วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

ฮอร์โมนไข่ ทางเลือกใหม่ของเกษตรกร

ฮอร์โมนไข่ ทางเลือกใหม่ของเกษตรกร

ไข่ จัดเป็นอาหารที่มีประโยชน์หลากหลายต่อมนุษย์ นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ต่อการปลูกพืชโดยเฉพาะการปลูกพืชนอกฤดูกาลกรมวิชาการเกษตร โดย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จึงได้คิดค้น และพัฒนาการนำไข่มาทำประโยชน์แก่พืชโดยนำมาผลิตเป็นฮอร์โมน หรือที่เรียกว่า “ ฮอร์โมนไข่ ” เพื่อช่วยในการเร่งดอก โดยเฉพาะในฤดูฝนที่ต้นไม้ มักจะแตกใบอ่อน แต่ไม่ค่อยจะติดดอก ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตได้ ต้นทุนในการผลิตต่ำมากเพียง 25-30 บาท และยังไม่ทำให้เกิดสารพิษตกค้าง เพราะวัตถุดิบล้วนแต่มาจากธรรมชาติสูตรฮอร์โมนไข่1. ไข่ไก่สดทั้งเปลือกหรือไข่เป็ด ไข่นกกระทา หรือไข่หอยเชอรี่ จำนวน 5 กิโลกรัม2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 5 กิโลกรัม3.ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ก้อน4 นมเปรี้ยว 1 ขวด (กล่อง) หรือใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิตจากสับปะรด 200 ซีซีวิธีการทำ
1.นำไข่ทั้งฟองมาปั่นให้ละเอียดด้วยเครื่องปั่น ถ้าไม่มีเครื่องปั่นให้ตอกไข่ออกจากเปลือกใส่ภาชนะ แล้วใช้ไม้ตีไข่ขาวไข่แดงให้เข้ากัน นำเปลือกไข่ใส่ครกตำให้ละเอียด จากนั้นตักใส่ลงไปในภาชนะที่มีไข่ขาวไข่แดงปนกันอยู่ เพื่อเพิ่มธาตุแคลเซียม(Ca)จากเปลือกไข่
2.นำกากน้ำตาล ผงแป้งข้าวหมาก และนมเปรี้ยวหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์หรือกระเพาะหมูซึ่งจะมีจุลินทรีย์มหัศจรรย์ ที่ชื่อว่า Lactobacillus sp.ผสมใส่ลงไปแล้วคนคลุกให้เข้ากัน
3. นำไปบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด โดยให้มีช่องว่างอากาศประมาณ 10 % ของภาชนะ เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนเจริญเติบโตไปด้วย ทิ้งไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี อย่าให้ถูกแสงแดดประมาณ 7 วันก็สามารถนำไปใช้ได้ วิธีการใช้
ให้ใช้ในอัตราส่วน 2-3 ช้อนกาแฟ(5- 10 ซีซี)/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็น 7-10 วันต่อครั้ง
ถ้าใช้ในไม้ผลไม่ว่าจะ เป็นการปลูกในหรือนอกฤดูกาล จะต้องบำรุงต้นพืชให้สมบูรณ์ที่สุดก่อน แล้วค่อยเร่งการออกดอกด้วยฮอร์โมนไข่โดยเริ่มฉีดพ่นตั้งแต่ติดใบอ่อนรุ่นที่ 3 ประมาณ 30-45 วัน ไม้ ผลจะติดดอก 50-80 % ของทรงพุ่ม ต้องหยุดฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ทันที ถ้าพ่นต่อไปจะทำให้ดอกร่วง เนื่องจากฮอร์โมนไข่สูตรนี้มีความเข้มข้นและความเค็มสูง
หากต้องการให้ดอกออกนอกฤดูต้องให้มีช่วงฝนทิ้งช่วง หรือทิ้งช่วงการให้น้ำ 14-21 วัน ต่อครั้ง แล้วฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่ 7-10 วันต่อครั้ง ไม้ผลก็จะออกดอก จากนั้นฉีดพ่นด้วยน้ำหมัก ชีวภาพสูตรฮอร์โมนผลไม้ต่อไปอีก 7-10 วันต่อครั้ง เพื่อบำรุงผลผลิตให้สมบูรณ์
การใช้ใน ข้าว พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ ควรฉีดพ่นตั้งแต่พืชตั้งตัวได้จนถึงออกดอกเกิน 50 % จึงหยุดพ่น และไม่ควรใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอกในพืชผักกินใบ เช่น คะน้า ผักกาดขาว ผักกาด หอม เพราะพืชผักเหล่านี้จะออกดอก ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ และขายไม่ได้ราคา ตอบคำถามค่ะ
1.เป็นความรู้และภูมิปัญญา เพราะเป็นการนำอาหารที่มีอยู่ภายในบ้านมาคิดค้นและพัฒนาใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
2.ถ้าหากประเทศไทยได้ใช้ ก็จะทำให้เกิประโยชน์เป็นอย่างมากเพราะใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำเพียง 25-30บาท ราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมีตามท้องตลาด และยังไม่มีสารตกค้างในผลผลิต3. เหมาะสมกับชาวบ้านมาก เพราะสามารถผลิตได้ง่าย มีต้นทุนถูก เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่จะต้องไปซื้อปุ๋ยเคมีแพงๆในการเร่งผลผลิต