใช้กับสัตว์
• ผสมน้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน
• ผสมน้ำ 1 : 1,000 ล้างคอก กำจัดกลิ่น
• ผสมน้ำ ในอัตรา : 1 : 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟางแห้ง เป็นอาหารสัตว์
3. ใช้ทำจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้ง เหมือนใช้ EM สด
• (ดูรายละเอียดในการทำ)
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนใช้ EM สด

ประโยชน์ของจุลินทรีย์แห้ง
1. ใช้กับพืช
• รองก้นหลุม ร่วมกับอินทรียวัตถุ เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง
• คลุมดิน คือ โรยผิวดิน บนแปลงผัก หรือใต้ทรงพุ่มของต้นไม้
• ใส่ถุงแช่น้ำอัตรา 1 กก. : น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไป
รดพืช ผัก
2. ใช้กับการประมง
• เพื่อสร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์ลงน้ำ
• เพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง
• ผสมอาหารสัตว์
3. ใช้กับปศุสัตว์
• ผสมอาหารให้สัตว์กิน
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
• เพื่อบำบัดกลิ่นร่วมกับEM ขยาย
• เพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับ EM ขยาย
• ใช้ในการหมักเศษอาหาร ทำจุลินทรีย์น้ำ
• ใช้ในขยะเปียกอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

4. วิธีการผลิต EM ขยาย ปุ๋ยชีวภาพ ฮอร์โมน และสารไล่แมลงศัตรูพืช
4.1 EM ขยาย
คือการทำให้ได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรง มีประสิทธิภาพเพิ่มจำนวนมากโดยการใช้อาหารประเภทกากน้ำตาลหรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได้
ส่วนผสม 1. EM 2 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาด 1 ลิตร
วิธีทำ • ใส่น้ำสะอาดในภาชนะที่เป็นขวดพลาสติกมีฝาเกลียว ตามส่วน (ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้วเพราะเมื่อจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนจะเกิดแก๊สทำให้แตกได้)
• ใส่ EM ผสมกากน้ำตาลลงในน้ำที่เตรียมไว้ปิดฝาให้มิดชิด
• เขย่าให้ละลายเข้ากัน หมักไว้อย่างน้อย 3 – 5 วัน
วิธีใช้ • นำไปใช้ได้เหมือน EM สด (ยกเว้น การให้สัตว์กิน การฉีดพ่น เพื่อปรับอากาศ ไม่ต้องใส่กากน้ำตาล) และควรใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน
• เมื่อครบ 3 วันขึ้นไปนำไปขยายโดยใช้ส่วนผสมข้างต้นได้อีก
วัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล ( 1 ช้อนโต๊ะ )
- น้ำอ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าว น้ำชาวข้าว น้ำผลไม้ที่คั้นสดๆ อาทิ น้ำส้ม น้ำสับปะรด ฯลฯ ไม่
ใส่สารกันบูด หรือน้ำตาลทรายแดงผสมน้ำข้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแทนกากน้ำตาล ปริมาณ ¼ แก้ว
- นมข้นหวาน นมเปรี้ยว น้ำอ้อยเคี่ยว น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปัสสาวะ ½ แก้ว

4.2 จุลินทรีย์น้ำ (ใช้ทันที)
ส่วนผสม 1. EM 1 ช้อนโต๊ะหรือ 1 ส่วน
2. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ส่วน
3. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1,000 ส่วน
วิธีทำ
• นำ EM และกากน้ำตาลผสมในน้ำให้เข้ากัน
• ในกรณีมีพื้นที่ต้องใช้ปุ๋ยน้ำมากให้เพิ่มตามสัดส่วน
วิธีใช้
• ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืช ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สัปดาห์ละครั้ง ใบและดอกจะดกบานทน
• ไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ชมพู่ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ ฉีดพ่น รด ราด เดือนละครั้ง รสชาติดี ผลโต
• วันอื่นๆ ให้รดน้ำพืชปกติ
• ควรใช้ช่วงเย็นแสงแดดอ่อนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• ควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน
การทำปุ๋ยหมัก หรือ จุลินทรีย์แห้ง (โบกาฉิ)
การทำจุลินทรีย์แห้ง หมายถึง การนำเอา EM มาหมักกับอินทรียวัตถุ เป็นการขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีจำนวนมากขึ้น แข็งแรงขึ้น และพักตัวอยู่ในอินทรียวัตถุ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินให้ดินร่วนซุย มีธาตุอาหารที่สำคัญเหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้ยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย
ส่วนผสม 1. มูลสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ นำมาผึ่งให้แห้ง 1 ส่วน หรือ 1
กระสอบ
2. แกลบดิบ หรือ ฟางแห้ง หรือ หญ้าแห้ง หรือ ใบไม้แห้ หรือ ผักตบชวาแห้ง หรือ ขี้เลื่อย 1 ส่วน
หรือ 1 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น หรือ คายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน
วิธีทำ • คลุกรำละเอียด กับมูลสัตว์แห้งที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน
• นำแกลบดิบ หรือวัสดุ ที่ใช้แทนตัดสั้นๆ จุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM + กากน้ำตาล ไว้ ช้อนเอามา
คลุกกับรำ และมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้ว คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
• ความชื้นให้ได้ 40-50% ดูได้จากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มีน้ำไหลออกจากง่ามนิ้ว
และแตกเมื่อคลายมือออกหรือเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้
• นำส่วนผสมไปใส่กระสอบ ถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ ที่อากาศถ่ายเทได้ ¾ ของกระสอบ ไม่
ต้องกดให้แน่น มัดปากกระสอบไว้พลิกกระสอบแต่ละด้านทุกวัน วันที่ 2-3 จับกระสอบดูจะร้อน
อุณหภูมิประมาณ 50 องศา – 60 องศา วันที่ 4-5 จะค่อยๆ เย็นลง จนอุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดู
จะได้จุลินทรีย์แห้งร่วนนำไปใช้ได้
• หากไม่มีกระสอบ หรือทำปริมาณมาก เมื่อผสมกันดีแล้ว ให้นำไปกองบนกระสอบป่าน หรือฟาง
แห้งที่ใช้รองพื้นหนาประมาณ 1 ฟุต แล้วคลุมด้วยกระสอบ หรือ สแลน กลับวันละ 1-2 ครั้ง ให้
อากาศถ่ายเททั่วถึงประมาณ 5-7 วัน ดูให้อุณหภูมิปกติจุลินทรีย์แห้งร่วนดี เก็บใส่ถุงไว้ใช้

ประโยชน์ของการกลับกองปุ๋ยหมัก
1. เพื่อให้การหมักทั่วถึง
2. ทำให้แห้งเร็ว
3. ไม่จับเป็นก้อนแข็ง ง่ายต่อการนำไปใช้

การเก็บรักษา
เก็บจุลินทรีย์แห้งไว้ในที่ร่ม ไม่ให้โดนแดด หรือ ฝน หรือที่มีความชื้น เก็บรักษาได้ประมาณ 1 ปี
วิธีใช้ • จุลินทรีย์แห้งที่หมักด้วย EM จะร่วน มีกลิ่นหอมเหมือนเชื้อเห็ด
• ใช้ในการเตรียมดินปลูกพืช
- รองก้นหลุมปลูกประมาณ 2 กำมือ
- คลุกผสมดินในหลุมปลูก 2 กำมือ
- รองก้นแปลง (แหวะท้องหมู) ตารางเมตรละ 1 กำมือ
- หว่านในแปลงพืช หรือนาข้าว ตารางเมตรละ 1 กำมือ แล้วใช้จุลินทรีย์น้ำฉีดพอชุ่ม
• ใช้หลังการเพาะปลูกแล้ว
- แปลงผักใส่ระหว่างแนวผัก
- ไม้ต้น ใส่ใต้ทรงพุ่ม รัศมีใบตารางเมตรละ 1 กำมือ
- ไม้กระถาง โรยในกระถาง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ฯลฯ
• ใช้ในการเลี้ยงสัตว์
- ผสมอาหารสัตว์ เช่น ไก่ หมู วัว ฯลฯ
- บำบัดน้ำ สร้างอาหารในน้ำ ในบ่อ ปลา กุ้ง ตะพาบน้ำ ฯลฯ
• ใช้กับสิ่งแวดล้อม
- ใช้บำบัดน้ำเสีย กำจัดกลิ่น
หมายเหตุ ไม่ควรใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง สารเคมีทุกชนิด
การทำปุ๋ยเม็ด
1. นำปุ๋ยที่ผสมเสร็จแล้วไม่ต้องหมัก มาบดให้ละเอียด
2. นำแป้งเปียก มาผสมให้เข้ากัน
3. นำเข้าเครื่องอัดเม็ด
4. ผึ่งลมให้แห้ง เก็บใส่ถุง ภาชนะ หรือ นำไปใช้ได้
การทำจุลินทรีย์แห้ง 24 ชั่วโมง (การขยายจุลินทรีย์แห้ง)
สามารถนำปุ๋ยแห้งมาขยายภายใน 1 วัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และประหยัดได้
ส่วนผสม 1. จุลินทรีย์แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
2. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น ½ ส่วน / ½ กระสอบ
3. ฟาง หรือ หญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้ง ฯลฯ ตัดสั้นๆ 10 ถัง เตรียมไว้
4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมในน้ำ 1 ถัง
*ถ้าทำมากให้เพิ่มตามสัดส่วน
วิธีทำ • นำรำละเอียดผสมจุลินทรีย์แห้งให้เข้ากัน
• นำฟาง / ใบไม้แห้ง จุ่มลงในถังน้ำ บีบพอหมาด (เหมือนทำจุลินทรีย์แห้งวางกองกับพื้นที่ปูลาดด้วยกระสอบหรือฟางแห้ง ประมาณ 3 นิ้ว
• นำส่วนผสมของรำกับจุลินทรีย์แห้งโรยให้ทั่ว ทำเป็นชั้นๆ จะใช้พื้นที่กว้างยาวเท่าไรก็ได้ แต่ความสูงไม่เกิน 1 ฟุต หรือ 1 ศอก หรือไม่เกินหัวเข่า เสร็จแล้วเอากระสอบ หรือสแลน หรือถุงปุ๋ย หรือ ใบตองแห้ง, ฟาง คลุมไว้
• หมักไว้ 18 ชั่วโมง กลับปุ๋ยข้างล่างขึ้นข้างบนให้อากาศผ่านได้ทั่วถึง และให้แห้งง่าย คลุมทิ้งไว้อีก 6 ชั่วโมง จะได้จุลินทรีย์แห้ง 24 ชั่วโมง (1 วัน) นำไปใช้ได้
วิธีใช้ • ใช้เหมือนจุลินทรีย์แห้ง แต่จะประหยัด และลดต้นทุนได้มาก
• เก็บรักษาในที่ร่มไม่โดนแดดโดนฝนได้ประมาณ 1 ปี
• ใช้ทำจุลินทรีย์แห้ง 24 ชั่วโมง ขยายได้อีก (วิธีทำเหมือนเดิม) จนกว่าจะเบื่อทำ
หมายเหตุ
• พื้นที่ที่มีใบไม้แห้งกองอยู่มาก สามารถทำกับพื้นได้ โดยตัดหรือย่อยใบไม้ให้เล็กลง ใช้นำผสม EM + กากน้ำตาล ฉีด รด ให้ทั่ว (ความชื้นตามสูตร) นำรำผสมจุลินทรีย์แห้ง โรยให้ทั่วแล้วคลุมไว้ กลับกองปุ๋ยทุกวันครบกำหนด นำไปใช้ได้
วัสดุที่ใช้แทนรำละเอียด
1. ฝุ่นซังข้าวโพด
2. มันสำปะหลังบด
3. กากมะพร้าวขูดคั้นน้ำแล้ว ผึ่งให้แห้ง
4. คายข้าว ฯลฯ

วัสดุที่ใช้แทนแกลบดิบ
1. ใบไม้แห้งทุกชนิด หญ้าแห้ง ผักตบชวาแห้ง ฯลฯ
2. ขี้เลื่อย
3. ขุยมะพร้าวแห้งด้านเปลือก
4. ฟางข้าว
5. ซังข้าวโพด


การทำซุปเปอร์โบกาฉิผสมอาหารสัตว์
ส่วนผสม 1. เปลือกหอยป่น 2 ขีด
2. กระดองปูม้า, ปูทะเลป่น 2 ขีด
3. กระดูกสัตว์ป่น 2 ขีด
4. แกลบเผา 2 ขีด
5. ปลาป่น 6 กก.
6. กากถั่ว 6 กก.
7. รำละเอียด 20 กก.
8. EM 1 ช้อนโต๊ะ ( 10 ซีซี )
9. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ( 10 ซีซี )
10. น้ำสะอาด 5 ลิตร
11. กระสอบป่าน 1 ใบ
12. ถุงพลาสติกดำ 1 ใบ
วิธีทำ • ผสมวัสดุทั้งหมดให้เข้ากันดี (1)
• ละลาย EM กากน้ำตาล น้ำ ให้เข้ากัน นำไปพ่นฝอยๆ บนส่วนผสม ในข้อ (1) แล้วคลุกให้เข้ากัน โดยให้ความชื้นไม่เกิน 40 %
• นำส่วนผสมบรรจุในกระสอบป่านผูกปากให้แน่น จากนั้นใส่ลงในถงุพลาสติกดำอีกชั้นหนึ่ง มัดปากถุงให้แน่น หมักไว้ 3 วัน
• เมื่อครบ 3 วัน นำกระสอบออกจากถุงพลาสติกดำ แล้วตั้งทิ้งไว้ในร่มอีก 3 วัน อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และเย็นลงให้กลับกระสอบทุกวัน เพื่อไม่ให้ความชื้นในกระสอบไปกองอยู่ในด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้จับเป็นก้อนแข็งได้
วิธีใช้ • ใช้ผสมอาการสัตว์ เช่น หมู ไก่ ปลา กุ้ง กบ ฯลฯ ในอัตรา 2% ของอาหารที่ให้แต่ละครั้ง (หรือ 2 กก. ต่ออาหารสัตว์ 100 กก.)
• นำใส่ถุงผ้าไปละลายน้ำในอัตราส่วน ½ กก. ต่อน้ำหนัก 100 ลิตร ทำเป็นน้ำ “โบกาฉิ” หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง ก่อนนำไปรดพืชผักต่างๆ จะทำให้พืช ผัก ที่ปลูกใหม่ๆ ฟื้นตัวและโตเร็ว
• นำใส่ในแปลงพืชตารางเมตรละ 1 กำมือ ( 50 - 100 กรัม : พื้นที่ 1 ตร.ม.)
• ใช้หว่านในบ่อน้ำ เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำที่เน่าเสียให้กลับตี หรือช่วยทำให้น้ำที่ดีอยู่แล้ว ไม่เน่าเสียได้
การทำจุลินทรีย์น้ำจากจุลินทรีย์แห้ง (ใช้ใน 1 วัน )
ส่วนผสม 1. จุลินทรีย์แห้ง (โบกาฉิ) 2 กก.
2. กากน้ำตาล ½ แก้ว
3. น้ำ 200 ลิตร
วิธีทำ • นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากันแช่ไว้ในช่วงเย็น

วิธีใช้ • นำไปรด พืช ผัก ผลไม้ ในไร่ นา ได้ในช่วงเช้า

4.3 การทำฮอร์โมนผลไม้
ส่วนผสม 1. มะละกอสุก 2 ก.ก.
2. ฟักทองแก่จัด 2 ก.ก.
3. กล้วยน้ำว้าสุก 2 ก.ก.
4. EM 250 ซีซี หรือ 1 แก้ว หรือ 25 ช้อนโต๊ะ
5. กากน้ำตาล 250 ซีซี หรือ 1 แก้ว หรือ 25 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีทำ • หั่นมะละกอ ฟักทอง กล้วยทั้งเปลือกและเมล็ดเข้าด้วยกัน ใส่ในถังพิทักษ์โลก (ดูรายละเอียดใน
วิธีทำ)* หรือถังพลาสติกหรือภาชนะดินเคลือบ
• ผสม EM กากน้ำตาล ลงในภาชนะ ใส่น้ำให้ท่วมผลไม้ คลุกให้เข้ากัน ปิดฝา หมักไว้ 7-10 วัน
• เมื่อเปิดฝาออก ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองด้านบน นำไปใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ ฯลฯ ช่วยเร่งรากดีมาก
• กรองน้ำหรือรินใส่ขวดพลาสติกไว้ใช้ เก็บไว้นาน 3 เดือน
วิธีใช้ • นำฮอร์โมน 4-5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด ไม้ผลช่วงติดดอก ก่อนดอกบาน ทำให้ติดผลดี หรือฉีดเร่งการออกดอก บำรุงราก เดือนละครั้ง
• ใช้กับพืชผักสวนครัว สัปดาห์ละครั้งสลับกับจุลินทรีย์น้ำ
• นำกากที่เหลือ (ในถัง หรือ ภาชนะที่ใช้หมัก ) ไปใส่ต้นไม้ บำรุงดิน หรือ ทิ้งไว้ให้แห้งทำจุลินทรีย์แห้ได้อีก
4.4 การทำฮอร์โมนยอดพืช
ส่วนผสม
1. ยอดสะเดาทั้งใบและเมล็ด ½ ถัง ( ขนาด 10 ลิตร )
2. ยอด / ใบยูคาลิปตัส ½ ถัง ( ขนาด 10 ลิตร )
3. EM 1 แก้ว
4. กากน้ำตาล 1 แก้ว
5. น้ำสะอาด 10 ลิตร
*ใช้ยอดพืช ยอดผัก หลายๆ ชนิด ก็ได้ อาทิ ชมพู่ มะม่วง ตะไคร้หอม ฯลฯ การเก็บยอดพืชให้เก็บตอนเช้าตรู่
วิธีทำ • สับยอดพืชให้สั้นประมาณ 1 นิ้ว ใส่ในถังพลาสติกหรือโอ่ง
• ผสม EM กากน้ำตาล น้ำ เทลงในถังให้น้ำท่วมพอดี ปิดฝาให้มิดชิด
• หมักไว้ 7 – 10 วัน กรองใส่ขวดเก็บได้นานประมาณ 3 เดือน

วิธีใช้ • 4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด ตอนเช้า หรือหลังฝนตก ป้องกันแมลงรบกวน พืชจะแข็งแรงเติบโตดี
• ใช้ผสมกับสารไล่แมลงจะได้ผลดียิ่งขึ้น

4.5 การทำสารไล่ศัตรูพืช (สุโตจู / EM 5)
ส่วนผสม
1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 2 ส่วน หรือ 2 แก้ว (แก้วละ 250 ซีซี)
2. น้ำสัมสายชู 5% 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
3. EM 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
4. กากน้ำตาล 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
5. น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีทำ
• นำกากน้ำตาลผสมน้ำเขย่าให้เข้ากัน ใส่เหล้าขาวและน้ำส้มสายชู
• ใส่ EM คนให้เข้ากัน
• เขย่าภาชนะทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น เปิดฝาระบายก๊าซหลังจากเขย่า ครบกำหนดนำไปใช้เพื่อขับไล่แมลง ป้องกันโรคพืชบางชนิด เช่น ใบหงิก ใบด่าง เพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ ฯลฯ
วิธีใช้
• ใช้ 10 – 50 ซีซี (1-5 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 5-10 ลิตร
• ฉีดพ่น ให้ชุ่ม และทั่วถึง นอกและในทรงพุ่ม
• ใช้กับพืช ผัก ทุก 3 วัน สลับกับการพ่นจุลินทรีย์น้ำ
• พืชไร่ พืชสวน ทุก 3-7 วัน สลับกับการพ่นจุลินทรีย์น้ำ
• ผสมกากน้ำตาล หรือ นมสด ฯลฯ เป็นสารจับใบ

4.6 การทำสารไล่ศัตรูพืชสูตรเข้มข้น (ซุปเปอร์สุโตจู)
ส่วนผสม
1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 2 ส่วน หรือ 2 แก้ว
2. น้ำสัมสายชู 5% 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
3. EM 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
4. กากน้ำตาล 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
วิธีทำ
• นำส่วนผสมทั้งหมดในภาชนะเขย่า หรือ คนให้เข้ากันดี
• ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 1 วัน
วิธีใช้
• ใช้ในกรณีที่ผสมสารไล่ศัตรูพืชธรรมดาไม่ทันกาล
• ใช้ 5 – 10 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง ฉีดพ่นปราบหนอน แมลงศัตรูพืช ที่ปราบได้ยาก เช่น หนอน หลอดหอม หนอนชอนใบ เพลี้ยกระโดย เพลี้ยผลไม้
• กรณีมีพื้นที่เพาะปลูกมาก ใช้ 200 – 300 ซีซี หรือ 2 แก้ว ผสมน้ำสะอาด 100 – 200 ลิตร มากน้อยแล้วแต่ความเหมาะสม
• ผสมน้ำ 50 เท่า กำจัดเหา เห็บ หมัด โรคขี้เรือน ในสัตว์เลี้ยง ใช้ราดให้ทั่วตัวหมักทิ้งไว้ 20 – 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
• ใช้ป้องกันและแก้โรคในสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ตะพาบน้ำ ปลา ฯลฯ
(ดูรายละเอียดการใช้ในการประมง)*
หมายเหตุ
• หมั่นสังเกตชนิดของแมลงที่เป็นศรัตรูพืช หากการใช้สารไล่ หรือสารป้องกันศัตรูพืชได้ผลต่ำให้ผสม ข่าแก่ หรือ บอระเพ็ด หรือตะไคร้หอม หรือ ดีปลี ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ 2 อย่าง โขลกละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ หรือนำแซ่ยาฉุนทิ้งไว้ 2 – 3 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำผสมลงในสารไล่แมลงที่ทำไว้จะช่วยไล่แมลงวัน มด ปลวก เพลี้ย ต่างๆ กำจัดหนอนที่กินพืชผัก
• พืชใบอ่อนผสมน้ำให้เจือจาง พืชใบแข็งผสมน้ำน้อยลงได้
• ใช้ร่วมกับฮอร์โมนยอดพืชได้
4.7 สูตรป้องกันเชื้อราหรือไร
ส่วนผสม
1. EM 1 ลิตร
2. กากน้ำตาล 1 ลิตร
3. ตระไคร้หอม 2 กก.
4. ข่าแก่ 2 กก.
5. ใบและเมล็ดสะเดา 2 กก.
วิธีทำ
• นำตะไคร้หอม ข่า สะเดา ปั่นหรือโขลกให้ละเอียด ใส่น้ำพอคั้นได้ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำสมุนไพร ประมาณ 3 กก.
• นำ EM ผสมกากน้ำตาล ผสมในน้ำสมุนไพร
• ปิดฝาภาชนะหมักไว้ 3 วัน
• เก็บไว้นานประมาณ 3 เดือน
วิธีใช้
. ใช้ ½ ลิตร ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีด พ่น ต้นไม้ทุก 3 วัน

4.8 สูตรไล่หอยหรือเพลี้ยไฟป้องกันใบข้าวไหม้
ส่วนผสม
1. ยอดยูคาลิบตัส 2 กก.
2. ยอดสะเดา 20 ยอด / 1 ปี๊บ
3. ข่าแก่ 2 กก.
4. บอระเพ็ด 2 กก.
5. จุลินทรีย์ 1 แก้ว
6. กากน้ำตาล 1 แก้ว
วิธีทำ
• นำยอดยูคาลิปตัส ยอดสะเดา ข่าแก่ และบอระเพ็ด แต่ละอย่างแยกกัน ใส่ปี๊บ ใส่น้ำให้เต็ม ต้มให้เหลือน้ำอย่างละครึ่งปี๊บ ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทรวมกันในถังใหญ่ หรือ โอง ใส่ EM 1 แก้ว กากน้ำตาล 1 แก้ว ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 3 วัน
วิธีใช้
• ใช้ ½ ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น ราดในไร่หรือนาข้าว
ข้อสังเกต หากมีแมลงศัตรูพืชระบาด รบกวนมาก จะใช้น้ำสมุนไพรต่างๆ อาทิ บอระเพ็ด เมล็ดสะเดา ตะไคร้หอม ฯลฯ ผสมร่วมกันเป็นสารไล่ศัตรูพืชทีเดียวก็ได้
4.9 สารสมุนไพรใช้ปราบศัตรูพืช ปราบหญ้า (หมายเลข 02)

สมุนไพร ประกอบด้วย
- เม็ดลำโพงสด
- หางไหลแดง – ขาว
- รากหนอนตายหยากตัวผู้ - ตัวเมีย
- ยาเส้น (ยาฉุน)
- กากน้ำตาล
- หัวน้ำส้มสายชู
- สะเดาชนิดผง
วิธีทำ นำส่วนประกอบทั้งหมดอย่างละประมาณเท่าๆ กัน รวมน้ำหนัก 1 กก. มัดใส่ห่อผ่าแช่ในน้ำ จำนวน
5 ลิตร หมักใส่โอ่งไว้นาน 15 วัน (ถุงผ้าห่อสมุนไพร เมื่อยกขึ้นจากน้ำที่หมักแล้ว สามารถนำไป
แซ่น้ำ 2 – 3 ชม. ใช้ได้อีกครั้งก่อนทิ้ง)
วิธีใช้ นำน้ำหมักสมุนไพร อัตราส่วน 150 – 200 ซีซี (หรือ 20 ช้อนโต๊ะ) ผสมจุลินทรีย์ EM 100 ซีซี
(หรือ 10 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นปราบศัตรูพืช 5 – 6 วันต่อครั้ง
4.10 สารสมุนไพรชะลอการเจริญเติบโต ของเชื้อรา เอ็นแท็กโน้ต (หมายเลข 07)
โดย นาตี๋ คล่องแคล่ว
อดีตประธานสหกรณ์หุบกะพงตามพระราชประสงค์ผู้คิดค้น
สมุนไพร ประกอบด้วย
- ว่านน้ำ ( ต้น ใบ ราก ) 1 กก.
- แอลกอฮอล์ 1 ขวด (เหล้าแม่โขง)
- เปลือกมังคุด 1 กก.
- หมากดิบ (สด ) กะเทาะเปลือกออกแล้ว ½ กก.
- ตะไคร้หอม 1 กก.
- กากน้ำตาล 100 ซีซี
- น้ำสะอาด 5 ลิตร
วิธีทำ
นำว่านน้ำล้างให้สะอาด มัดเป็นก้อน ทุบให้ผิวแตก แล้วแช่ในน้ำแอลกอฮอล์ 1 คืน, นำเปลือกมังคุดมาต้มในน้ำ จำนวน 2 ลิตร ให้งวดเหลือน้ำ 1 ลิตร, นำหมากดิบมาหั่นซอยเป็นแผ่นบางๆ ต้มน้ำร้อนเทใส่ ทิ้งไว้ 1 คืน, นำตะไคร้หอมทุบเล็กน้อยและกากน้ำตาลมาแซ่น้ำ 5 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืนเอาส่วนผสมที่ได้ทั้งหมดมาแซ่รวมกัน หมักต่อไปอีก 15 วัน
วิธีใช้
นำน้ำหมักสมุนไพร อัตราส่วน 150 ซีซี (หรือ 15 ช้อนโต๊ะ) ผสมจุลินทรีย์ EM 100 ซีซี (หรือ 10 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นไม้ ประมาณ 5 – 6 วันต่อครั้ง

4.11 การทำสารสกัดชีวภาพ (Fermented Plant Extract)

คือสารสกัดที่ได้จากการหมัก ยอดพืช วัชพืช ผัก ผลไม้ และ EM โดยมีส่วนประกอบของกรดอินทรีย์ (Ortanic Acids)
สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพแร่ธาตุและสารที่มีประโยชน์ ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตต่ำ

ส่วนผสม
1. ยอดพืชเก็บในตอนเช้าตรู่จะอุดมด้วยธาตุอาหาร เช่น ยอดมะพร้อมเมล็ดของสะเดา ยอดขี้เหล็กยอดพริก ใบสะระแหน่ กระถิน มัยราพยักษ์ หญ้า ยอดผักต่างๆ รวมทั้งผลไม้ เช่น ชมพู่ ส้มทที่ติดผลมากเกินไป เป็นต้น ปริมาณ 1ถัง หรือถัง 15 ลิตร
2. น้ำสะอาด 15 ลิตร หรือพอท่วมพืชผัก
3. EM ½ ลิตร (500 ซีซี)
4. กากน้ำตาล ½ ลิตร (500 ซีซี)
5. ถุงพลาสติกดำ 1 ถุง
*หากไม่มีกากน้ำตาลให้ใช้น้ำตาลทรายแดงแทนปริมาณ 2 กก. ผสมน้ำข้นๆ
วิธีทำ
1. สับพืช ผัก ผลไม้ ให้เป็นชิ้นเล็กๆ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร
2. นำพืช ผัก ผลไม้ สับลงในถังพลาสติก หรือ โอ่ง
3. ผสม EM และกากน้ำตาลลงในน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ แล้วเทส่วนผสมลงในถังหรือโอ่ง
4. ปิดถังหรือโอ่งด้วยพลาสติกดำ เอาเชือกหรือยางรัดมัดไว้
5. ปิดฝาและวางของหนักๆ ทับไว้ อย่าให้อากาศเข้า
6. เก็บไว้ในอุณหภูมิปกติ ไม่ให้ถูกแสงแดด หมักไว้ 5 – 7 วัน
7. 2 -3 วัน เขย่าถังเบาๆ เพื่อระบายแก๊สในถัง
8. ใช้ผ้ากรองน้ำสกัดใส่ขวดพลาสติก
9. เก็บไว้ได้ 3 เดือน ขึ้นไป
วิธีใช้
1. ใช้ อัตราส่วน 1 : 1,000 กับน้ำ (หรือ 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำ 1 ลิตร)
ฉีด พ่น รด ราด พืชในตอนเช้า หรือ หลังฝนตก ได้ทุกวัน
2. ใช้รดบนดิน บัวรดน้ำ สปริงเกอร์ หรือระบบให้น้ำอัตโนมัติ ก็ได้
3. ใช้รด พืช ผัก ลงบนเมล็ดที่กำลังงอก จะต้านทานโรคได้ดี ใช้ร่วมกับ EM 5(สุโตจู) จะเห็นผลเร็วยิ่งขึ้น

5. การใช้จุลินทรีย์ชีวภาพในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และบำบัดน้ำเสีย
5.1 การใช้จุลินทรีย์ชีวภาพกับพืช
พืชถือว่าเป็นผู้ผลิตอาหารให้คนและสัตว์ หากผู้ผลิตมีความสมบูรณ์แข็งแรงดี ก็จะส่งผลดีให้แก่ผู้บริโภค ผู้ผลิตหรือพืช อาศัยจุลินทรีย์ในดินช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีพลังต่อการเจริญเติบโตของพืช สำหรับการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพกับพืช แบ่งเป็นกลุ่มได้ ดังนี้
พืชผักสวนครัว
การปลูกพืชผักสวนครัว มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของชีวิตประจำวัน เพราะใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ดี ถ้าปลูกมากมีเหลือก็จำหน่ายได้ และสามารถยึดเป็นอาชีพได้ ขอให้มีความยึดมั่นในธรรมชาติ มีความขยันและอดทน การปลูกพืชผักสวนครัวมีหลักปฏิบัติ 5 ประการ
1. การเลือกเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์มีความจำเป็นในการเริ่มต้นในการเพาะปลูก จึงควรศึกษาเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี แข็งแรง ไม่เป็นโรคง่าย คัดสรรและเก็บรักษาไว้อย่างดีก่อนปลูก
2. การเตรียมดิน
คุณภาพของดิน จะเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของพืช การให้อาหารแก่ดินด้วยปุ๋ยชีวภาพจะทำให้ดินมีชีวิตและช่วยย่อยอินทรียวัตถุในดินให้ดินอุดมพร้อมแก่การเพาะปลูก
2.1 แปลงใหม่ (ดินไม่สมบูรณ์)
- ถ้าดินแข็งมาก อาจใช้เครื่องจักรช่วยในการไถก่อนยกแปลง
- ดินขาดอินทรียวัตถุ ควรแหวะท้องหมู ใส่จุลินทรีย์แห้งและรดด้วยจุลินทรีย์น้ำ
- ยกร่องให้สวยงาม โรยจุลินทรีย์แห้ง ตร.ม. ละ 1 กำมือ รดด้วยจุลินทรีย์น้ำ คลุมด้วยฟางไว้
5 – 7 วัน ปลูกพืชด้วยเมล็ดหรือกล้า
2.2 แปลงเก่า (ดินสมบูรณ์)
หลังจากตัดผักหรือถอนผักออกแล้ว ถอนหญ้า ปรับปรุงแปลง (ไม่ต้องขุด) แล้วเริ่มต้นดังนี้
1. ใส่ปุ๋ยแห้ง ตร.ม.ละ 1 – 2 กำมือ ใช้จอบสับเบาๆ ให้คลุกกับดิน
2. คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
3. รดด้วยจุลินทรีย์น้ำ 1-2 วัน
4. หมักไว้ 7 วัน ปลูกด้วยเมล็ดหรือกล้า
3. การปลูก
3.1 การปลูกด้วยเมล็ด
• นำเมล็ดไปแช่ในน้ำจุลินทรีย์ ประมาณ 30 นาที หากผิดเมล็ดแข็งให้แช่นานหน่อย
• แหวกหญ้าหรือฟางที่คลุมออก
• ใช้ไม้กระดานหน้า ½ x 2 นิ้ว กดเป็นรอยลึก 1-2 เซนติเมตร
• หยอดเมล็ดตามรอยที่กดไว้
• คลุมฟางเหมือนเดิม
• รดน้ำเช้าเย็น
• 2 วันแรกให้รดด้วยจุลินทรีย์น้ำช่วงเย็นวันละ 1 ครั้ง หลังจากนั้น ให้รดจุลินทรีย์น้ำ 3 วัน/ครั้ง นอกนั้นรดน้ำปกติ
3.2 ปลูกด้วยกล้า
การเพาะกล้ามี 2 ชนิด คือ
เพาะด้วยกะบะ
• อาจเป็นภาชนะสำเร็จรูป หรือใช้ไม้ ½ x 2 นิ้ว หรือวัสดุอื่น ทำเป็นกระบะขนาด 50 x 50 หรือ 50 x 70 หรือ 50 x 100 เซนติเมตร ให้สามารถยกย้ายและวางบนพื้นได้สะดวก
• ผสมจุลินทรีย์แห้งกับดินร่วน แกลบเผา อัตราส่วน 1: 5 : 3 ลงในกระบะ
• หยอดเมล็ดหรือหว่านเมล็ดให้ทั่ว อย่าให้แน่นเกินไป
• คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางบางๆ
• รดด้วยจุลินทรีย์น้ำให้ชุ่ม
• จากนั้นรดน้ำ เช้า-เย็น
• รดจุลินทรีย์น้ำช่วงเย็นติดต่อกัน 3 วัน หลังจากนั้นรดจุลินทรีย์น้ำ 3 วัน/ครั้ง
เพาะในแปลง
• นำจุลินทรีย์แห้งและแกลบเผาผสมในดิน ในแปลง คลุกให้ทั่ว ทำหน้าดินให้ละเอียด
• หยดเมล็ด หรือ โรยเมล็ด
• คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางบางๆ
• รดด้วยจุลินทรีย์น้ำให้ชุ่มทั่วแปลง
• รดน้ำ เช้า-เย็น
• 3 วันแรกรดจุลินทรีย์น้ำช่วงเย็นทุกวัน หลังจากนั้น รด 3 วัน/ครั้ง วันปกติรดน้ำธรรมดา
4. การดูแลรักษา
1. ผักเกือบทุกชนิดเพาะกล้าก่อนปลูกจะดี เพราะถ้าให้ร่นระยะเวลาในการลงปลูก สามารถปลูกได้หลายรุ่น และดูแลรักษาง่ายยกเว้นพืชผักที่ย้ายกล้าไม่ได้ เช่น แครอท หัวผักกาด การปลูกด้วยกล้าทำให้ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ด้วยดีกว่าปลูกด้วยเมล็ดแล้วต้องถอนทิ้งเมื่อผักแน่นเกินไป
2. ปกติจะใส่จุลินทรีย์แห้งครั้งเดียว แต่ถ้าผักมีอายุยาวเกิน 50 วัน ให้สังเกตว่าผักไม่สวย ไม่สมบูรณ์ ก็ใส่จุลินทรีย์แห้งได้ระหว่างแถว ไม่ให้ถูกต้นพืชผัก
3. การเตรียมแปลงดี ผักจะเจริญเติบโตเสมอกันทั้งแปลงผัก ต้นใดมีโรคให้งดน้ำ และรดด้วย EM สด ขยาย ผสมน้ำ 50 เท่า ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จึงให้น้ำต่อ
4. ผักมีหัวให้ขุดแปลงลึกๆ แหวะท้องหมู่บ่อยๆ และใส่จุลินทรีย์แห้งผสมให้ดี
5. การรดน้ำ ควรใช้บัวรพน้ำรูเล็กๆ ให้เป็นฝอยได้มากเท่าไรยิ่งดี
6. ไม่ควรรดน้ำด้วยสายยางที่น้ำพุ่งแรงๆ จะทำให้ผักนอนราบ โดยเฉพาะผักกาดขาวจะห่อใบยาวขึ้นหากถูกน้ำซัดแรงๆ ทุกวัน
7. พ่นด้วยสารไล่ศัตรูพืช หรือ สารป้องกันเชื้อรา ทุกๆ 3 วัน
ข้อสังเกต เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชโดยธรรมชาติ ควรปลูกผักกาดหอม ผักชีใบแหลม ปนกับผักอื่นๆ ปลูกต้นดาวเรือง ตะไคร้หอม ผกากรองไว้เป็นรั้ว และใช้ใบตะไคร้หอมมาคลุมแปลงผักจะป้องกันแมลง
รบกวนได้ด้วย
5. การเก็บผลผลิต - การจำหน่าย
การเก็บผลผลิตควรดำเนินไปตามอายุของผักแต่ละประเภท และหากปลูกโดยใช้จุลินทรีย์ชีวภาพดังกล่าวข้างต้น ควรเก็บก่อนกำหนดเล็กน้อยเพราะ
5.1 ผักธรรมชาติเจริญเติบโตเร็ว
5.2 ร่นระยะเวลาปลูก ลดแรงงาน และรายจ่าย
5.3 หากเก็บช้าหรือเกินอายุทำให้ผักมีภูมิต้านทานต่ำเกิดโรคได้
5.4 การเก็บควรใช้วิธีตัด ยกเว้นผักหัวใช้ถอน
5.5 ผักที่เป็นผลควรเก็บอย่างประณีต เพื่อให้โอกาสเกิดผลใหม่อีก เช่น ถั่ว แตง
5.6 ผักทั่วไปเก็บแล้วล้างให้สะอาด บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย
5.7 ผักที่เป็นผัก เช่น ถั่ว เก็บแล้วไม่ต้องล้าง ไม่ต้องพรมน้ำ
ข้อควรจำ
• ผักธรรมชาติทนทาน ขั้วไม่หลุดง่าย เหี่ยวยาก
• ไม่ต้องแช่สารเคมี
• น้ำพรมผักหรือแช่ผักควรผสม EM ด้วย • ไม่ควรนำผลผลิตไปขายร่วมกับแผลผักเคมี จะทำให้เสียคุณภาพ ควรเปิดแผงผักปลอดสารพิษหรือผักธรรมชาติเพื่อสะดวกต่อการเลือกซื้อของผุ้บริโภค สามารถรับรองคุณภาพและสามารถกำหนดราคาได้ดีในอนาคตช่วงที่เหมาะสมในการปลูกพืชผักกุมภาพันธ์ -
เมษายน
• ผักชี หอม ผักบุ้งจีน ผักกาดหัว ถั่วผักยาว แตงกวา มะระ ผักกาดเขียวปลี ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาวพฤษภาคม - กรกฎาคม
• ผักคะน้า กุยช่าย บวบเหลี่ยม ข้าวโพดหวาน หอมแดงสิงหาคม -
ตุลาคม (ปลายฝน)ผักชีลาว ผักโขม กุยช่าย ผักกาดขาว ผักกาดหอม พริก มะเบือเปราะ มะเขือยาวปลูกได้ทั้งปี
• ผักสวนครัวต่างๆ เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ โหระพา แมงลัก ฯลฯ
พืชไร่ พืชไร่ เป็นพืชที่คล้ายพืชผักสวนครัวในบางส่วนเพราะสามารถเพาะปลูกเป็นแปลงก็ได้ เพาะปลูกเป็นหลุมก็ดี ที่ต่างออกไปคือการเพาะปลูกเป็นลานกว้างเป็นแปลงเดียวทั้งพื้นที่ หรือแบ่งเป็นแปลงใหญ่ๆ มีขั้นตอนดังนี้
1. การเลือกพันธุ์ พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ คือเหมาะสมกับพื้นที่ และฤดูกาล เช่น
• พื้นที่ที่ปลูกเหมาะแก่พืชน้ำ หรือพืชดิน
• ฤดูกาลการเพาะปลูก และการให้ผลผลิตต่อปี
2. การเตรียมแปลง
แบบที่ 1 เตรียมแปลงเหมือนผักสวนครัว (เป็นแปลงยกร่องตามที่ได้กล่าวมาแล้ว)
• ทำแปลงลึกรูปตัว V เหมาะสมกับพืชที่ไม่ต้องการความชื้น เช่น แตงร้าน ถั่ว เป็นต้น
วิธีเตรียมดิน
1. ขุดเป็นรูปตัว V ขนาดพอเหมาะ กว้าง และลึก ประมาณ 50 ซม.
2. ใส่อินทรียวัตถุ เช่น หญ้าแห้ง ฟาง มูลสัตว์ ใบไม้แห้ง ฯลฯ
3. โรยจุลินทรีย์แห้ง ตารางเมตรละ 1 กำมือ
4. รดด้วยจุลินทรีย์น้ำ
5. ปิดแปลงด้วยดิน คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง รดด้วยจุลินทรีย์น้ำ หมักไว้ 7 วัน จึงปลูกพืช
แบบที่ 2 เตรียมเป็นหลุมขนาดต่างๆ ตามลักษณะของพืช (ใช้กับการปลูก บวบ แตง ฟักทอง ฯลฯ)
วิธีเตรียมดิน
1. ขุดหลุมประมาณ 30 x 30 ซ.ม. หรือ 50 x 50 ซ.ม.
2. 2 -5 (ทำเหมือนแบบที่ 1)
แบบที่ 3 เตรียมแปลงปลูกเป็นแปลงใหญ่ แปลงเดียวหรือหลายแปลง
วิธีเตรียมดิน
1. ถ้ามีหญ้ามากดำเนินการดังนี้
• ใส่จุลินทรีย์แห้ง พ่นจุลินทรีย์น้ำ ให้ทั่ว
• ไถและคราด หรือไถกลบ
• พ่นจุลินทรีย์น้ำอีกครั้ง เพื่อช่วยให้หญ้างอก ทิ้งไว้ 10 – 15 วัน แล้วไถคราดอีกให้เป็นปุ๋ย 2 ต่อ
• หากหญ้ายังไม่หมดพ่นจุลินทรีย์น้ำทิ้งไว้ 10 – 15 วัน แล้วไถคราดอีกครั้งจึงปลูก
2. เตรียมหลุมในแปลงใหญ่ได้ สำหรับพืชที่ระยะห่างกันมาก เช่น แตง ฟักทอง ฯลฯ หรือ ขุดปลูกได้
เลยตามลักษณะของพืช
3. การปลูก
3.1 ปลูกด้วยเมล็ด
• เตรียมเมล็ดให้พอเหมาะกับพื้นที่
• นำเมล็ดแช่จุลินทรีย์น้ำ (EM 1 ส่วน น้ำ 100 ส่วน) ประมาณ 20 – 30 นาที
• นำลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้
• ถ้าปลูกเป็นหลุมๆ ละประมาณ 3 – 4 เมล็ด
ฯลฯ
3.2 การปลูกด้วยกล้า
• เพาะกล้าในถุงเพาะ หรือแปลงเพาะ หรือกระบะเพาะ
• ดูแลรดน้ำสม่ำเสมอ
• โตพอควรจึงนำไปปลูก
ข้อควรคำนึงในการเพาะกล้า
1. เตรียมดินดี
2. เพาะในถุงไม่ควรมีเมล็ดมากเกินไป
3. เพาะในแปลงอย่าให้ถี่มากเกินไป
4. ให้เป็นไปตามอายุของพืช การปลูกอย่าให้อ่อนหรือแก่เกินควร
5. การปลูกพืชต่อเนื่อง การเพาะกล้าช่วยให้ปลูกได้หลายรุ่น และได้ผลผลิตมากกว่าเดิม
6. การปลูกด้วยกล้า ควรทำร่มเงาด้วยสักระยะหนึ่ง (ประมาณ 1 สัปดาห์) อาจจะใช้ฟางคลุมหรือทำนั่งร้านคลุมด้วยสแลน ฯลฯ



4. การดูแลรักษา
4.1 การให้น้ำ
• พืชบางชนิดหลังปลูกให้น้ำชั่วคราว แล้วไม่ต้องให้อีก เช่น แตงโม พริก มะเขือ ฟักทอง ยกเว้นแล้งจัด
• พืชบางชนิดต้องให้น้ำตลอด เช่น ถั่ว แตงร้าน
• พืชบางชนิด เช่น แตงกวา ฟักทอง ถ้าจะให้น้ำให้ที่ลำต้นที่เดียว ไม่ต้องฉีดพ่นทั่วไป
• บางชนิดอาจไม่ต้องให้น้ำเลย เช่น ข้าวโพด สับปะรด ถั่วบางชนิด ฯลฯ แต่อาศัยน้ำจากธรรมชาติ
การปลูกต้องพึ่งฤดูกาล
4.2 การให้ปุ๋ย
• ใส่จุลินทรีย์แห้งเดือนละครั้งหรือเมื่อสังเกตว่าพืชไม่สมบูรณ์
• เวลาใส่จุลินทรีย์แห้ง ให้ใส่รอบๆ ดิน หรือระหว่างแถว ไม่ให้ถูกลำต้น และใบ
• พ่นจุลินทรีย์น้ำ เสมอๆ สลับกับสานไล่หรือป้องกันศัตรูพืชประมาณเดือนละ 2 ครั้ง
• พืชที่ไม่ต้องให้น้ำ ควรพ่นจุลินทรีย์น้ำ และสารไล่ศัตรูพืชหลังฝนตก หากฝนไม่ตก อาจผสมน้ำ
ปริมาณมากกว่าเดิม และพ่นให้มากกว่าปกติ
4.3 การป้องกันศัตรูพืช
• ฉีดสารไล่แมลงหรือศัตรูพืชไว้ก่อนเสมอ เพื่อเป็นการป้องกัน
• หากมีแมลงศัตรูพืชมากหรืออยู่ช่วงฤดูศัตรูพืชระบาด ควรฉีดสารไล่แมลงบ่อยๆ 2-3 วัน/ครั้ง
• พื้นที่กว้างอาจแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ฉีดทุกวันๆ ละ 1 ส่วน สลับกันไปเพื่อประหยัดแรงงาน
5. การเก็บผลผลิต
• พืชเจริญเติบโตไม่เท่ากัน การเก็บผลก็ต่างกันออกไป
• ควรเก็บในตอนเช้า
• พืชที่มีผลต่อเนื่อง คือออกผลได้อีก เช่น แตง ถั่ว ควรเก็บให้รอบคอบ ไม่ทำลายขั้ว
• การดูแลรักษาผลผลิตต่อเนื่องเป็นเรื่องจำเป็น บางชนิดทับถมกันได้ บางชนิดทับถมกันมากไม่ได้
บางชนิดต้องมัดหรือบรรจุถุง หรือห่อ
พืชสวน
พืชสวนโดยทั่วไป จะมีการเตรีมดินปลูกเป็นหลุมๆ ละ 1 ต้น จึงไม่ต้องไถพื้นที่ ยกเว้นเพื่อการปราบวัชพืช อาจไถหลายครั้ง จากนั้นก็เตรียาหลุมปลูก
1. ขุดหลุมขนาดประมาณ 50 x 50 x 50 ซ.ม.
2. ใส่อินทรียวัตถุ เช่น หญ้าแห้ง ฟาง ใบไม้ มูลสัตว์ และใส่จุลินทรีย์แห้ง 2-3 กำมือ รดด้วย จุลินทรีย์น้ำ (EM + กากน้ำตาล + น้ำ อัตราส่วน 1 : 1 : 500) เอาดินกลบ หมักไว้ 7 วัน
3. นำต้นกล้ามาลงหลุม คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
4. ระวังการเหยียบย่ำด้วยคน และสัตว์ หรือพาหนะ
5. บริเวณชายพุ่มไม้ ที่ใบไม้ ดอกไม้ ร่วงลงมา ไม่ควรกวาดหรือนำไปที่อื่น เนื่องจากเป็นความสมดุลทางธรรมชาติ เมื่อออกดอก ผล ทั้งใบ ดอก ผล ที่ร่วงลงมาจะกลายเป็นอาหารของต้นเดิม อย่างต่อเนื่อง
6. การเสริมสร้างคุณภาพให้แก่ดิน ทำให้ต้นไม้แข็งแรงสามารถจะให้ผลผลิตในปีต่อไปได้ปกติหรือดีกว่าเดิม และถ้าดินสมบูรณ์จริงๆ จะออกดอก ผล ตลอดปี ดังนั้นต้นไม้ที่ออกผลปีเว้นปี คือ ต้นไม้ที่ไม่สมบูรณ์นั่นเอง
ข้อควรคำนึง
• การให้ปุ๋ยแห้งสำหรับไม้ผล
ครั้งที่ 1 หลังจากเก็บผล ตกแต่งกิ่งแล้ว
ครั้งที่ 2 หลังจากแตกใบอ่อน และใบอ่อนใกล้แก่
ครั้งที่ 3 ก่อนติดช่อดอก
ครั้งที่ 4 เมื่อติดลูกเล็ก
• พ่นจุลินทรีย์น้ำทุกๆ เดือน
• พ่นสารไล่แมลงศัตรูพืชเสมอๆ
• พ่นฮอร์โมนผลไม้ หรือฮอร์โมนยอดพืชเดือนละครั้ง หรือใช้พ่นหลังให้จุลินทรีย์แห้งแล้ว
การทำนาข้าว
ในประเทศไทย มีพื้นที่เพื่อการทำนามากกว่าการทำเกษตรชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก บางส่วน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคใต้บางพื้นที่ แม้แต่บนเขาในภาคเหนือก็มีการปลูกข้าว จึงทำให้เห็นว่าผลผลิตข้าวในประเทศไทยจะมีปริมาณสูงเป็นเรื่องที่น่าจะยินดี แต่การผลิตข้าวในประเทศไทยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และสารพิษสารเคมีในการกำจัดและปราบศัตรูพืช รวมถึงการแก้ปัญหาโรคข้าวและการปราบหญ้ากันมาก ทำให้ข้าวไทยไม่เหมาะแก่การบริโภคมากนักจึงทำให้เกรงว่าในปีต่อๆ ไป ข้าวไทยจะมีปัญหาเรื่องการตลาดอย่างหนัก เพราะตลาดโลกเข้มงวดกับผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นเกษตรเคมี ประกอบกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย เช่น ลาว เวียดนาม กำลังส่งการผลิตข้าวที่ไม่ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และงดการใช้สารพิษสารเคมีทั้งปวงโดยใช้เทคนิคเกษตรธรรมชาติ ซึ่งมีจุลินทรีย์ EM เป็นหลัก
การทำนาโดยใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ มีดังนี้
1. การเตรียมแปลงเพาะกล้าและการเพาะกล้า
มีข้อควรคำนึงในการเพาะกล้าบ้างเล็กน้อย คือ
1.1 อย่าเพาะให้กล้าแคระแกร็นหรืออวบเกินไป
1.2 ก่อนเพาะกล้าเลือกเมล็ดลีบหรือครึ่งลีบออกให้หมด
1.3 อย่าใส่จุลินทรีย์แห้งก่อนไถ หรือก่อนคราด จะทำให้กล้ารากลึก ทำให้ถอนยาก
1.4 ควรใส่จุลินทรีย์แห้งหลังจากเตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้ว โรยโบกาฉิให้ทั่วแล้วใช้ไม้ยาวๆ เกลี่ยปุ๋ยให้ทั่วพื้นดินก่อนทอดกล้า
1.5 ก่อนเพาะกล้าจะให้วิธีใดก็ได้ แต่ขอเสนอวิธีที่เป็นแนวทางได้ ดังนี้
- แยกเมล็ดลีบ โดยการนำไข่สด 2 ฟอง ใส่ในน้ำที่ใช้คัดเมล็ดลับ เติมเกลือจนกระทั่งไข่ทั้ง 2
ฟองลอย แช่พันธุ์ข้าวลงไปจะมีเมล็ดจมและลอย
- แยกเมล็ดลีบที่ลอยให้หมด นำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปล้างน้ำให้หายเค็ม

- นำเมล็ดข้าวไปแช่น้ำ EM (EM + น้ำ 500 เท่า) ไว้ 6 ชม. จึงนำมาอบ หรือผึ่งในภาชนะที่ระเหย
น้ำได้
- รดน้ำผสม EM ทุกวันจนกระทั่งเมล็ดข้าวมีจุดขาวที่จมูกข้าว แสดงว่ารากเริ่มงอก
- นำไปผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำไปหว่านในแปลงเพาะกล้าได้อย่าปล่อยให้รากยาว
- เพิ่มน้ำในแปลงเพาะกล้าตามความจำเป็น อย่าให้ลึกเกินไป ต้นกล้าจะผอม
2. การเตรียมแปลงนาดำ
ควรใส่จุลินทรีย์แห้งประมาณ 100 กก./ไร่ ก่อนไถหรือก่อนคราด ฉีดพ่น EM ขยายให้ทั่วด้วย หลังจากคราดแล้วหมักไว้ 15 วัน หากมีหญ้างอกให้ฉีดพ่น EM ขยาย และไถคราดอีกครั้งเพื่อปราบหญ้า
- ลงมือปักดำได้
- ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรใส่จุลินทรีย์แห้งอีก หากจำเป็นให้ใส่หลังปักดำไม่ต่ำกว่า 1 เดือน เพราะช่วงนี้ต้น
ข้าวอยู่ระหว่างการเจริญเติบโต หากใส่จุลินทรีย์แห้งรากจะลอยทำให้ต้นข้าวล้ม หากใส่จุลินทรีย์แห้ง
ก่อนไถหรือก่อนคราด รากข้าวจะหากินลึก ไม่ทำให้ต้นข้าวล้ม และการเพิ่มจุลินทรีย์แห้งบ่อยทำให้
ข้าวงาม มีใบเยอะเช่นกัน และมีจำนวนเมล็ดน้อยลงด้วย
การใส่จุลินทรีย์แห้ง ควรพิจารณาดังนี้
- ใส่หลังเก็บเกี่ยว ฉีดพ่น EM ขยายแล้วไถกลบ หรือ
- ใส่ก่อนการไถดำอีกครั้งถ้าจำเป็น หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่ต้องไถปราบหญ้าที่เกิดขึ้นให้กลายเป็นปุ๋ยด้วยการ
ฉีดพ่นด้วย EM ขยายอย่างเดียวก็ได้
3. การเตรียมแปลงนาหว่าน
เหมือนการทำนาดำ คือ ควรใส่จุลินทรีย์แห้งหลังการเก็บเกี่ยวแล้ไถกลบฟางไว้ หากจะทำนาปรังต่อ หลังไถกลบแล้วคราดด้วย หมักไว้ 15 วัน เพื่อดูการงอกของวัชพืช หากมีฉีดพ่น EM ขยาย ไถ คราด อีกครั้งจึงลงมือเพาะปลูก
4. การดูแลรักษาต้นข้าว
4.1 ฉีด EM ขยาย เดือนละ 1 ครั้ง
4.2 หากมีศัตรูพืช ฉีดพ่นสุโตจูสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
4.3 เมื่อข้าวออกรวงแล้ว จะฉีดพ่น EM ต้องใช้ EM ไม่ผสมกากน้ำตาล หากใช้ EM ขยายจะทำให้เมล็ด
ข้าวไม่สวย
4.4 ฉีดพ่นสารสกัดจากยอดพืชด้วยเสมอๆ ก็จะให้ผลผลิตและต้นข้าวแข็งแรงดี
5. การเก็บเกี่ยว
เนื่องจากข้าวธรรมชาติจะไม่แห้งหากพื้นนายังชื้นอยู่ จึงควรดูอายุของข้าวว่าควรเก็บเกี่ยวเมื่อใด ก็ดำเนินการตามนั้น
6. การปรับปรุงดินต่อเนื่อง หมายถึงว่า หากจะให้พื้นที่นาดีขึ้นๆ หลังเก็บเกี่ยวควรใส่จุรินทรีย์แห้ง พ่น EM แล้วไถกลบเลยทีเดียว จนกว่าฝนจะตกมา จึงไถดำหรือหว่านจะได้ฟางไว้เป็นปุ๋ย และดินได้มีโอกาสปรับปรุงให้ดีขึ้น พยายามให้นามีอินทรียวัตถุมากๆ เช่น ให้มีฟาง (ไม่ควรเผา) ให้มีหญ้าเพื่อใช้เป็นปุ๋ยธรรมชาติต่อไป งดใช้ยาฆ่าหญ้าโดยเด็ดขาด หากอินทรียวัตถุน้อย ควรหามาเพิ่มจะเป็นมูลสัตว์ด้วยก็จะดีมาก ครั้งแรกใส่จุลินทรีย์แห้งมากๆ ปี ต่อไปก็ลดลงได้
7. ผลดีของการใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพ
7.1 ปกติข้าวธรรมชาติปลูกด้วย EM จะไม่ล้มอยู่แล้ว
7.2 การฉีดพ่น EM ควรฉีดพ่นให้ทั่ว หากให้ EM ด้วยการหยดไหลไปกับน้ำข้าวที่อยู่ห่างไกลจะมีความ
สมบูรณ์น้อย
7.3 นาธรรมชาติ ข้าวที่ปลูกในร่มรำไรจะไม่มีเมล็ดลีบเหมือนปลูกด้วยปุ๋ยวิทยาศาตร์
7.4 ข้าวมีรสชาติอร่อย กลิ่นหอม หุงต้มแล้วบูดช้ากว่าปกติ
8 การใช้กับการประมง
การเลี้ยงสัตว์น้ำสิ่งสำคัญอยู่ที่การรักษาสภาพของน้ำซึ่งจุลินทรีย์ก็สามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญในการประมงด้วยเช่นกัน
การเลี้ยงปลา
1. การเลี้ยงปลาในบ่อขนาดเล็ก
2. การเลี้ยงปลาบ่อธรรมชาติขนาดใหญ่
การเลี้ยงปลาในบ่อขนาดเล็ก
เพื่อส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้พึ่งพาตนเองได้หรือให้ชาวบ้าน หรือผู้ที่มีพื้นที่น้อยสามารถทำบ่อปลาขนาดเล็ก เลียนแบบธรรมชาติ และเลี้ยงปลาจำนวนมากได้เป็นอาหารในครอบครัว และหากเหลือจำหน่ายเป็นรายได้ต่อไป
การเลี้ยงปลาในบ่อธรรมชาติขนาดใหญ่
1. เนื่องจากมีเกษตรกรหลายรายที่มีบ่อปลาอยู่แล้ว ให้ใส่จุลินทรีย์แห้งลงไปในบ่อ (อัตราส่วน จุลินทรีย์แห้ง : ปริมาตรบ่อ = 1 ตร.ม. : 1 กำมือ หรือจุลินทรีย์แห้ง 20 กก. : 1 ไร่)
2. ใส่จุลินทรีย์น้ำ (EM ขยาย 2 ลิตร กากน้ำตาล 2 ลิตร น้ำ 200 ลิตร)
3. ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จึงนำปลามาปล่อย
4. สังเกตดูน้ำโดยตักดมดูจะไม่มีกลิ่น หากมีกลิ่นเหม็นใส่จุลินทรีย์น้ำ (ตามอัตราส่วนข้างต้น) ลงไปในบ่อ เพื่อบำบัดน้ำเสีย

การทำอาหารปลาจาก EM
อาหารลูกปลา 1-4 สัปดาห์ (ต่อขนาดบ่อ 10 x 10 ม.)
ส่วนผสม
1. ปลายข้าวที่ต้มแล้ว 2 ส่วน
2. รำละเอียด 1 ส่วน
3. ผักสด (สับหรือหั่นละเอียด) 1 ส่วน
4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำสะอาด 5 ลิตร หรือ 5-6 ส่วน
วิธีทำ
• นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน แล้วหมักไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง

วิธีใช้
. ให้ลูกปลากิน เช้าและเย็น (หมักเช้าใช้ช่วงเย็น หมักเย็นใช้ช่วงเช้า)
• การให้อาหารมากเกินไป หรือหลายมื้อ ลูกปลาจะท้องอืดตาย• ปลามาก – น้อย เพิ่ม – ลด ส่วนผสมได้ตามส่วน
อาหารปลาใหญ่ 5 สัปดาห์ขึ้นไป (ต่อขนาดบ่อ 10 x 10 ม.)

ส่วนผสม
1. มูลสัตว์แห้ง 1 ส่วน
2. รำละเอียด 2 ส่วน
3. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำสะอาด 5 ลิตร หรือ 5-6 ส่วน
วิธีทำ
• นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 6 ชั่วโมง

วิธีใช้
• ให้ลูกปลากิน เช้าและเย็น

การเตรียมบ่อขนาดเล็ก
1. ขุดบ่อขนาดกว้าง 2 ม. ยาว 4 ม. ลึก 1 ม.
2. ปูบ่อด้วยพลาสติกหน้ากว้าง 4 ม. เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้และเชื้อโรคอื่นๆ ไม่ปนเปื้อนมาจากดิน เซาะขอบบ่อเป็นร่อง พับพลาสติกอัดลงร่อง แล้วเอาดินกลบให้มิดชิดถึงขอบบ่อ
3. ใส่ดินลงกันบ่อพอประมาณ เพื่อสร้างสภาพธรรมชาติ
4. ใส่ปุ๋ยแห้งลงไปในบ่อประมาณ 8-10 กำมือ เพื่อสร้างแพลงตอนเป็นอาหารในน้ำ ใส่จุลินทรีย์น้ำ 1-2 แก้ว เพื่อบำบัดน้ำในบ่อ
5. ปล่อยน้ำเข้าให้เต็มบ่อ ไม่ให้เห็นขอบพลาสติก ทิ้งไว้ 3-5 วัน
6. นำปลาขนาด 2 นิ้ว ลงเลี้ยงประมาณ 400 ตัว
7. ล้อมรอบบ่อด้วยตาข่ายเก็บชายฝังดิน เพื่อกันงูและสัตว์อื่นมากินปลา
8. ปูลกพืชผักสวนครัว เช่น ตะไคร้ โหระพา แมงลัก ผักชี ถั่วฝักยาว ฯลฯ รอบๆ บ่อ
9. ประมาณ 45-60 วัน จับได้
ชนิดของปลา สามารถเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาไน ปลาบู่ ฯลฯ
หมายเหตุ ช่วงหน้าหนาวปลากินอาหารน้อย จะเติบโตช้ากว่าปกติ