วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การปลูกพืชผักสวนครัวในที่ทิ้งร้าง...

ในช่วงเศรษฐกิจดี เชื่อได้ว่าคงมีคนจำนวนไม้น้อยซื้อที่ดินเปล่าย่านชานเมืองหรือในจังหวัดที่คาดว่าจะมีการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วไว้บ้าง ซึ่งที่ส่วนใหญ่มีขนาดประมาณ 1 ไร่ และหลายคนปล่อยให้ที่ดินเหล่านั้นรกร่างว่างเปล่าไม้ได้ทำประโยชน์อะไร รอเพียงให้เศรษฐกิจพลิกฟื่นจึงคอยขายต่อ หรือตัดสินใจอีกทีว่าจะทำอย่างไรกับที่ดินผืนนั้นดี ขอแนะนำว่าทางที่ดีน่าจะหันมาปลูกผักบนที่ดิน ที่ท่านทิ้งร้างว่างเปล่า ทั้งนี้เพื่อใช้ประโยชน์ของที่ดินบ้างโดยเมื่อปลูกผักแล้วก็สามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหรือมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นในวันเสาร์-อทิตย์ รวมทั้งในวันว่าง
ลักษณะผักที่ปลูกเน้นผักที่ทนทาน และไม้ต้องการการดูแลมาก หรืออาจกล่าวได้ว่าเน้นผักที่ฝากเทวดาเลี้ยงก็อยู่รอด ผักที่น่าจะเลือกปลูก ได้แก่ แค ขี้เหล็ก ตะไคร้ มะกรูด มะนาว ข่า กระชาย ขมิ้น หรือหน่อไม้ประเภทหน่อไม้ไผ่ตง หรือไผ่รวกก็เข้าท่า ยิ่งถ้ามีการปลูกไม้ผลจำพวกกล้วย มะละกอ หรือมะม่วงทิ้งไว้ด้วยแล้ว ใต้ร่มเงาของต้นไม้เหล่านี้ใช้เป็นที่ปลูกผักสวนครัวประเภทคลุมดินได้เป็นอย่างดี เช่น กระเพรา โหระพา แมงลัก ย่านาง หรืออาจเลือกปลูกชะพลู พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า ด้วยก็ได้ ซึ่งแต่ละอาทิตย์หรือวันว่างอาจต้องมาดูแลในเรื่องปราบวัชพืชบ้างเพื่อให้พืชผักสวนครัวเหล่านี้มีโอกาสเติบโตให้ผลผลิต ออกมาให้ชื่นใจได้บ้าง ดีกว่ามองเห็นแต่ที่ดินเปล่าๆ รวมทั้งการปลูกในลักษณะเป็นรั้วหรือแนวรั้ว เช่น กระถิง ชะอม ผักหวาน เป็นต้น หรือปลูกผักที่สามารถเจริญเติบโตได้บนค้างในลักษณะไม้เลื้อย เช่น ตำลึง บวบ ถั่วฝักยาว เป็นต้น เท่ากับว่ามีรั้วกินไดเข้ากับนโยบายการส่งเสริมของรัฐบาลในเวลานี้ทีเดียว
ในช่วงวันหยุดหรือวันว่างท่านอาจพาครอบครัวไปกางเต้นท์ หรือปูเสื่อ เลือกซื้อของสดของแห้งไปทำกับข้าวรับประทานกัน โดยหาเก็บผักที่ปลูกไว้มาเป็นเครื่องเคียง หรือเครื่องประกอบในการทำอาหาร รับรองว่าเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศไปสัมผัสกับธรรมชาติที่น่าสนใจมาก ทั้งประหยัดเหมาะกับยุคเศรษฐกิจยามนี้ และเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ท่านจะเห็นประโยชน์ของการปลูกผักในพื้นที่ที่ว่างเปล่าแต่ก่อนท่านไมารู้ว่าจะทำอย่างไรดี
แต่สิ่งที่ต้องทำใจสักหน่อย คือ อาจจะโดนขโมยผลผลิต ก็ถือว่าแบ่งกันกินดีกว่าปล่อยให้ที่รกร้างว่างเปล่า เพราะเท่ากับเป็นการปรับปรุงคุณภาพดิน ให้อุดมสมบูรณ์ด้วย และการปลูกพืชผักสวนครัว หรือไม้ผลนั้นก็ไม่ได้ลงทุนมากมายเท่าใดนัก อย่างไรก็ตามถ้าบริเวณใกล้เคียงทำแบบเดียวกันก็คงไม่ต้องกลัวขโมย เพราะมีกินเหมือนๆกัน

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ผักพื้นบ้านและพืชสมุนไพร

กระเจี๊ยบมอญ (Okra)Abelmoschus esculentus ( L.) MoenchMALVACEAEชื่ออื่น กระเจี๊ยบ มะเขือควาย มะเขือมอญ(กลาง) มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือมอญมะเขือละโว้ (เหนือ) ลักษณะทั่วไป ไม้ล้มลุกสูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีขนหยาบลำต้นมีสีเขียวกลม เส้นผ่าศูนย์กล่างเฉลี่ย 1-3 เซนติเมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปมือ เป็นแฉกลึกกว้าง 7 - 26 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ดอก ออกตามซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบด้านในสีม่วงแดง ก้านชู อับเติดกันเป็นหลอด เป็นพืช ผสมตัวเอง มีทั้งเกษรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ผล เป็นผลแคปซูล มีรูปร่างเรียวยาวเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม ผลตั้งชูขึ้นมีสีเขียวอ่อน หรือเขียวแก่ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ เมล็ด สีดำ จำนวน 200 เมล็ด หนักประมาณ 10 กรัม->>
<<-การปลูกจำใช้เมล็ดพันธุ์ 500 กรัม/ไร่ พันธุ์พื้นเมืองจะมีต้นสูงใหญ่ มีผลที่มีขนาดใหญ่ แต่ไม่มีความสม่ำเสมอ ผลสีเขียวอ่อน ส่วนพันธุ์ลูกผสมเช่นพันธุ์ลักกี้ไฟน์ เบอร์ 473 และพันธุ์เซาท์ซี เบอร์ 474 จะมีความสม่ำเสมอผลสีเขียวเข้มติดผลบริเวณข้อ
ประโยชน์ และความสำคัญทางอาหาร ผลอ่อน ลวกนึ่งหรือเผาไฟ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนำผลอ่อนมาแกงส้มเครื่องปรุง น้ำพริกแกงส้มมีดังนี้ พริก เกลือ ตะไคร้ ขมิ้น กระเทียม หอม กะปิโขลกเครื่องปรุงน้ำพริกให้เข้ากัน ผัดน้ำพริกกับน้ำมันและเนื้อปลาให้สุกและหอมตักเอาปลาออก และเติมน้ำทิ้งไว้จนกระทั่งเดือด ใส่กระเจี๊ยบมอญจนกระทั่งสุก

ประโยชน์ทางสมุนไพรผลแห้งป่นชงรับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ และดื่มน้ำตามวันละ 3-4 ครั้งช่วยรักาาโรคกระเพาะ ผล มีสาร pectin และ mucilage ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร
กระดอมGymnopetalum cochinense Kurz.CUCURBITACEAE ชื่ออื่น ขี้กาดง (สระบุรี) มะนอยจา (เหนือ)ผักแคบป่า (น่าน)มะนอยหก มะนอยหกฟ้า(แม่ฮ่องสอน) เขียวขี้กาลักษณะทั่วไป พืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยไปตามดิน เถามีขนาดเล็กเป็นร่องส่วนปลายจะมีมือเกาะเป็นเส้นกลมสีเขียวคล้ายลวดสปริง ยาว 14-25 เซนติเมตรออกตรงข้ามกับใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันรูปร่างต่าง ๆ กัน เป็นรูปไตสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือฉแก ขอบใบหยักเว้าเป็นฟันเลื่อย ใบกว้าง 5 -10เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร เส้นใบแยกจากโคนใบที่จุดเดียวกัน ฐานใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ มีขนแข็งปกคลุม สากมือทั้งด้านบนและด้านล่าง
ผลกระดอมสุก
-->> กลีบดอกยาว1.5 - 3.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 3 อันติดอยู่ที่ calyx-tube โดนที่อับเกสรตังผู้จะอยู่ติดกันเป็นแท่ง S-shapedดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยวมีลักษณะและจำนวนของกลีบเลี้ยงคล้ายดอกเพศผู้แต่มีก้านดอกสั้นกว่า เกสรตัวเมียมี 1 อัน รังไข่ติดกับฐานรองดอกคล้ายกระสวย มีหนามแหลมเป็นชนิดมีเนื้อนุ่มปกคลุม ยอดเกสรตัวเมียจะแยกเป็น 3 แฉก รังไข่มี 3 ห้อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ผล รูปรีหัวท้ายแหลมเป็นชนิดมีเนื้ออ่อนนุ่ม ผลนาว 3 - 7 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 เซนติเมตร มีสัน 10 สันผลอ่อนมีผิวสีเขียว เมื่อแก่มีสีส้มปนแดงเนื้อภายในเต็ม ผิวสาก เมล็ด สีน้ำตาลรูปรียาว 6 มิลลิเมตร การขยายพันธุ์ โดยเมล็ดและเถาปักชำ
ดอกกระดอม
นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบบริเวณที่รกร้าง ทุ่งนาและทุ่งหญ้าทั่วไปประโยชน์และความสำคัญ ทางอาหาร ผลอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก เป็นผักแกงป่า เป็นผักแกงป่า และแกงคั่วโดยผ่าเอาเม็ดออก ทางสมุนไพร ผลรสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ ดีเดือด คลั่ง เพ้อ คุ้มดีคุ้มร้าย ทำโลหิตให้เย็น ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก รักษามดลูกหลังอาการแท้งหรือคลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบ ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ใช้ผลแห้ง 12-16ผล น้ำหนักประมาณ 10 กรัม ต้มกับน้ำพอประมาณ เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3กรองน้ำดื่มเช้าเย็น จนกว่าจะหาย ผลแก่เป็นพิษ เมล็ด แก้ผิดสำแดง กินแก้ผลไม้เป็นพิษ รักษาโรคในการแท้งลูก ใช้ขับน้ำลายช่วยย่อยอาหาร ราก รสขม แก้ไข บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ดับพิษโลหิตรากแห้งบดผสมน้ำร้อนใช้ทางถูนวดบริเวณที่ปวดเมื่อย ใบ น้ำคั้นใบใช้หยอดตา แก้อักเสบ แก้พิษของบาดทะยัก เถา บำรุงน้ำดี แก้ไข้ เจริญอาหารถอนพิษผิดสำแดง ดีฝ่อ ดีเดือด ดับพิษโลหิตทั้งห้า บำรุงธาตุ แก้ไขจับสั่นรักษมดลูกหลังจากการคลอดบุตร บำรุงน้ำนมฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว เมื่อฉีดหรือป้อนสารสกัดผลแห้งด้วยแอลกอฮอล์-น้ำ (1:1) ในขนาด10 กรัม/กิโลกรัม ไม่เป็นพิษ

ตัวอย่างพืชที่มีคุณสมบัติใช้ไล่ยุงหรือป้องกันยุงกัดได้ เช่น

มะกรูด
ชื่อวิทยาศาสตร์
Citrus hystri
ลักษณะ
มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบหนาและมีรอยคอดตรงกลาง ดอกสีขาว ผิวของผลมะกรูดขรุขระเป็นปุ่มปมทั้งลูก น้ำในลูกมีรสเปรี้ยว มีหนามแหลมยาว ตามลำต้นและกิ่ง
ส่วนที่ใช้
ผล
วิธีใช้
นำผิวของผลมะกรูดสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำ โดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้
ไพลเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Zingiber cassumunar
ลักษณะ
ไพลเหลืองเป็นพืชหัว หัวเป็นแง่งโตติดกันเป็นพืด ใบเล็กยาว ปลายแหลม
ส่วนที่ใช้
หัว
วิธีใช้
นำหัวไพลเหลืองสดมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง แต่มีข้อเสียคือทำให้ผิวหนัง ติดสีเหลือง ล้างออกยาก
สะระแหน่
ชื่อวิทยาศาสตร์
Mentha arversis
ลักษณะ
สะระแหน่เป็นพืชเลี้อยตามพื้นดิน ลำต้นสีแดงเข้ม ใบกลมขนาดหัวแม่มือ ใบค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบและมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ ใบ
วิธีใช้
ขยี้ใบสะระแหน่สดทาถูที่ผิวหนังโดยตรง
กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Allium sativum
ลักษณะ
กระเทียมเป็นพืชหัว ประกอบด้วยกลีบเล็กๆ เกาะกัน โดยมีเยื่อบางๆ สีขาวหุ้มหัวไว้เป็นชั้นๆ ใบยาว แข็งและหนา ดอกเป็นช่อ เล็กๆมีสีขาวรวมกันเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายก้านดอก
ส่วนที่ใช้
หัว
วิธีใช้
นำหัวกระเทียมสดมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง หรือจะใช้หัวกระเทียมสด ทาถูที่ผิวหนังโดยตรงก็ได้
กะเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ocimum sanotum
ลักษณะ
กะเพราเป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นและใบมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ที่นิยมปลูกตามบ้านมี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว ใบสีเขียว และ กะเพราแดง ใบมีสีออกแดงเลือดหมู
ส่วนที่ใช้
ใบ
วิธีใช้
ขยี้ใบสดหลายๆ ใบวางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันกะเพราที่ระเหยออกมาจากใบจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้ หรือจะขยี้ใบสดแล้วทาถู ที่ผิวหนังโดยตรงก็ได้ แต่กลิ่นน้ำมันกะเพรานี้ระเหยหมดไปค่อนข้างเร็วจึงควรหมั่นเปลี่ยนบ่อยครั้ง
ว่านน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Acorus calamus
ลักษณะ
ว่านน้ำเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมหนองน้ำหรือบริเวณที่ชื้นแฉะ เหง้าเป็นเส้นกลมหนา สีขาวออกม่วง เจริญงอกงามตามยาวขนานกับ ผิวดิน รากเล็กเป็นฝอย ใบแตกจากเหง้า ลักษณะเป็นเส้นตรง ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ เห็นเส้นกลางใบชัดเจน ช่อดอกทรง กระบอกสีเหลืองออกเขียว
ส่วนที่ใช้
เหง้า
วิธีใช้
หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง
แมงลัก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ocimum citratum
ลักษณะ
แมงลักเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 60-70 เซนติเมตร ดอกสีขาว เป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง
ส่วนที่ใช้
ใบ
วิธีใช้
ขยี้ใบสดทาถูที่ผิวหนัง
ตะไคร้หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cymbopogon nardus
ลักษณะ
ตะไคร้หอมขึ้นเป็นกอ ลักษณะคล้ายตะไคร้บ้านแต่ใบยาวกว่าและลำต้นมีสีแดง ดอกเป็นพวงช่อฝอย
ส่วนที่ใช้
ต้นและใบ
วิธีใช้
นำต้นและใบสดมาโขลกผสมกับน้ำ ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง หรือนำต้นสด 4-5 ต้น มาทุบแล้ววางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันตะไคร้หอมที่ระเหยออกมาจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้
ยูคาลิปตัส
ชื่อวิทยาศาสตร์
Eucalyptus citriodara
ลักษณะ
ยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นสูง ใบยาวรี ค่อนข้างหนา
ส่วนที่ใช้
ใบ
วิธีใช้
ขยี้ใบสดทาถูที่ผิวหนัง
ต้นไม้กันยุง
ต้นไม้กันยุงเป็นพันธุ์ไม้ที่ได้รับการพัฒนาโดยนักพืชสวนชาวดัทช์ Dirk van Leenen ซึ่งใช้ วิธีการทางพันธุ์วิศวกรรมระหว่างพันธุ์ไม้ 2 ตระกูล คือ อาฟริกัน เจอราเนียม (African Geranium) และตะไคร้หอม (Citronella) ต้นไม้กันยุงจึงมีลักษณะคล้ายกับต้นเจอราเนียม แต่จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆของต้นตะไคร้หอม เนื่องจากน้ำมันตะไคร้หอมมีคุณสมบัติในการไล่ยุง (เป็น repellent) ต้นไม้กันยุงนี้จึงสามารถ ไล่ยุงได้เช่นกัน แต่ประสิทธิภาพจะขึ้นอยู่กับขนาดของต้นไม้และพื้นที่ที่ใช้งาน เช่น ต้นไม้กันยุง อายุประมาณ 2 เดือน จะมี ความสูงจาก ผิวดินประมาณ 6 นิ้ว กลิ่นน้ำมันที่ระเหยออกมาจากต้นไม้จะสามารถไล่ยุงได้ในพื้นที่ประมาณ 100 ตารางฟุต เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ใน ต้นไม้กันยุงจะมีสารอยู่สองชนิด คือ สารที่มีคุณสมบัติเป็นสารดึงดูดยุง (attractant) และสารไล่ยุง (repellent) ต้นไม้กันยุงที่ยังเล็กจะมี สารดึงดูดยุงมากกว่าสารไล่ยุง ต่อเมื่อโตขึ้นสารดึงดูดยุงจะค่อยๆลดปริมาณลง จนสารไล่ยุงสามารถแสดงคุณสมบัติได้เต็มที่
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pelargonium citrosum
ลักษณะ
เป็นไม้พุ่ม ใบแตกออกจากทั้งตายอดและตาข้าง ขอบใบหยัก
ส่วนที่ใช้
ใช้ทั้งต้นโดยจะปลูกเป็นไม้ประดับ ในขณะเดียวกันก็จะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้
วิธีใช้
วางกระถางที่ปลูกต้นไม้กันยุงไว้ในห้อง สามารถไล่ยุงได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ต้นไม้ก็ต้องการแสงแดดเพื่อการสังเคราะห์แสง จึงควรนำต้นไม้ไปรับแสงแดด อย่างน้อยวันละ 4 ชั่วโมงและรดน้ำให้ชุ่มในเวลาเช้า หากแสงแดดไม่จัด ควรให้น้ำพอสมควรเพื่อ ป้องกันมิให้รากเน่า

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ตำลึง

ตำลึง ไม่มีใครไม่รู้จักตำลึง ตำลึงนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆอีกว่า ผักแคบ ผักตำนิน ตำนิน สี่บาท แคเด๊าะ ชื่อสามัญเรียก Ivy Gourd เป็นไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี เถาแก่ของตำลึงใหญ่และแข็ง เถากลมสีเขียวตามข้อมีหนวดหรือมือจับไว้ยึดเกาะหลักและต้นไม้อื่น .ใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ ใบรูปร่างคล้าย 5 เหลี่ยม ขอบใบเว้าเข้าเล็กน้อยหรือเว้าลึก ใบสีเขียวเรียบไม่มีขน ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกจากบริเวณซอกใบ ดอกแยกเพศกันอยู่คนละดอก ผลตำลึงมีรูปร่างกลมรีคล้ายแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลอ่อนมีสีเขียวลายขาวเมื่อแก่มีสีแดงสด
ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลอ่อน
การปรุงอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อน นำไปลวกและนึ่งเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก และนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง แกงจืด ผัด ผลอ่อน ผลแก่ นำไปดองรับประทานกับน้ำพริกหรือปรุงแกงได้ ใบและเถาของตำลึง รสเย็น เป็นผักที่เหมาะสมในการรับประทานช่วงฤดูร้อน จะช่วยผ่อนคลายความร้อน ตำลึงใบที่ 100 กรัมนั้น ให้วิตามินเอที่มากถึง 18,608 หน่วยสากล

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ผักใหม่โครงการหลวง วิจัยแก้ปัญหาราคาตกต่ำ

6สุกัญญา ศุภกิจอำนวยมูลนิธิโครงการหลวง หน่วยงานที่ให้ความสำคัญ กับการวิจัยและพัฒนา พันธุ์พืชผัก-ผลไม้อย่างต่อเนื่อง ทุกๆ ปีจะมีผลผลิตหน้าตาแปลกๆ ออกสู่ตลาด เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา ราคาผลผลิตตกต่ำ ทดแทนการนำเข้า ปีนี้ก็เช่นกัน ผัก 6 ชนิด ออกมาอวดโฉม ในซูเปอร์มาร์เก็ต ภายใต้เครื่องหมายการค้า 'ดอยคำ' งานด้านการวิจัยและพัฒนา จัดเป็นวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งมูลนิธิโครงการหลวง โครงการส่วนพระองค์ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2512 นับถึงวันนี้ย่างเข้าสู่ปีที่ 35 เพื่อวิจัยพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่สูง ทดแทนพืชเสพติดซึ่งเคยเป็นปัญหาในอดีต การนำเกษตรกรมาเข้าร่วมโครงการ ยังช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้กับพวกเขา ปัจจุบันโครงการหลวงมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการกินพื้นที่หลายหมื่นไร่ กระจายตามศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 37 แห่ง ครอบคลุม 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และแม่ฮ่องสอน โดยมีสถานีวิจัย 4 แห่ง ที่อ่างข่าง ปางดะ อินทนนท์ และขุนวาง ผลจากการวิจัยและพัฒนา ทำให้ทุกๆ ปี โครงการหลวงสามารถวิจัยพืชผักเมืองหนาวใหม่ๆ ออกสู่ตลาดไม่ขาด ภายใต้เครื่องหมายการค้า 'ดอยคำ' ผ่านช่องทางการจำหน่ายในร้านดอยคำ และซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่เกือบทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็น แม็คโคร โลตัส คาร์ฟูร์ ท็อปส์ถือเป็นการผูกการผลิตไว้กับการตลาดไว้อย่างครบครันในปีนี้ก็เช่นกัน โครงการหลวงได้เปิดตัวผักใหม่ 6 ชนิด ได้แก่ แตงหอม, ดอกกุยช่ายไต้หวัน, มะระหยกดอยคำ, มะเขือเทศเชอรี่เหลือง, แตงกวายุโรป และคะน้าเห็ดหอม ในงานโครงการหลวงเฉลิมพระเกียรติมหาราชินีนาถ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคค่อนข้างดีอัญชัญ ชมภูพวง นักวิชาการผัก หัวหน้าโครงการงานวิจัยผักใหม่ โครงการหลวง บอกว่า สาเหตุหนึ่งของการวิจัยผักใหม่ทดแทนผักชนิดเดิมๆ เพื่อต้องการแก้ปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่คุ้มค่าในการลงทุนของเกษตรกร อีกทั้งต้องการสร้างความหลากหลายให้กับผู้บริโภค'ของเดิมปลูก เกษตรกรต้องใช้พื้นที่มาก ขาดทุนไม่คุ้มค่าปุ๋ย ยา พอโครงการหลวงพัฒนาพืชผักใหม่ ทำให้เกษตรกรใช้พื้นที่ปลูกน้อยลง ปลูกผักที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น' ทุกครั้งที่มีการพัฒนาผักใหม่ จะสามารถขยับราคาขายเพิ่มขึ้น 20-30% เลยทีเดียว เธอบอกพืชผักเหล่านี้ยังทดแทนการนำเข้าผักเมืองหนาว ซึ่งมีราคาสูงเมื่อเทียบกับราคาจำหน่ายผักของโครงการหลวง ทว่ากว่าจะวิจัยผักใหม่ๆ ได้แต่ละสายพันธุ์ กลับไม่ใช่เรื่องง่าย กินเวลาในการวิจัยไปจนถึงนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกจนสามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ อย่างน้อย 2 ปี บางสายพันธุ์พัฒนานานถึง 3 ปีนักวิจัยจึงต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมากเพื่อรอคอยความสำเร็จเธอ เล่าว่า ขั้นตอนการวิจัย เริ่มจากการนำเข้าพันธุ์ผักจากต่างประเทศ ในสายพันธุ์ที่ต้องการนำมาวิจัยและพัฒนาให้สามารถปลูกได้ในพื้นที่ภาคเหนือของไทย ด้วยการทดสอบสายพันธุ์ โดยการนำไปปลูกในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศที่มีความสูงแตกต่างกันจากระดับน้ำทะเล และในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เพื่อสังเกตความเหมาะสมด้านผลผลิต รสชาติ สีและขนาด ก่อนจะสรุปว่าพื้นที่ใดเหมาะสมต่อการเพาะปลูกมากที่สุด 'เราต้องทดลองปลูกหมดเป็นคอร์พ ในหน้าร้อน หนาว ฝน จนพบว่าการปลูกผักในหน้าหนาวช่วงเดือน พ.ย.-ก.ย.ผักจะปลูกง่ายและมีคุณภาพดี ต่างกับเมื่อเข้าหน้าร้อนหรือฝน คุณภาพผลผลิตจะต่ำ โดยเฉพาะในหน้าฝนจะต้องมีเทคนิคการเพาะปลูกภายใต้โรงเรือน' ในขั้นตอนการเพาะปลูก เจ้าหน้าที่จะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะปลูกให้กับตัวแทนเกษตรกร 4-5 คน ก่อนที่พวกเขาจะกระจายความรู้ที่ได้รับไปยังเกษตกรรายอื่น โดยเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในทุกขั้นตอนการเพาะปลูกตั้งแต่การเตรียมปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธุ์ ให้เป็นไปตามแผนการผลิตของโครงการหลวงเธอยังไล่เรียงถึงผักใหม่ทั้ง 6 ชนิด ซึ่งโครงการหลวงภูมิใจนำเสนอออกสู่ตลาด เริ่มจาก มะเขือเทศเชอรี่เหลือง ซึ่งเป็นงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากปกติจะมีสีแดง ซึ่งมีจำหน่ายอยู่เกลื่อนตลาด ทำให้ราคาจำหน่ายต่ำมาก ทำอย่างไรจะทำให้แหวกแนว ?เรื่อง 'สี' และ 'รสชาติ' เป็นคำตอบที่ได้ จนเป็นที่มาของ มะเขือเทศเชอรี่เหลือง รสชาติหวาน กรอบ เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดมากเพราะไม่มีคู่แข่งขัน โดยปัจจุบันปลูกอยู่ในระดับความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์และขุนวางคะน้าเห็ดหอม เป็นคะน้าซึ่งมีลักษณะแปลกไป ก้านใหญ่ อวบ ใบมีกิ่งหยักเห็ดหอม ซึ่งปรับปรุงพันธุ์มาจากคะน้าจีน ปัจจุบันโครงการหลวงได้พัฒนาพันธุ์ทั้งคะน้าฮ่องกง และคะน้ายอดดอยคำ แต่กลับพบว่า คะน้าเห็ดหอมมีรสชาติดีกว่าคะน้าทั่วไป ซึ่งใช้เวลาพัฒนาพันธุ์ไม่นาน เนื่องจากเป็นการต่อยอดงานวิจัยคะน้าเดิมที่มีอยู่ งานวิจัยคะน้าเห็ดหอมยังพบว่า การปลูกคะน้าในที่สูงจะทำให้ไฟเบอร์ (กากใย) น้อยลง เนื่องจากในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นจะทำให้การเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแป้งทำได้ช้ากว่าแตงหอม ใช้เวลาทดสอบสายพันธุ์นานถึง 3 ปี ทั้งสายพันธุ์อิตาลี สหรัฐ ญี่ปุ่น และไต้หวัน กว่าจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยสรุปที่จะใช้สายพันธุ์จากญี่ปุ่นและไต้หวันมาผสมกัน พันธุ์ที่นำมาปลูกชอบอากาศเย็น ต่างจากแตงส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นพืชกึ่งร้อนกึ่งหนาว แตงหอมที่พัฒนาขึ้นจะมีกลิ่นหอม รสหวาน ผิวเป็นตาข่ายลายนูน ขนาด 1.2 -1.5 กก.ต่อผล ปลูกอยู่บนพื้นที่สูง 700 เมตร จากระดับน้ำทะเล ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่'แตงหอมสายพันธุ์ญี่ปุ่นจะให้ผลผลิตขนาดใหญ่มากหนักเกือบ 2 กก. ซึ่งเราคิดว่าใหญ่เกินไปที่จะรับประทานครั้งเดียวหมด จึงวิจัยให้มีขนาดเล็กลงสามารถทานครั้งเดียวหมด เหมือนกับความพยายามที่จะวิจัยพันธุ์ฟักทองอยู่ในขณะนี้ที่กำลังส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก'ดอกกุยช่ายไต้หวัน เป็นผักที่คนไทยรู้จักมานาน แต่คุณภาพของกุยช่ายที่ขายกันอยู่ตามท้องตลาดมีจะก้านแข็ง เหนียว เคี้ยวไม่ขาด ที่มักเรียกกันว่า 'ดอกไม้กวาด' แต่กลับเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการลดคอเลสเตอรอลในเลือด แต่คนไม่ชอบทานเพราะแข็งนี่คือโจทย์ที่นักวิจัยโครงการหลวงต้องตีให้แตกพันธุ์กุยช่ายไต้หวันของโครงการหลวง เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์กุยช่ายไต้หวัน ซึ่งสามารถแก้ขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นให้หมดไป ปลูกอยู่ที่ความสูง 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล บนสถานีวิจัยหลวงปางดะ 'เราวิจัยพบว่า ถ้านำกุยช่ายไต้หวันไปปลูกในพื้นที่สูงมาก จะทำให้ผลผลิตลดลงถึง 50% เพราะกุยช่ายเป็นพืชกึ่งร้อนกึ่งหนาวนิดๆ พันธุ์นี้ใช้เวลาวิจัยไม่นานเพราะเป็นพืชที่มีอยู่ในบ้านเราอยู่แล้ว พื้นที่ 5-6 ไร่ ให้ผลผลิตมากถึงสัปดาห์ละ 2 ตัน โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน ดอกกุยช่ายยังใช้ทำดอกไม้ประดับได้'มะระหยกดอยคำ เป็นพันธุ์ที่โครงการหลวงพัฒนาต่อยอดจากมะระขาว ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่โครงการหลวงพัฒนาอยู่แล้วมาผสมกับพันธุ์ไต้หวัน ให้สีเขียว ความขมน้อยกว่า รสชาติดีกว่า สีเขียวยังให้คลอโรฟิลด์เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ปลูกอยู่ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะป๊อก สูงจากระดับน้ำทะเล 500-600 เมตร มีกำลังการผลิต 500 กก.ต่อสัปดาห์แตงกวายุโรป จะแตกต่างจากแตงกวาญี่ปุ่น ซึ่งมีผิวเป็นตุ่ม แตงกว่ายุโรปผิวจะเรียบมีทั้งขนาดผลสั้นและผลยาว พื้นที่เดิมปลูกอยู่ในแถบยุโรป ปลูกมากในฮอลแลนด์ รสชาติกรอบให้ความหวานค่อนข้างดี ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างทดสอบพันธุ์ใหม่เพิ่มเติม ผลผลิตจึงยังไม่นิ่ง ประมาณ 500 กก.ต่อสัปดาห์ ปลูกอยู่ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงดอยอินทนนท์ และแม่สาใหม่

การปลูกกุยช่ายขาว

ในการปลูกกุยช่ายขาวนั้น มีความสัมพันธ์กับการปลูกกุยช่ายเขียว คือ ในกอเดียวกันจะต้องปลูกกุยช่ายเขียวก่อน เมื่อตัดกุยช่ายเขียวแล้วจึงปลูกกุยช่ายขาวต่อ โดยทำสลับกัน ดังนี้
1. หลังจากตัดกุยช่ายเขียวแล้ว นำกระถางดินเผาที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ความยาว 40 เซนติเมตร มาครอบกอกุยช่ายไว้ไม่ให้ถูกแสงแดด แล้วมุงด้วยตาข่ายพรางแสง โดยให้ตาข่ายสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร 2. รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และรดน้ำหมักชีวภาพทุก 7 วัน 3. ประมาณ 8-11 วัน จะได้กุยช่ายขาวที่มีขนาดความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร จึงสามารถตัดจำหน่ายได้ 4. หลังจากตัดกุยช่ายขาวแล้ว ให้รื้อตะข่ายพรางแสงออก และไม่ต้องครอบด้วยกระถางดินเผา 5. รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ตามด้วยน้ำหมักชีวภาพทุก 7 วัน รอประมาณ 45 วัน จึงตัดกุยช่ายเขียว และหลังจากนั้นจึงทำเป็นกุยช่ายขาว ทำสลับกันเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาต้นกุยช่ายให้แข็งแรงนั้น เกษตรกรควรหมั่นรดน้ำทุกๆ วัน เช้า-เย็น ใช้บัวรดน้ำที่มีรูขนาดเล็ก ไม่ควรรดน้ำด้วยสายยาง และควรปรับปรุงบำรุงดิน โดยนำขี้อ้อยและปุ๋ยขี้ไก่มาผสมใส่ลงในแปลงเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยให้กุยช่ายเติบโตเร็ว สมบูรณ์ และหลังจากเก็บกุยช่ายแล้ว ควรนำมาล้างน้ำให้สะอาด และบรรจุใส่ถุงเพื่อจำหน่ายต่อไป
เทคนิคการขยายพันธุ์กุยช่ายด้วยเมล็ด
การปลูกกุยช่ายที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ข้อสำคัญจะอยู่ที่ขั้นตอนการเพาะเมล็ด หากเกษตรกรขาดความรู้พื้นฐานก็จะเพาะเมล็ดไม่ขึ้นหรือขึ้นแบบไม่สม่ำเสมอ ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องมีการเตรียมดินที่ดี มีการฉีดหรือหว่านยาฆ่าแมลงไว้ในแปลงเพาะกล้า และต้องเตรียมเมล็ดพันธุ์ด้วยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ใส่ถุงผ้าไปแช่น้ำไว้ให้ชุ่ม แล้วพักไว้ในที่ร่มชื้นจนกุยช่ายมีรากงอกจากเมล็ดเสียก่อน นำเมล็ดไปหว่านลงในดินที่เตรียมไว้ ให้น้ำบ่อยๆ แต่อย่าให้มากจนเกินไป ต้นจะเริ่มแทงยอดขึ้นมา ใช้เวลาประมาณ 8-10 วัน
ระยะแรกๆ ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี รอจนต้นสูงประมาณ 3-4 เซนติเมตร หรือใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงค่อยเริ่มให้ปุ๋ยเคมีในปริมาณน้อยๆ ประมาณ 20 วันต่อครั้ง กระทั่งสามารถนำไปแยกปลูกในแปลงใหญ่

กุยช่าย...ผักสมุนไพร สร้างรายได้

ต้นกุยช่ายจัดเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท ปัจจุบัน กระแสความนิยมการบริโภคพืชผักสมุนไพรมีค่อนข้างสูง กุยช่ายจึงเป็นผักที่มีผู้ให้ความสนใจบริโภคกันเป็นจำนวนมาก เพราะกุยช่ายนอกจากจะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายดีขึ้นแล้ว ยังช่วยในเรื่องระบบทางเดินอาหาร ในการปลูกกุยช่ายนั้น ผู้ประกอบการควรเรียนรู้วิธีการและเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้กุยช่ายที่สมบูรณ์ แข็งแรง
ขั้นตอนการปลูกกุยช่าย
1. เริ่มต้นด้วยการเตรียมดิน โดยทำการยกแปลงให้สูงขึ้นขนาด 1.20 เมตร ส่วนความยาว กำหนดตามต้องการ
2. ปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ขี้อ้อย 1 กระสอบปุ๋ย กับปุ๋ยขี้ไก่ 1 กระสอบปุ๋ย ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปใส่ในแปลงพื้นที่ขนาด 5 ตารางเมตร
3. จัดหาพันธุ์กุยช่ายมาปลูก ระยะปลูกห่างกันประมาณ 25-30 เซนติเมตร (แปลงกว้าง 1.20 เมตร สามารถปลูกได้ 4 แถว)
4. รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และรดด้วยน้ำหมักชีวภาพทุก 7 วัน

การปลูกกุหลาบ

พันธุ์
กุหลาบที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทซึ่งถ้า แบ่งออกโดยสังเขปจะได้ดังนี้
1. กุหลาบตัดดอกหรือไฮบริดที (Hybrid Tea หรือ HT)J ปกติมัก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวมีขนาดโต กลีบดอกซ้อน พุ่มต้นตั้งตรงสูงประมาณ 1-2 เมตร กุหลาบที่มีขายทั่วไป ตามท้องตลาดขณะนี้มักจะเป็นกุหลาบประเภทนี้ อย่า งไร ก็ตาม พันธุ์ ไฮบริดที นั้น มิได้ใช้บลูกเป็นไม้ตัดดอกได้ดีทุกพันธุ์ ดังนั้น จำเป็น ต้องคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละท้องที่ ลักษณะที่เหมาะสมสำหรับจะใช้ เป็นพันธุ์สำหรับตัดดอก คือ 1. แข็งแรง ต้นโต เลี้ยงง่ายและเจริญเติบโตได้ดี2. ออกดอกสม่ำเสมอไม่โทรมไวเมื่อถูกตัดดอกไปมาก ๆ3. ทนต่อโรคและแมลงได้ดีพอสมควร4. ลำต้นตั้งตรง ซึ่งจะทำให้ปลูกได้ชิดกันเป็นการประหยัดเนื้อที่5. ให้กิ่งก้านยาวตรง มีหนามน้อย ใบงามสมดุลกับกิ่ง6. ฟอร์มดอกดี ทรงดอกยาวแบบแจกันหรือปลายกลีบดอกแหลม7. กลีบดอกไม่ซ้อนหนาเกินไปจนดอกบานไม่ออก8. กลีบดอกหนา ทนต่อการบรรจุหีบห่อและขนส่ง9. ดอกมีสีสะดุดตาและไม่เปลี่ยนสีเมื่อดอกโรย10. ไม่เหี่ยวเฉาง่ายหลังจากตัดแล้ว11. ดอกมีกลิ่นหอม (ถ้าเป็นไปได้)
พันธุ์เรดมาสเตอร์พีช พันธุ์แกรนด์มาสเตอร์พีช
ปัจจุบันกุหลาบที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอกในประเทศไทยมีอยู่มากมายหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้ปลูกมีดังนี้
พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ พันธุ์บราโว. เรดมาสเตอร์พีช, คริสเตียนดิออร์, โอลิมเปียด, นอริค้า, แกรนด์มาสเตอร์พีช, ปาปามิลแลนด์, เวก้า
พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ พันธุ์คิงส์แรนซัม, ซันคิงส์, เฮสมุดสมิดท์,นิวเดย์ โอรีโกลด์ และเมลิลอน
พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ พันธุ์ซันดาวน์เนอร์, แซนดรา, ซุปเปอร์สตาร์หรือทรอพปิคานา
พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์มิสออลอเมริกาบิวตี้ หรือมาเรีย, คาสลาส, ไอเฟลทาวเวอร์, สวาทมอร์, เฟรนด์ชิพ, เพอร์ฟูมดีไลท์, จูวังแซล, เฟิร์สท์ไพรซ์, อเควเรียส, ซูซานแฮมเชียร์
พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ไวท์คริสต์มาส เอทีนา
พันธุ์ดอกสีอื่นๆ ได้แก่ พันธุ์แยงกี้ดูเดิ้ล, ดับเบิ้ลดีไลท์, เบลแอนจ์
นอกจากนี้ยังมีกุหลาบสำหรับเด็ดดอกร้อยพวงมาลัย เช่น กุหลาบพันธุ์ฟูซิเลียร์ ซึ่งมีดอกสีส้ม
พันธุ์นิวเดย์ พันธุ์มิสออลอเมริกันบิวตี้
พันธุ์เพอร์ฟูมดีไลท์
2. กุหลาบพวง หรือ ฟลอริบันด้า ( Foribunda หรือ F.) กุหลาบพวงมีความแข็งแรงทนทานกว่ากุหลาบตัดดอก ออกดอกดกแต่ดอกไม่ใหญ่เท่ากับกุหลาบตัดดอกแต่มีครบทุกสี และออกดอกเป็นช่อทีละหลาย ๆ ดอก จึงนิยมเรียกว่ากุหลาบพวง และมักบานพร้อมกัน ดอกมีขนาดเล็ก พุ่มต้นตั้งตรงสูง ประมาณครึ่งเมตรถึง 1 เมตร เหมาะสมที่จะปลูกในแปลงประดับและในกระถางเช่น พันธุ์ฟูซีเลียร์, พันธุ์แองเจลเฟส
3. ประเภทแกรนดิฟลอร่า (Grandiflora หรือ Gr. ) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างกุหลาบตัดดอก และกุหลาบพวง มีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว แต่ดอกเล็กกว่ากุหลาบตัดดอก มีก้านยาว ต้นโต สูง และแข็งแรง เช่ น พันธุ์คาเมล็อท, พันธุ์คาเสทไนท์
4. กุหลาบ หรือ มินิเอเจอร์ (Miniature หรือ Min.) เป็นกุหลาบที่มีขนาดพุ่มต้นเล็ก สูง 1- 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวงและดอกมีขนาดเล็ก นิยมปลูกประดับแปลง และใช้เป็นไม้กระถาง เช่น พันธุ์เบบี้ มาสเคอร์เหรด
5. กุหลาบเลื้อย หรือ ไคลมเบอร์ (Climher หรือ Cl.) กุหลาบชนิดนี้ลำต้นสูงตรง นำไปเลื้อยพันกับสิ่งต่าง ๆ ได้ดอกมีทั้งเป็นดอกขนาดใหญ่ และดอกเป็นพวง เช่น พันธุ์ดอนจวน, พันธุ์ค็อกเทล
6. ประเภทโพลีแอนท่า (Polyantha หรือ Pol.) เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างพันธุ์โรซ่า มัลติฟอร่า กับ โรซ่า ไชเนนซิสมีขนาดพุ่มต้นเตี้ย แข็งแรงและทนทานมาก ออกดอกเป็นพวงคล้ายกุหลาบพวง ลักษณะดอกและต้นคล้ายกุหลาบหนูแต่จะแตกต่างกับกุหลาบหนูตรงที่กุหลาบโพลีแอนท่าจะมีหูใบที่มีลักษณะของพันธุโรซ่า มัลติฟลอร่า กุหลาบประเภทนี้ เช่น พันธุ์วายวอน ราเบีย
7. ประเภทแรมเบลอร์ (Rambler หรือ R) มีลำต้นยาวและอ่อนโค้งออกดอกเป็นพวง และดอกมีขนาดเล็ก เช่น พันธ์ไดโรที เปอร์กิน
8. กุหลาบพุ่ม หรือซรับโรส (Shrub หรือ S.) ได้แก่กุหลาบพันธุ์ป่าหรือลูกผสมของพันธุ์ป่า ซึ่งมีทรงต้นเป็นพุ่ม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กส่วนมากมีกลีบชั้นเดียว เช่น พันธ์โรซ่า นิติด้า, โรซ่า มัลติฟลอร่า, โรซ่า รูโกซ่า
การเตรียมดินและการปลูกถึงแม้กุหลาบจะปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่ต่างกันก็ย่อมทำให้ การเจริญเติบโตดีเลวต่างกันออกไป ดังนั้นก่อนปลูกควรเตรียมดินดังนี้
ในภาคกลางซึ่งมีสภาพดินค่อนข้างเหนียว และค่อนข้างเป็นกรดจัด ระดับ น้ำใต้ดินสูง เกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบจะนิยมปลูกแบบร่องสวน ซึ่งมีคูน้ำคั่นกลาง โดยเริ่มเตรียมดินในฤดูแล้ง คือจะต้องฟันดินและตากดินให้แห้ง เพื่อกำจัดวัชพืช ก่อน ในขณะที่ตากดินนี้อาจโรยปูนขาวลงไปด้วยก็ได้ เมื่อดินแห้งดีแล้วจึงกลับ หน้าดิน และชักดินในแต่ละแปลงให้มีขอบสูง ตรงกลางเป็นแอ่งเล็กน้อย ขนาด ของแปลงกว้างและยาวตามพื้นที่เดิมที่เคยปลูกผักมาแล้ว การวางระยะห่างของ ต้นที่จะปลูกอาจใช้ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร จำนวนแถวในแต่ละแปลงไม่ควร เกิน 3 แถว เพื่อความสะดวกในการตัดดอกและตัดแต่งกิ่งตรงแถวกลาง
สำหรับในภาคอื่นที่มีสภาพดินค่อนข้างร่วนหรือดินร่วนปนทราย อาจ ปลูกแบบเจาะหลุมปลูกหรือแยกแปลงปลูกก็ได้โดยวัดขนาดแปลงปลูกกว้าง 1 .20 เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร ความยาวของแปลงปลูกตามขนาดของพื้นที่ และใช้ ระยะปลูก 60 x60 เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นประมาณ 2,000 ต้นต่อไร่ (หรือ ทำแปลงปลูกกว้าง 1เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร และใช้ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์กุหลาบที่ขนาดของทรงพุ่มไม่แผ่กว้างมากนัก) ก่อนปลูกควรหว่าน ปูนขาวและไถพรวนตากดินไว้ให้แห้ง
กุหลาบสามารถปลูกได้ทั้งในดินที่เป็นกรดหรือด่าง แต่เจริญได้ดีในดิน ที่ค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย คือมี pH ประมาณ 4.5-6.5 ถ้าดินเป็นกรดมากให้เติม ปูนขาว 60-100 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางวา แต่ถ้าดินเป็นด่างก็ใส่กำมะถันผง 20-50 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางวา เมื่อเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว ให้ขุดหลุม ปลูกกว้างและลึก 30 x 30 เซนติเมตร (ถ้าเตรียมหลุมปลูกกว้างและลึกกว่านี้ จะ เป็นการดียิ่งขึ้น) จากนั้นก็จะใส่ปุ๋ยคอก เช่น ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้วัว ฯลฯ ประมาณหลุมละ 1 บุ้งกี๋ ใส่ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต หรือกระดูกป่นเป็นปุ๋ยรองก้นหลุม ๆ ละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงนำกิ่งพันธุ์กุหลาบซึ่งอาจจะเป็นกิ่งตอนหรือต้นติดตา ลงไปปลูก กลบดินที่โคนต้นให้กระชับและรดน้ำให้ชุ่ม
กิ่งพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ กิ่งตัดชำ และกิ่งตอนจะมีเกษตรกรบางรายที่ปลูกโดยใช้ต้นติดตา แต่มีน้อยราย
การให้น้ำกุหลาบกุหลาบเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง ปริมาณน้ำที่รดลงไปในดินปลูกควร กะให้น้ำซึมได้ลึกประมาณ 16-18 นิ้วและอาจเว้นระยะการรดน้ำได้คือ ไม่จำเป็น ต้องรดน้ำทุกวัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินปลูก) มีข้อควรจำอย่างยิ่งในการรดน้ำ กุหลาบคือ อย่ารดน้ำให้โดนใบเนื่องจากโรคบางโรคที่อยู่ตามใบหรือกิ่งจะแพร่ระบาด กระจายไปได้โดยง่าย การให้น้ำก็ไม่ควรให้น้ำกระแทกดินปลูกแรงๆ เพราะเม็ดดิน จะกระเด็นขึ้นไปจับใบกุหลาบ ทำให้เชื้อโรคบางชนิดที่อาศัยอยู่ในดินระบาดกลับ ขึ้นไปที่ต้นโดยง่ายและถ้าจำเป็นจะต้องรดน้ำให้เปียกใบควรจะรดน้ำในตอนเช้า
การใส่ปุ๋ยในระยะแรกของการปลูกจะเป็นระยะที่ต้นกุหลาบเจริญเติบโตสร้างใบ และกิ่ง ควรใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรตัวแรกคือไนโตรเจนสูง โดยใส่ทุก 15 หรือ 30 วัน อัตราการใส่ 1 กำมือต่อต้น ก่อนใส่ปุ๋ยควรมีการพรวนดินตื้นๆ อย่าให้กระทบ รากมากนัก แล้วโรยปุ๋ยให้รอบ ๆ ต้นห่างจากโคนต้น 4-6 นิ้วแล้วแต่ขนาดของ ทรงพุ่ม จากนั้นก็รดน้ำตามให้ซุ่ม (แต่อย่ารดน้ำจนโชก) เมื่อกุหลาบเริ่มให้ดอก ควรใช้ปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัสและโปแตสเซี่ยมสูงควบคู่กันไปเพื่อเร่งการออกดอก และทำให้ก้านดอกแข็งแรง นอกจากนี้อาจจะให้ปุ๋ยทางใบเพิ่มเติมก็จะเป็นการดี ข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกแล้วคือควรโรยปุ๋ยให้กระจายรอบ ๆ ต้น อย่างสม่ำเสมออย่าใส่เป็นกระจุก ๆ ที่จุดใดจุดหนึ่งเพราะอาจทำให้เกิดความเสียหาย ต่อต้นกุหลาบได้ เนื่องจากมีความเข้มข้นของปุ๋ยตรงจุดที่ใส่มากเกินไป
การป้องกันกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอาจจะใช้แรงงานคนเก็บถอนหรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชซึ่งมีทั้งชนิดคุม กำเนิดและชนิดที่ถูกทำลายต้นตาย (อัตราการใช้จะระบุอยู่ที่ฉลากของขวด) ข้อควรระวังในการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืชนี้คือ พยายามหลีกเลี่ยงที่จะฉีดพ่นสาร ให้ถูกต้นหรือใบกุหลาบและไม่ใช้ถังฉีดพ่นปะปนกับถังที่ใช้พ่นสารเคมีป้องกันกำจัด โรคและแมลง
การคลุมดินแปลงปลูกเนื่องจากกุหลาบเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง ดังนั้นสถานที่ปลูกกุหลาบจึงต้องเป็นที่โล่งแจ้งและจะต้องมีความชื้นสูงด้วย การ คลุมแปลงปลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็นส่าหรับการปลูกกุหลาบโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายใน ท้องถิ่นนั้นๆ เซ่น หญ้าแห้ง ฟาง เปลือกถั่วลิสง ซังข้าวโพด ชานอ้อย ขุยมะพ้าว แกลบ และขี้เลื่อย เป็นต้น ควรจำไว้ว่าวัสดุที่จะนำมาคลุมแปลงปลูกนี้ควรเป็น วัสดุที่เก่า คือ เริ่มสลายตัวแล้วมิฉะนั้นจะทำให้เกิดการขาดไนโตรเจนกับต้น กุหลาบ ดังนั้นถ้าไซ้วัสดุที่คลุมแปลงค่อนข้างใหม่ควรเติมปุ๋ยไนโตรเจนลงไปด้วย การคลุมแปลงนี้นอกจากจะช่วยรักษาความชื้นและอุณหภูมิรวมทั้งเพิ่มความโปร่ง ของดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินในแปลงปลูกแล้วยังช่วยป็องกันวัชพืชให้ขืน ช้าอีกด้วย
การตัดแต่งกิ่งการตัดแต่งกิ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกกุหลาบ ถ้าผู้ปลูกกุหลาบไม่มี การตัดแต่งกิ่งเลยก็จะทำให้ต้นกุหลาบเจริญเติบโตอย่างอิสระ แตกกิ่งก้านมาก เกินไป ทำให้ดอกมีขนาดเล็ก ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้น เกษตรกรจึง ควรมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นได้รูปทรง พุ่มต้นและโคนต้นโปร่งได้รับแสงแดด มากขึ้น ดอกที่ได้จะมี ขนาดใหญ่และมีคุณภาพดี นอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งยังช่วย กำจัดโรคและแมลงที่แอบแฝงอยู่ในพุ่มต้นได้ดีอีกด้วย รวมทั้งสามารถแต่งดิน ในแปลงปลูกได้สะดวก ทำให้กุหลาบที่ได้มีการตัดแต่งกิ่งแล้วเจริญเติบโตดีขึ้น
การตัดแต่งกิ่งกุหลาบสามารถ ทำได้ 2 แบบคือ
1. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เฑลือกิ่งไว้กับต้นยาว คือ ตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อย โดยให้เหลือกิ่งที่มีใบสมบูรณ์ไว้มากเพื่อให้มีอาหารเลี้ยงต้นมาก การตัดแต่งกิ่งมีหลักในการพิจารณาเลือกกิ่งที่จะต้องตัดออกคือกิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่ เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ที่เจริญเข้าหาทรงพุ่ม กิ่งที่ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ ควรจะต้องให้ตาที่อยู่บนสุดของกิ่งหันออกนอกพุ่มต้น เพื่อให้กิ่งที่แตกใหม่หัน ออกนอกทรงพุ่มด้วยและตัดกิ่งให้เฉียง 45 องศา สำหรับการตัดแต่งกิ่งแบบให้ เหลือกิ่งไว้กับต้นยาวนี้ใช้ได้กับกุหลาบที่ปลูกจากกิ่งตัดชำและกิ่งตอน

การตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นยาว
2. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เลือกกิ่งไว้กับต้นสั้น คือ ตัดแต่งกิ่งจนเหลือกิ่งบนต้นสูงจากพื้นดินประมาณ 30-45 เซนติเมตร แล้วเหลือกิ่งไว้ 3-4 กิ่งเท่านั้นการตัดแต่งกิ่งแบบนี้จะตัดแต่งได้เฉพาะต้นกุหลาบที่ปลูกจากต้นติด ตาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าต้นติดตานั้นมีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ตัดแต่งกิ่งแบบแรก แต่ต้องตัดเพิ่มเติมอีก คือ กิ่งแก่ที่ไม่ต้องการและกิ่งชักเกอร์ (กิ่งของต้นตอซึ่งเป็นกุหลาบ พันธุ์ป่า)
สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการตัดแต่งกิ่ง คือ ต้นฤดูฝน เมื่อตัดแต่ง กิ่งให้น้อยลงตามความต้องการแล้วควรใช้ปูนแดงผสมกับยากันรา หรือใช้สีน้ำมัน ทาบนรอยแผลที่ตัดเพื่อป้องกันการเน่าลุกลามของเชื้อราจากรอบแผลที่ตัด นอกจาก นี้ควรเก็บกิ่งและใบที่ตัดออก ทำความสะอาดแปลงให้เรียบร้อยด้วยแล้วจึง แต่งดินในแปลงปลูก คือ ไถพรวนหน้าดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี รวมทั้งใช้วัสดุ คลุมแปลงปลูกพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่มด้วย จะทำให้กุหลาบแตกตาได้เร็วและได้ต้น ที่สมบูรณ์
การตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น
การตัดดอกกุหลาบการตัดดอกกุหลาบเพื่อจำหน่ายนั้น ควรให้มีกิ่งเหลืออยู่อย่างน้อย 2 กิ่ง เสมอ (กิ่งที่มีใบย่อยครบ 5 ใบ) ไม่ควรตัดชิดโคนกิ่ง และเมื่อตัดดอกออกจาก ต้นแล้วให้รีบแช่ก้านดอกในน้ำทันทีเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำจากกิ่ง โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมตัดดอกในตอนบ่ายและเย็น หรืออาจตัดในตอนเช้าก็ได้ (เพื่อจะได้ส่งตลาดทันเวลา) แต่เนื่องจากดอกกุหลาบมีอายุการใช้งานสั้นและกลีบดอก ก็ช้ำได้ง่าย ฉะนั้นการตัดดอกกุหลาบในช่วงที่ยังไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น ถ้าตัดดอกตูมเกินไป ดอกก็จะไม่บานและคอดอกจะโค้งงอง่าย แต่ถ้าตัดดอกที่บานเกินไป ดอกกุหลาบจะบานเร็ว และมีอายุการปักแจกันสั้น
โรคและแมลงศัตรูกุหลาบ1. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดดำกลมบนใบ ส่วนใหญ่จะเป็นกับใบแก่จะทำให้ใบเหลืองและร่วงในเวลาต่อมา บางครั้งถ้าเป็นมากอาจ ลุกลามมาที่กิ่งด้วย ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ดูปราวิท ไดเทนเอ็ม-45 แคปแทน เบนเสท และเบนโนมิล
2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะเป็นกับยอดอ่อนและดอกอ่อนมีลักษณะเป็นปุยขาวคล้ายแป้งทำให้ส่วนของพืชที่เป็นโรคนี้เกิดอาการหงิกงอไม่เจริญเติบโตต่อไป ระบาดมากในฤดูหนาว ควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบนเสท ดาโคนิล และคาราแทน
3. โรคหนามดำ เกิดจากเชื้อราโดยเชื้อรานี้จะเข้าทำลายแผลที่เกิดจากรอยตัดหรือเด็ดหนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ ตามกิ่งก้าน ทำให้กิ่งก้าน เหี่ยวแห้งตายไปในที่สุดควรป้องกันโดยทาแผลจากรอยตัดด้วยปูนแดง
4. โรคใบจุดสีน้ำตาลหรือโรคตากบ เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดกลมสีน้ำตาลขนาด 1/4 นิ้ว แล้วจะเปลี่ยนเป็นวงกลมสีเทามีขอบสีม่วง-แดง ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยใช้สารเคมีเบนเสท ไดเทนหรือแบนแซดดี
5. โรคไวรัส เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการจะปรากฎให้เห็นที่ใบ โดยใบจะด่างเหลือง เมื่อพบว่าต้นกุหลาบเป็นโรคนี้ให้ถอนและเผาทำลายเสีย
1. หนอนเจาะดอก เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กซึ่งจะวางไข่อยู่ที่กลีบดอกด้านนอก เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวจะกัดกินดอกและอาศัยอยู่ในดอก ระบาดมากช่วงที่กุหลาบให้ดอกดกหรือในช่วงฤดูหนาว ควรป้องกันโดยใช้สารเคมี ประเภทดูดซึม เช่น ดิลดริน ฟอสดริน
2. หนอนกินใบ เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน มักวางไข่อยู่ใต้ใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะทำลายใบที่อาศัย บางชนิดทำลายเฉพาะผิวเนื้อใต้ใบทำให้ใบมีลักษณะโปร่งใสมองเห็นได้ชัดเจน สารเคมีที่ใซ้ได้ผลดี เช่น เอนดริน
3. หนอนเจาะต้น เป็นหนอนของผึ้งบางชนิดและหนอนของแมลงวันบางชนิด อาจจะเป็นหนอนของพวกต่อแตนด้วย หนอนชนิดนี้จะเจาะกินไส้กลาง และบริเวณท่อน้ำของกิ่งหรือต้น ทำให้กิ่งและต้นแห้งตาย ควรป้องกันกำจัดโดยการ ตรวจดูบริเวณรอยต่อระหว่างกิ่งแห้งและกิ่งดี หากพบตัวหนอนก็ทำลายเสียหรือ ป้องกันโดยการตัดแต่งกิ่งตามกำหนด
4. แมลงปีกแข็ง บางทีเรียกด้วงปีกแข็ง มีทั้งชนิดตัวสีดำและสีน้ำตาลขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืนระหว่าง 1-3 ทุ่ม โดยการกัดกินใบกุหลาบ ส่วนในเวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามกอหญ้า ป้องกัน โดยใช้สารเคมี เช่น คลอเดน หรือ เซพวิน
5. ผึ้งกัดใบ จะกัดกินใบกุหลาบในช่วงเวลากลางวัน สังเกตได้ที่รอยแผลมักจะเป็นรอยเหมือนถูกเฉือนด้วยมีดคมๆ เป็นรูปโค้งป้องกันได้เช่นเดียวกับแมลงปีกแข็ง
6. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูด มีสีน้ำตาลดำ ตัวอ่อนสีขาวนวลจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ดอกที่ถูกทำลายไม่บาน ระบาดมากในฤดูร้อน ป้องกันโดยการฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โตกุไทออน คลอเดนหรือนิโคตินซัลเฟต
7. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูดมักเกาะกินตามใบอ่อนหรือง่ามใบ ทำให้ใบหงิกงอ ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีกำจัดแต่ต้องผสมสารเคลือบใบลงไป ด้วยเพราะบนตัวเพลี้ยแป้งจะมีขนปุยสีขาวปกคลุม ซึ่งมีลักษณะเป็นมันจับน้ำ ได้ยาก
8. เพลี้ยหอย เป็นแมลงปากดูด มักเกาะทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงจากลำต้น จะสังเกตเป็นเป็นจุดสีน้ำตาลอยู่บนกิ่งของกุหลาบ เพลี้ยหอยนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวของมันจะมีเปลือกหุ้มหนาทำให้แมลงซึมเข้าถึงตัวได้ยาก ฉะนั้นวิธีกำจัดที่ได้ผลดีก็คือ ใช้น้ำมันทาหรือฉีดพ่นเคลือบตัวมันไว้ ทำให้เพลี้ยไม่มีทางหายใจ และตายในที่สุด แต่เมื่อเพลี้ยตายแล้วจะไม่หลุดจากลำต้นจะยังติดอยู่ที่เดิม
9. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด ทำลายพืชตรงบริเวณส่วนที่เป็นยอดอ่อนและใบอ่อน ทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี เช่น ฟอสดริน เอนดริน และพาราไธออน เป็นต้น
10. แมงมุมแดง เป็นแมงชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ แมลง ตัวมีขนาดเล็กมากเห็นเพียงจุดสีแดงอยู่ตามใต้ใบ โดยจะเกาะและดูดน้ำเลี้ยงจากใบที่ถูกทำลายนั้น ปรากฎเป็นจุดสีเหลืองซึ่งมองเห็นได้บนหลังใบ สำหรับสารเคมีที่ใช้กำจัดได้ผลคือ เคลเทน

วิธีการปลูกผักสวนครัว

1. การปลูกผักในแปลงปลูก มีขั้นตอน คือ
1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน
1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง
1.3 การปรับปรุงเนื้อดิน เนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
1.4 การกำหนดหลุมปลูก จะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิดผักต่าง ๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่แตกต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75 x 100 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น 5 x 5 เซนติเมตร เป็นต้น
2. การปลูกผักในภาชนะ
การปลูกผักในภาชนะควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือ
ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

วิธีการปลูกผักในภาชนะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี
2.1 เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก ซึ่งพืชที่ควรปลูกด้วยวิธีนี้ ได้แก่
- ผักบุ้งจีน - คะน้าจีน - ผักกาดขาวกวางตุ้ง - ผักกาดเขียวกวางตุ้ง - ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งไต้หวัน) - ตั้งโอ๋ - ปวยเล้ง -ผักกาดหอม - ผักโขมจีน - ผักชี - ขึ้นฉ่าย - โหระพา - กระเทียมใบ - กุยฉ่าย - หัวผักกาดแดง - กะเพรา - แมงลัก - ผักชีฝรั่ง - หอมหัวใหญ่
2.2 ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว ได้แก่
- หอมแบ่ง (หัว) - ผักชีฝรั่ง - กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก) - หอมแดง (หัว) - บัวบก (ไหล) - ตะไคร้ (ต้น) - สะระแหน่ (ยอด) - ชะพลู (ต้น) - โหระพา (กิ่งอ่อน) - กุยช่าย (หัว) - กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน) - แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน) หมายเหตุ มีบางพืชที่ปลูกด้วยหัว หรือส่วนของต้นก็ได้ ปลูกด้วยเมล็ดก็ได้ ดังนั้น จึงมีชื่อผักที่ซ้ำกันทั้งข้อ 1 และ 2
การปฏิบัติดูแลรักษา
การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่ จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่
1. การให้น้ำ การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า-เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก
2. การให้ปุ๋ย มี 2 ระยะ คือ
2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ปุ๋ยที่ใส่ควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่วก่อนปลูก เพื่อปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการอุ้มน้ำ และรักษาความชื้นของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชด้วย
2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2-3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบางๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ผักตายได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย หรือแอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้นและใบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล
3. การป้องกันจำกัดศัตรูพืช ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง โดยการกำจัดวัชพืช ให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนด เพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและแมลงระบาดมากควรใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่างๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่างๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสมน้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดา ถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจั๊กจั่น ให้ใช้น้ำยาล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวกมด หอย และทากให้ใช้ปูนขาวโรยบางๆ ลงบริเวณพื้นดิน

การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง
สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อนหรือ โตได้ขนาดแล้ว โดยยังคงเหลือลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่ จะสามารถงอกงาม ให้ผลได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพืชหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้างยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทานได้ในครอบครัวในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี
การบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ
การปลูกผักไว้รับประทานเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ได้บริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ แต่ทุกครอบครัวคงไม่สามารถปลูกผักทุกชนิดไว้รับประทานเองได้ ดังนั้นการต้องซื้อหาผักจากตลาดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ ทั้งนี้ผักต่างๆ เหล่านั้นอาจจะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างก็ได้ ดังนั้นควรมีการล้างผักให้ถูกวิธีและให้ปลอดภัยจากสารพิษมากที่สุด วิธีการล้างผักให้สะอาดเพื่อลดปริมาณสารพิษ สามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวกดังนี้
1. ลอกหรือปอกเปลือกแล้วแช่ในน้ำสะอาด นาน 5-10 นาที หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จะช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72
2. แช่น้ำปูนใสนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52
3. แช่ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์นาน 10 นาที (ไฮโดเจนเพอร์ออกไซด์ 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-50

4. แช่น้ำด่างทับทิมนาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ดผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-43
5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อกนาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39
6. แช่น้ำซาวข้าวนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38
7. แช่น้ำเกลือนาน 10 นาที (เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38
8. แช่น้ำส้มสายชูนาน 10 นาที (น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-36
9. แช่น้ำยาล้างผักนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 22-36
เทคนิคการปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ
1. ตระกูลแตงและตระกูลถั่ว ได้แก่ แตงกวา แตงโม แตงไทย ฟักทอง บวบ น้ำเต้า มะระ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก และถั่วอื่นๆ

- ผักต่าง ๆ เหล่านี้มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่ งอกเร็ว เช่น ผักประเภทเลื้อย ถ้าจะปลูกให้ได้ผลดีและดูแลรักษาง่ายควรทำค้าง
- วิธีการปลูก หยอดเมล็ดโดยหยอดในแปลงปลูก หรือภาชนะปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด
- เมื่อเมล็ดงอกมีใบจริง 3-5 ใบ หลังจากนั้นถอนแยกให้เหลือเฉพาะต้นที่แข็งแรง หลุมละ 2 ต้น
- ใส่ปุ๋ยยูเรียหลังเมล็ดงอก 2 อาทิตย์ เมื่อเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12
- ให้น้ำสม่ำเสมอ คอยดูแลกำจัดวัชพืช และแมลงต่าง ๆ
- เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 40-60 วัน หลังหยอดเมล็ด
2. ตระกูลกะหล่ำและผักกาด ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหัว กะหล่ำดอก และบร๊อกโคลี

- ผักตระกูลนี้มีเมล็ดค่อนข้างเล็ก บางชนิดมีราคาแพงมาก เพราะส่วนใหญ่ต้องสั่งเมล็ดมาจากต่างประเทศ
- วิธีปลูก หยอดเมล็ดเป็นหลุมๆ ละ 3-5 เมล็ด ห่างกันหลุมละ 20 เซนติเมตร หรือโรยเมล็ดบางๆ เป็นแถวห่างกันแถวละ 20 เซนติเมตร หลังหยอดเมล็ดหรือโรยเมล็ด 10 วัน หรือเมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2 ต้น หรือหากโรยเมล็ดเป็นแถวให้ถอนอีกระวังระยะต้นไม่ให้ชิดกันเกินไป
- ใส่ปุ๋ยยูเรียหลังจากถอนแยกหรือทำระยะปลูกแล้ว
- หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 10 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรียครั้งที่สอง
- อายุเก็บเกี่ยวผักแต่ละชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น คะน้า กวางตุ้ง เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 30-45 วัน ผักกาดหัว 45-55 วัน ผักกาดขาวปลี เขียวปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน หลังหยอดเมล็ด
- เมื่อเก็บเกี่ยวไม่ควรถอนผักทั้งต้น เก็บผักให้เหลือใบทิ้งไว้กับต้น 2-3 ใบ ต้นและใบที่เหลือจะสามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้อีก 2-3 ครั้ง
- ข้อควรระวัง ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ ผักตระกูลนี้มักมีปัญหาโรคแมลงค่อนข้างมาก ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด
3. ตระกูลพริก มะเขือ ได้แก่ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือพวง มะเขือเทศ

- ผักตระกูลนี้ควรมีการเพาะกล้าก่อนย้ายลงปลูกในแปลง
- การเพาะกล้า เตรียมดินในกะบะหรือในถุงพลาสติก
- หยอดเมล็ดในถุงเพาะ ถุงละ 3-5 เมล็ด ถ้าเพาะในกะบะเพาะ ควรเว้นระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร
- เมื่อเมล็ดงอกแล้วมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกเหลือต้นแข็งแรงสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น
- เมื่อกล้ามีใบจริง 5-6 ใบ หรือหลังเพาะกล้าประมาณ 30 วัน ย้ายกล้าลงแปลงปลูก
- เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ หรือเริ่มเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง
- เมื่อต้นเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 12-24-12
- อายุเก็บเกี่ยว มะเขือเทศประมาณ 50-60 วัน หลังย้ายกล้าและพริก มะเขือ ประมาณ 60-75 วัน หลังย้ายกล้า
4. ตระกูลผักชีและตระกูลผักบุ้ง ได้แก่ ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักบุ้ง

- ควรนำเมล็ดแช่น้ำก่อนปลูก ถ้าเมล็ดลอยให้ทิ้งไปและนำเมล็ดที่จมน้ำมาเพาะ
- หว่านเมล็ดในแปลง โดยจัดแถวให้ระยะห่างกัน 15-20 เซนติเมตร กลบดินทับบาง ๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร สำหรับขึ้นฉ่ายไม่ต้องกลบเมล็ด เพราะเมล็ดจะเล็กมากหากเตรียมดินละเอียดเมล็ดจะแทรกตัวลงไปในระหว่างเม็ดดินได้เอง
- ผักบุ้งจะงอกใน 3 วัน ผักชีประมาณ 4-8 วัน และขึ้นฉ่าย 4-7 วัน
- เมื่อกล้างอกมีใบจริง ถอนแยกและพรวนดินให้โปร่งเสมอจนเก็บเกี่ยว
- ผักบุ้งจีนเก็บเกี่ยวได้ภายใน 15-20 วัน ผักชี 45-60 วัน และขึ้นฉ่าย 60-70 วัน
- สำหรับผักชีและขึ้นฉ่ายไม่ชอบแสงแดดจัด อาจปลูกในที่ๆ มีร่มเงาได้ แต่สำหรับผักบุ้งจีน ต้องการแสงแดดตลอดวัน
5. ตระกูลโหระพา กะเพรา แมงลัก และตระกูลผักชีฝรั่ง ได้แก่ โหระพา กะเพรา แมงลักและผักชีฝรั่ง

- เตรียมดินให้ละเอียด หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง ใช้ฟางกลบหรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วโรยทับบางๆ รดน้ำตามทันทีด้วยบัวรดน้ำตาถี่
- เมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้าภายใน 7 วัน
- เมื่อกล้าอายุ 1 เดือน ถอนแยกจัดระยะต้นให้โปร่ง หรือใช้ระยะระหว่างต้น ประมาณ 20-30 เซนติเมตร
- โหระพา กะเพรา แมงลัก เก็บเกี่ยวได้หลังหยอดเมล็ด 45-50 วัน ผักชีฝรั่ง เก็บเกี่ยวได้หลังหยอดเมล็ด 60 วัน
- สำหรับโหระพา กะเพรา และแมงลัก ในระหว่างการเจริญเติบโต ให้หมั่นเด็ดดอกทิ้งเพื่อให้ลำต้นและใบเจริญเติบโตได้เต็มที่
- ผักชีฝรั่ง ตัดใบไปรับประทาน เหลือลำต้นทิ้งไว้จะสามารถเจริญเติบโตได้อีก

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การรับประทานพืชผักตามธาตุเจ้าเรือนในทฤษฎีแพทย์แผนไทย

พืชผักสำหรับคนธาตุดิน คือ คนที่เกิดเดือน 11 12 และ 1 หรือเดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม รสฝาดหวาน มัน และเค็ม เช่น ถั่วต่างๆ เผือก หัวมันเทศ ฟักทอง กล้วยดิบ ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะยม สมอไทย กระถินไทย ผักหวาน ขนุนอ่อน สะตอ ผักโขม โสน ขจร ผักเซียงดา ลูกเนี่ยงนก บวบเหลี่ยม บวบงู บวบหอม เป็นต้น
พืชผักสำหรับคนธาตุน้ำ คือ คนที่เกิดเดือน 8 9 10 หรือ หรือเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน รสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ มะยม มะกอก มะดัน กระท้อน ชะมวง ผักติ้ว ยอดมะกอก ยอดมะขาม มะอึก มะเขือเครือ มะแว้ง เป็นต้น
พืชผักสำหรับคนธาตุลม คือ คนที่เกิดเดือน 5 6 7 หรือเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน รสเผ็ดร้อน เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย โหระพา กะทือ ดอกกระเจียว ขมิ้นชัน ผักคราด ช้าพลู ผักไผ่ พริกขี้หนู สะระแหน่ หูเสือ ผักแขยง ผักชีลาว ผักชีล้อม ยี่หร่า สมอไทย กานพลู เป็นต้น
พืชผักสำหรับคนธาตุไฟ คือ คนที่เกิดเดือน 2 3 4 หรือเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม รสขม เย็น และจืด เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักกระสัง สายบัว ผักกาดจีน มะระ ผักปรัง มะรุม มะเขือยาว กระเจี๊ยบมอญ สะเดา ยอดฟักทอง มะเขือยาว กุยช่าย ฟักแฟง แตงทั้งหลาย
ทุกคนควรรับประทานอาหารและพืชผักหลากรสเพื่อบำรุงธาตุทั้ง 4 แต่ต้องเน้นธาตุเจ้าเรือนและธาตุที่เป็นจุดอ่อนสำหรับตัวเรา ซึ่งอาหารไทยนั้นมีหลายรสและสามารถปรับให้สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนหรืออาการของโรคได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันอาหารไทยได้รับความนิยมไปทั่วโลกก็เพราะรสอันหลากหลายและมีสรรพคุณด้วย เช่น
รสฝาด มีสรรพคุณแก้ในการสมานแผล แก้ท้องร่วง บิด บำรุงธาตุ เช่น ยอกจิก ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดฝรั่ง ผักกระโดน ยอดเสม็ด เป็นต้น
รสหวาน มีสรรพคุณซึมซาบไปตามเนื้อ ทำให้ชุ่มชื้น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย แต่ทานมากเกินไปจะแสลงโรคเบาหวาน เสมหะเฟื่อง แสลงบาดแผล เช่น เห็ด หน่อไม้ ผลฟักข้าว ผักขี้หูด เป็นต้น
รสมัน มีสรรพคุณแก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น บำรุงเยื่อกระดูก เป็นยาอายุวัฒนะ เช่น สะตอ เหนียง บัวบก ขนุนอ่อน ถั่วพู ฟักทอง เป็นต้น
รสเปรี้ยว มีสรรพคุณแก้ทางเสมหะ ฟอกโลหิต ระบาย เช่น ยอดมะขามอ่อน ยอดชะมวง มะเฟือง มะเขือเทศ เป็นต้น
รสขม มีสรรพคุณบำรุงโลหิตและน้ำดี เช่น มะระขี้นก ยอดหวาย ดอกขี้เหล็ก ใบยอ สะเดา ผักโขม ยอดมะรุม เป็นต้นรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณแก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ ขับผายลม บำรุงธาตุ เช่น ใบแมงลัก ใบโหระพา ใบช้าพลู ขิง ข่า ขมิ้น เป็นต้น

ชวนกันกินผัก

อาหารพวก "ผัก" ไม่เพียงแต่รับประทานแล้วอร่อยและอิ่มท้องเท่านั้น แต่ยังมีคุณค่าทางยาแอบแฝงอยู่อีกด้วย ผักเป็นอาหารที่มีคุณค่ามากชนิดหนึ่ง เพราะมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น เกลือแร่ วิตามิน อยู่เป็นจำนวนมาก สารบางอย่างจะมีเฉพาะในผักเท่านั้น สิ่งสำคัญที่พบมากในผักทุกชนิดคือ "กากใย" (Fiber) ซึ่งเป็นส่วนที่ย่อยไม่ได้และไม่ให้พลังงาน กากใยมีประโยชน์อย่างไร
1. ช่วยลดความอ้วนเพราะให้พลังงานน้อย และจะเข้าไปแย่งพื้นที่ในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้เรารู้สึกอิ่มได้เร็วและอิ่มได้นาน ช่วยลดความอยากอาหารลงไป เราสามารถลดพลังงานที่จะได้รับจากอาหารได้จึงส่งผลให้ลดน้ำหนักได้
2. ลดอัตราการดูดซึมของน้ำตาล จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จนสามารถช่วยลดการใช้ปริมาณอินซูลินในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด และยังค้นพบอีกว่าคนที่รับประทานใยพืชมากๆ จะช่วยลดโอกาสการเป็นเบาหวาน
3. ช่วยลดการดูดซึมไขมันและโคเลสเตอรอล
4. กระตุ้นลำไส้ให้ทำงานดีขึ้น ทำให้ท้องไม่ผูก อีกทั้งยังช่วยลดการเก็บกักของเสียในร่างกาย ลดการหมักหมมของเสียในลำไส้ ลดโอกาสการดูดซับสารพิษจากของเสียเข้าสู่ร่างกาย และที่สำคัญมันช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยเช่นกัน
5. ลดอัตราเสี่ยงจากไขมันอุดตันหลอดเลือด และช่วยลดความดันโลหิต มีรายงานการศึกษาวิจัยจากวารสาร Archives of Internal Medicine พบว่าคนที่ชอบรับประทานอาหารพวกผักหรือเมล็ดธัญญพืชมากๆ มีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพดีกว่าคนที่ชอบรับประทานพวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาพในด้านลดความดันโลหิตลงมา ซึ่งจะส่งผลให้ลดอาการป่วยที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวาย เป็นต้น
6. ช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง เป็นต้น ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ผักชนิดต่างๆ สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนออกมาให้เรากินกันตลอดทั้งปี ซึ่งผักตามฤดูกาลนั้น มีคุณภาพ อร่อย ราคาถูก

ตัวอย่างผักตามฤดูกาลที่มาแนะนำกันเพื่อสุขภาพ
มกราคม เช่น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ผักกาดหัว(หัวไช้เท้า) มะเขือเทศ ถั่วลันเตา คะน้า ข้าวโพดฝักอ่อน ฟักทอง ผักกาดขาว
กุมภาพันธ์ เช่น ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วฝักยาว ผักกาดหัว(หัวไช้เท้า) ผักบุ้งจีน บวบ คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก
มีนาคม เช่น ถั่วฝักยาว ผักบุ้งจีน บวบ คะน้า ฟักเขียว ฟักทอง
เมษายน เช่น ถั่วฝักยาว ผักบุ้งจีน บวบ คะน้า ฟักทอง
พฤษภาคม เช่น มะระจีน ชะอม ฟักทอง ผักบุ้งจีน ช้าพลู บวบ มะนาว ถั่วฝักยาว
มิถุนายน เช่น มะนาว มะระจีน บวบ ถั่วฝักยาว กุยช่าย ชะอม ผักบุ้งจีน ช้าพลู ยอดตำลึง
กรกฎาคม เช่น สะตอ ถั่วฝักยาว ยอดตำลึง ชะอม กุยช่าย มะระจีน มะนาว ช้าพลู บวบ
สิงหาคม เช่น ยอดตำลึง ข้าวโพดฝักอ่อน กุยช่าย บวบ มะระจีน สะตอ ชะอม ถั่วฝักยาว
กันยายน เช่น ชะอม ยอดตำลึง กุยช่าย ถั่วฝักยาว บวบ มะระจีน ข้าวโพดฝักอ่อน
ตุลาคม เช่น ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วฝักยาว ผักกาดหัว(หัวไช้เท้า) คะน้า กะหล่ำดอก มะระจีน
พฤศจิกายน เช่น คะน้า มะเขือเทศ ข้าวโพดฝักอ่อน ผักกาดขาว แครอท ฟักทอง กะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว ผักกาดหัว(หัวไช้เท้า)
ธันวาคม เช่น ข้าวโพดฝักอ่อน แครอท ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ถั่วลันเตา ผักกาดหัว(หัวไช้เท้า) คะน้า กะหล่ำดอก มะเขือเทศ ฟักทอง

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อซีเมนต์อิฐบล็อก **กำลังจะลองทำดูค่ะ
















การเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อซีเมนต์อิฐบล็อก


-->

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์อิฐบล็อก1.สามารถเลี้ยงได้ในบริเวณรอบบ้านพักดูแลได้สะดวก จับบริโภคหรือขายได้ง่าย 2.เลี้ยงได้จำนวนมากใช้พื้นที่เลี้ยงน้อยระยะเวลาของการเลี้ยงสั้น รุ่นละ 60 - 90 วัน3.ปลาดุกเป็นปลาที่มีความอดทนมาก ตายยากสามารถทนต่อสภาวะน้ำเสียได้สูง 4.น้ำทิ้งจากบ่อปลาดุก มีอินทรีย์สารมากเป็นปุ๋ยน้ำใช้รดพืชผัก ต้นไม้ได้เป็นอย่างดี

การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
ควรอยู่ใกล้บ้าน และมีที่ร่มเพียงพอ เพราะปลาดุก ไม่ชอบแสงสว่างมาก
ควรมีแหล่งน้ำที่สะดวกสำหรับการเปลี่ยนถ่ายเทน้ำ

การสร้างบ่อ
เตรียมพื้นที่ราบเรียบ พื้นดินที่ต้องอัดแน่นเพื่อสร้างบ่อซีเมนต์อิฐบล๊อคขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 0.6 เมตรโดยการเทพื้นซีเมนต์ มีโครงไม้ไผ่ช่วยยึดเกาะเนื้อปูนซีเมนต์ไม่ให้แตกร้าวง่าย และก่ออิฐบล๊อคขึ้นสูง 3 ก้อนโดยรอบ เป็นรูปทรงบ่อสี่เหลี่ยม ตามขนาดที่ได้กำหนดไว้ จะได้บ่อขนาดพื้นที่ 6 ตารางเมตร จุน้ำลึก 60 เซนติเมตร (ราคาวัสดุต่อบ่อไม่คิดค่าแรง ประมาณ 2,500 บาทได้แก่ อิฐบล๊อค 80 ก้อน, ปูน 6 ถุง, ทราย 2 คิว, หินเบอร์ 3/4 1 คิว
กางตาข่ายพรางแสง สูงขึ้นไปจากบ่อประมาณ 1-1.5 เมตร เพื่อสร้างร่มเงาให้กับบ่อปลาดุกปล่อยน้ำเข้าบ่อให้มีระดับความลึก 50 เซนติเมตร อาจใช้สารจุลินทรีย์ (อีเอ็ม) 2 ช้อนชา กับน้ำตาลทราย 2 ช้อนชา ผสมกับน้ำ 1 ปี๊บ สาดลงไปที่บ่อ เพื่อให้เกิดน้ำเขียว เป็นอาหารลูกปลา และช่วยไม่ให้น้ำขุ่นเร็ว
อัตราปล่อยปลา
ปลาดุกที่เริ่มเลี้ยงควรมีขนาดความยาว 5 - 10 ซ.ม. (ราคาตัวละประมาณ 1 บาท) อัตราการปล่อยลงเลี้ยง 60 ตัว ต่อตารางเมตร หรือ 360 ตัว ต่อบ่อซีเมนต์อิฐบล็อก ขนาดพื้นที่ 6 ตารางเมตร
แช่ถุงปลาดุกไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที
แล้วจึงค่อยๆปล่อยปลาลงบ่อ เพื่อป้องกันลูกปลาช็อคตาย
ปลาดุกที่เริ่มต้นเลี้ยงควรมีขนาดขนาด 5 - 10 เซนติเมตร ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 60 - 90 วัน/รุ่น
ควรมีวัสดุ เช่น อิฐบล็อก หรือยางรถยนต์ใส่ในบ่อให้ปลาดุกหลบซ่อน เพราะเลี้ยงไประยะเวลาหนึ่ง ปลาจะโตไม่เท่ากัน เนื่องจากปลาตัวใหญ่จะรบกวนตัวเล็ก




อาหารและการให้อาหาร
1. อาหารเม็ดสำเร็จรูปลอยน้ำ - ปลาดุกขนาดความยาว 5 - 7 เซนติเมตรให้อาหารปลาดุกรุ่นอายุ 1 เดือน - ปลาดุกขนาดความยาว 7 เซนติเมตรขึ้นไปให้อาหารปลาดุกรุ่นอายุ 2 เดือน การให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปลอยน้ำ ให้วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น ให้ครั้งละน้อยๆ แต่พออิ่ม2. อาหารผสมเองใช้กระดูก โครงไก่ ไส้ไก่ เศษเนื้อบดละเอียดหรือปลาป่น ผสมรำละเอียดในอัตรา 9 : 1 โดยน้ำหนัก ปั้นเป็นก้อนขนาดกำมือปั้นให้กินทุกวัน อาหารสดเสริม เช่น เศษปลา ปลวก แมลงขนาดเล็ก มด ไส้เดือน หอยเชอรี่ ต้มสุก เป็นต้นการให้อาหารผสมเองที่ปั้นเป็นก้อนให้อาหารในกระบะมี ขอบ ให้ขอบจากระดับผิวน้ำประมาณ 20 ซ.ม. ให้วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ให้ครั้งละน้อยๆ พออิ่ม


การถ่ายเทน้ำ
ควรถ่ายเทน้ำทุก 15 วัน หรือเวลาที่น้ำเลี้ยงปลามีกลิ่นเหม็น ควรดูดน้ำจากก้นบ่อ ออกประมาณ 1 ใน 3 ของระดับน้ำในบ่อ (ประมาณ 20 เซนติเมตร)
ขณะถ่ายน้ำ ไม่ควรรบกวนให้ปลาดุกตกใจ ถ้าปลาดุกเกิดอาการตกใจ จะหยุดกินอาหารหลายวัน
น้ำในบ่อปลาดุกที่ถ่ายทิ้งมีอินทรีย์สารมาก เป็นปุ๋ยน้ำ นำไปรดพืชผักสวนครัวได้ดี
ระยะเวลาในการเลี้ยงและผลผลิต
ปลาดุกที่เริ่มเลี้ยงขนาดความยาว 5 - 10 เซนติเมตร ปล่อยเลี้ยง 360 ตัว/บ่อ ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 60 - 90 วัน
ผลผลิตจากการเลี้ยง ประมาณ 40 - 60 กิโลกรัม ต่อรุ่นต่อบ่อขนาด 6 ตารางเมตร (ขนาดปลาดุก 7 - 10 ตัว/กิโลกรัม) คิดเป็นมูลค่าปลาดุก 1,600 - 2,400 บาท ต่อรุ่น ต่อบ่อขนาด 6 ตารางเมตร (ปลาดุกกิโลกรัมละ 40 บาท)

ข้อควรระวัง
1. ไม่ให้อาหารปลาดุกในปริมาณมากจนเกินไป 2. รักษาคุณภาพน้ำให้เหมาะสมอยู่เสมอ 3. ถ่ายเทน้ำในบ่อเลี้ยงปลาบ่อย ๆ
โรคปลาดุกและการป้องกันรักษา
โรคกะโหลกร้าว แก้ไขโดยใช้วิตามินซี 1 กรัม ผสมในอาหาร 1 กิโลกรัมให้ปลาดุกกินติดต่อกันนาน 15 วัน
โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและบาดแผลข้างลำตัว ใช้ยาปฎิชีวนะ เช่นยาอ๊อกซี่เตทตราซัยคลิน 1 แคปซูล ผสมในอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกันนาน 7 - 10 วัน
หากมีปลาตาย และมีบาดแผลตามลำตัว ให้ตักปลาตายออกแล้วนำไปทำลายโดยการเผาหรือฝังและรีบถ่ายเทน้ำในบ่อออกประมาณครึ่งบ่อ (ถ่ายน้ำออกในระดับลึก 30 เซนติเมตร)

ซื้อ EM ก็ได้ค่ะ ถ้าไม่อยากเสียเวลาทำเอง

หากคุณไม่มีเวลาทำ EM เองก็มาสารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดค่ะ ขวดละ 1000ซีซี ราคาประมาณ 80 บาท เวลาใช้ก็แค่เจือจางด้วยอ้ตราส่วน1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตรค่ะ ใช้รดพืช สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็พอค้ะ จำช่วยบำรุงพืชให้โตเร็ว กันแมลง ศัตรูพืช ด้วย ตอนนี้ฉันเองก็กำลังปลูกกระเพราะบ้านค่ะ กว่าจะหาพันธ์ได้ก็นานทีเดียว เอาไว้ทำทานเองที่บ้าน ถ้าคุณอยากจะได้พันธ์ล่ะก็ ฉันสามารถส่งให้ได้นะค่ะ ไม่คิดค่าอะไรถือว่าช่วยกันอร่อยค่ะ แต่คงต้องรอนิด เพราะตอนนี้ยังไม่มีเมล็ดแก่เลยค่ะ อ้อ สรรพคุณ ของกระเพราก็มีมากนะค่ะ

ลักษณะไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. ทั้งต้นมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีขนปกคลุม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่างๆ ปลายแหลม กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราขาวและกะเพราแดง ใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง ส่วนใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว

สารสำคัญมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น ocimol, eugenol, methyl eugenol, linalool เป็นต้น เป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน ฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลอง ในสัตว์แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สาร Eugenol ในใบ มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน และลดอาการจุกเสียด
ส่วนที่ใช้ ใบหรือทั้งต้น ใบสมบูรณ์เต็มที่ นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่า กะเพราขาว
รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียดในท้อง ใช้แต่งกลิ่น แต่งรส

วิธีใช้ เด็กอ่อนใช้ใบสด 3-4 ใบ ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2- 3 หยด เป็นเวลา 2 วัน จะช่วยขับลมและถ่ายขี้เทา สำหรับผู้ใหญ่ใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ใช้ใบกะเพราแห้ง 1 กำมือ ( 4 กรัม ) ใบสดใช้ 25 กรัม ชงกับน้ำดื่มเป็นยาขับลม หรือป่นเป็นผงครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ชงกับน้ำหรือใช้ใบสดแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดรับประทาน
****อ้อ ใครที่กำลังจะไปเรียนหรือ ทำงานอยู่ต่างประเทศ ก็รีบๆทานเอาไว้เยอะๆนะ เพราะที่โน่นหาทานได้ยาก เพราะ ปลูกลำบาก อากาศหนาวเย็น เค้าจึงนิยมเอาใบโหระพา(sweet Basil)มาใส่แทนใบกระเพราค่ะ แต่เราคนไทยทานยังไงก็ไม่ใช่ผัดกระเพรานะ ความหอม ความอร่อยก็ไม่เท่า

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การทำปุ๋ยจากธรรมชาติ

อีเอ็ม (EM) คืออะไร
EMย่อมาจาก Efective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวความคิดเรื่อง “ดินมีชีวิต” ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของโลก จากนั้น ดร.อิหงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ.2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลปรากฏว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10%
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10%
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80%จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย
ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป
ลักษณะทั่วไปของEM
EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้
• ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
• ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
• เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้
• เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิต
• EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
• เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย
การดูแลเก็บรักษา
1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท
2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
3. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปหะปน
4. การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกตพิเศษ
• หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าวัชพืชที่ไม่ต้องการได้
• กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัวเมื่อเขย่าภาชนะฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
• เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองน้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ดังนี้
1. ใช้กับพืชทุกชนิด
2. ใช้กับการปศุสัตว์
3. ใช้กับการประมง
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์หลักของการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ
1. ลดต้นทุนการผลิต
2. ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม
3. ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติดี
4. สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี
5. ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ และจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคพัฒนาคุณภาพชีวิต
6. เป็นวิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้

3. จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ EM มีประโยชน์อย่างไร
การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึงการใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงานผลิต หรือ ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ

วิธีใช้และประโยชน์ EM สด
1. ใช้จุลินทรีย์น้ำกับพืช
• ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร) ใช้ ฉีด พ่นราด พืชต่างๆ ให้ทั่วจากดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม
• พืช ผัก ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน
• ไม้ดอก ไม้ประดับ เดือนละ 1 ครั้ง การใช้จุลินทรีย์สดในดิน ควรมีอินทรียวัตถุปกคลุมด้วย เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง ฯลฯ เพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป
2. ใช้ในการทำ EM ขยายจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้งและอื่น
• (ดูรายละเอียดในการทำ)
3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)
• ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง
• ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร ใช้พ่นคอกให้สะอาด กำจัดกลิ่น
• หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน ฯลฯ
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
• ใส่ห้องน้ำ – ห้องส้วม ใส่โถส้วมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์ละ ½ แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลาย ไม่มีกาก ทำให้ส้วมไม่เต็ม
• กำจัดกลิ่น ด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาล ในอัตรา ส่วน 1:1:1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ : กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 1 ลิตร ) ฉีด พ่น ทุก 3 วัน
• บำบัดน้ำเสีย 1:10,000 หรือ EM 2 ช้อนโต๊ะ :น้ำ 200 ลิตร
• ใช้กำจัดเศษอาหารหรือทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร
(ดูรายละเอียดในการทำ)
• แก้ไขท่ออุดตัน EM 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ 5-7 วัน / ครั้ง
• ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน
• กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำ
- ใช้ ฉีด พ่น หรือ ราดลงไปในแหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม.
- กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำ แล้วแต่สภาพความแห้ง หรือ ความเหม็น โดยผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วน
- ขยะแห้งประเภทกระดาษ ใบตอง เศษอาหารใช้ฉีดพ่น อัตรา EM ขยาย 1 ส่วนผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร

วิธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย
1. ใช้กับพืชเหมือน EM สด
2. ใช้กับสัตว์
• ผสมน้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน
• ผสมน้ำ 1 : 1,000 ล้างคอก กำจัดกลิ่น
• ผสมน้ำ ในอัตรา : 1 : 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟางแห้ง เป็นอาหารสัตว์
3. ใช้ทำจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้ง เหมือนใช้ EM สด
• (ดูรายละเอียดในการทำ)
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนใช้ EM สด

ประโยชน์ของจุลินทรีย์แห้ง
1. ใช้กับพืช
• รองก้นหลุม ร่วมกับอินทรียวัตถุ เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง
• คลุมดิน คือ โรยผิวดิน บนแปลงผัก หรือใต้ทรงพุ่มของต้นไม้
• ใส่ถุงแช่น้ำอัตรา 1 กก. : น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไป
รดพืช ผัก
2. ใช้กับการประมง
• เพื่อสร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์ลงน้ำ
• เพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง
• ผสมอาหารสัตว์
3. ใช้กับปศุสัตว์
• ผสมอาหารให้สัตว์กิน
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
• เพื่อบำบัดกลิ่นร่วมกับEM ขยาย
• เพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับ EM ขยาย
• ใช้ในการหมักเศษอาหาร ทำจุลินทรีย์น้ำ
• ใช้ในขยะเปียกอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

4. วิธีการผลิต EM ขยาย ปุ๋ยชีวภาพ ฮอร์โมน และสารไล่แมลงศัตรูพืช
4.1 EM ขยาย
คือการทำให้ได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรง มีประสิทธิภาพเพิ่มจำนวนมากโดยการใช้อาหารประเภทกากน้ำตาลหรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได้
ส่วนผสม 1. EM 2 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาด 1 ลิตร
วิธีทำ • ใส่น้ำสะอาดในภาชนะที่เป็นขวดพลาสติกมีฝาเกลียว ตามส่วน (ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้วเพราะเมื่อจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนจะเกิดแก๊สทำให้แตกได้)
• ใส่ EM ผสมกากน้ำตาลลงในน้ำที่เตรียมไว้ปิดฝาให้มิดชิด
• เขย่าให้ละลายเข้ากัน หมักไว้อย่างน้อย 3 – 5 วัน
วิธีใช้ • นำไปใช้ได้เหมือน EM สด (ยกเว้น การให้สัตว์กิน การฉีดพ่น เพื่อปรับอากาศ ไม่ต้องใส่กากน้ำตาล) และควรใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน
• เมื่อครบ 3 วันขึ้นไปนำไปขยายโดยใช้ส่วนผสมข้างต้นได้อีก
วัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล ( 1 ช้อนโต๊ะ )
- น้ำอ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าว น้ำชาวข้าว น้ำผลไม้ที่คั้นสดๆ อาทิ น้ำส้ม น้ำสับปะรด ฯลฯ ไม่
ใส่สารกันบูด หรือน้ำตาลทรายแดงผสมน้ำข้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแทนกากน้ำตาล ปริมาณ ¼ แก้ว
- นมข้นหวาน นมเปรี้ยว น้ำอ้อยเคี่ยว น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปัสสาวะ ½ แก้ว

4.2 จุลินทรีย์น้ำ (ใช้ทันที)
ส่วนผสม 1. EM 1 ช้อนโต๊ะหรือ 1 ส่วน
2. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ส่วน
3. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1,000 ส่วน
วิธีทำ
• นำ EM และกากน้ำตาลผสมในน้ำให้เข้ากัน
• ในกรณีมีพื้นที่ต้องใช้ปุ๋ยน้ำมากให้เพิ่มตามสัดส่วน
วิธีใช้
• ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืช ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สัปดาห์ละครั้ง ใบและดอกจะดกบานทน
• ไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ชมพู่ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ ฉีดพ่น รด ราด เดือนละครั้ง รสชาติดี ผลโต
• วันอื่นๆ ให้รดน้ำพืชปกติ
• ควรใช้ช่วงเย็นแสงแดดอ่อนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• ควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน
การทำปุ๋ยหมัก หรือ จุลินทรีย์แห้ง (โบกาฉิ)
การทำจุลินทรีย์แห้ง หมายถึง การนำเอา EM มาหมักกับอินทรียวัตถุ เป็นการขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีจำนวนมากขึ้น แข็งแรงขึ้น และพักตัวอยู่ในอินทรียวัตถุ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินให้ดินร่วนซุย มีธาตุอาหารที่สำคัญเหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้ยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย
ส่วนผสม 1. มูลสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ นำมาผึ่งให้แห้ง 1 ส่วน หรือ 1
กระสอบ
2. แกลบดิบ หรือ ฟางแห้ง หรือ หญ้าแห้ง หรือ ใบไม้แห้ หรือ ผักตบชวาแห้ง หรือ ขี้เลื่อย 1 ส่วน
หรือ 1 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น หรือ คายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน
วิธีทำ • คลุกรำละเอียด กับมูลสัตว์แห้งที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน
• นำแกลบดิบ หรือวัสดุ ที่ใช้แทนตัดสั้นๆ จุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM + กากน้ำตาล ไว้ ช้อนเอามา
คลุกกับรำ และมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้ว คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
• ความชื้นให้ได้ 40-50% ดูได้จากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มีน้ำไหลออกจากง่ามนิ้ว
และแตกเมื่อคลายมือออกหรือเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้
• นำส่วนผสมไปใส่กระสอบ ถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ ที่อากาศถ่ายเทได้ ¾ ของกระสอบ ไม่
ต้องกดให้แน่น มัดปากกระสอบไว้พลิกกระสอบแต่ละด้านทุกวัน วันที่ 2-3 จับกระสอบดูจะร้อน
อุณหภูมิประมาณ 50 องศา – 60 องศา วันที่ 4-5 จะค่อยๆ เย็นลง จนอุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดู
จะได้จุลินทรีย์แห้งร่วนนำไปใช้ได้
• หากไม่มีกระสอบ หรือทำปริมาณมาก เมื่อผสมกันดีแล้ว ให้นำไปกองบนกระสอบป่าน หรือฟาง
แห้งที่ใช้รองพื้นหนาประมาณ 1 ฟุต แล้วคลุมด้วยกระสอบ หรือ สแลน กลับวันละ 1-2 ครั้ง ให้
อากาศถ่ายเททั่วถึงประมาณ 5-7 วัน ดูให้อุณหภูมิปกติจุลินทรีย์แห้งร่วนดี เก็บใส่ถุงไว้ใช้

ประโยชน์ของการกลับกองปุ๋ยหมัก
1. เพื่อให้การหมักทั่วถึง
2. ทำให้แห้งเร็ว
3. ไม่จับเป็นก้อนแข็ง ง่ายต่อการนำไปใช้

การเก็บรักษา
เก็บจุลินทรีย์แห้งไว้ในที่ร่ม ไม่ให้โดนแดด หรือ ฝน หรือที่มีความชื้น เก็บรักษาได้ประมาณ 1 ปี
วิธีใช้ • จุลินทรีย์แห้งที่หมักด้วย EM จะร่วน มีกลิ่นหอมเหมือนเชื้อเห็ด
• ใช้ในการเตรียมดินปลูกพืช
- รองก้นหลุมปลูกประมาณ 2 กำมือ
- คลุกผสมดินในหลุมปลูก 2 กำมือ
- รองก้นแปลง (แหวะท้องหมู) ตารางเมตรละ 1 กำมือ
- หว่านในแปลงพืช หรือนาข้าว ตารางเมตรละ 1 กำมือ แล้วใช้จุลินทรีย์น้ำฉีดพอชุ่ม
• ใช้หลังการเพาะปลูกแล้ว
- แปลงผักใส่ระหว่างแนวผัก
- ไม้ต้น ใส่ใต้ทรงพุ่ม รัศมีใบตารางเมตรละ 1 กำมือ
- ไม้กระถาง โรยในกระถาง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ฯลฯ
• ใช้ในการเลี้ยงสัตว์
- ผสมอาหารสัตว์ เช่น ไก่ หมู วัว ฯลฯ
- บำบัดน้ำ สร้างอาหารในน้ำ ในบ่อ ปลา กุ้ง ตะพาบน้ำ ฯลฯ
• ใช้กับสิ่งแวดล้อม
- ใช้บำบัดน้ำเสีย กำจัดกลิ่น
หมายเหตุ ไม่ควรใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง สารเคมีทุกชนิด
การทำปุ๋ยเม็ด
1. นำปุ๋ยที่ผสมเสร็จแล้วไม่ต้องหมัก มาบดให้ละเอียด
2. นำแป้งเปียก มาผสมให้เข้ากัน
3. นำเข้าเครื่องอัดเม็ด
4. ผึ่งลมให้แห้ง เก็บใส่ถุง ภาชนะ หรือ นำไปใช้ได้
การทำจุลินทรีย์แห้ง 24 ชั่วโมง (การขยายจุลินทรีย์แห้ง)
สามารถนำปุ๋ยแห้งมาขยายภายใน 1 วัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และประหยัดได้
ส่วนผสม 1. จุลินทรีย์แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
2. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น ½ ส่วน / ½ กระสอบ
3. ฟาง หรือ หญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้ง ฯลฯ ตัดสั้นๆ 10 ถัง เตรียมไว้
4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมในน้ำ 1 ถัง
*ถ้าทำมากให้เพิ่มตามสัดส่วน
วิธีทำ • นำรำละเอียดผสมจุลินทรีย์แห้งให้เข้ากัน
• นำฟาง / ใบไม้แห้ง จุ่มลงในถังน้ำ บีบพอหมาด (เหมือนทำจุลินทรีย์แห้งวางกองกับพื้นที่ปูลาดด้วยกระสอบหรือฟางแห้ง ประมาณ 3 นิ้ว
• นำส่วนผสมของรำกับจุลินทรีย์แห้งโรยให้ทั่ว ทำเป็นชั้นๆ จะใช้พื้นที่กว้างยาวเท่าไรก็ได้ แต่ความสูงไม่เกิน 1 ฟุต หรือ 1 ศอก หรือไม่เกินหัวเข่า เสร็จแล้วเอากระสอบ หรือสแลน หรือถุงปุ๋ย หรือ ใบตองแห้ง, ฟาง คลุมไว้
• หมักไว้ 18 ชั่วโมง กลับปุ๋ยข้างล่างขึ้นข้างบนให้อากาศผ่านได้ทั่วถึง และให้แห้งง่าย คลุมทิ้งไว้อีก 6 ชั่วโมง จะได้จุลินทรีย์แห้ง 24 ชั่วโมง (1 วัน) นำไปใช้ได้
วิธีใช้ • ใช้เหมือนจุลินทรีย์แห้ง แต่จะประหยัด และลดต้นทุนได้มาก
• เก็บรักษาในที่ร่มไม่โดนแดดโดนฝนได้ประมาณ 1 ปี
• ใช้ทำจุลินทรีย์แห้ง 24 ชั่วโมง ขยายได้อีก (วิธีทำเหมือนเดิม) จนกว่าจะเบื่อทำ
หมายเหตุ
• พื้นที่ที่มีใบไม้แห้งกองอยู่มาก สามารถทำกับพื้นได้ โดยตัดหรือย่อยใบไม้ให้เล็กลง ใช้นำผสม EM + กากน้ำตาล ฉีด รด ให้ทั่ว (ความชื้นตามสูตร) นำรำผสมจุลินทรีย์แห้ง โรยให้ทั่วแล้วคลุมไว้ กลับกองปุ๋ยทุกวันครบกำหนด นำไปใช้ได้
วัสดุที่ใช้แทนรำละเอียด
1. ฝุ่นซังข้าวโพด
2. มันสำปะหลังบด
3. กากมะพร้าวขูดคั้นน้ำแล้ว ผึ่งให้แห้ง
4. คายข้าว ฯลฯ

วัสดุที่ใช้แทนแกลบดิบ
1. ใบไม้แห้งทุกชนิด หญ้าแห้ง ผักตบชวาแห้ง ฯลฯ
2. ขี้เลื่อย
3. ขุยมะพร้าวแห้งด้านเปลือก
4. ฟางข้าว
5. ซังข้าวโพด


การทำซุปเปอร์โบกาฉิผสมอาหารสัตว์
ส่วนผสม 1. เปลือกหอยป่น 2 ขีด
2. กระดองปูม้า, ปูทะเลป่น 2 ขีด
3. กระดูกสัตว์ป่น 2 ขีด
4. แกลบเผา 2 ขีด
5. ปลาป่น 6 กก.
6. กากถั่ว 6 กก.
7. รำละเอียด 20 กก.
8. EM 1 ช้อนโต๊ะ ( 10 ซีซี )
9. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ( 10 ซีซี )
10. น้ำสะอาด 5 ลิตร
11. กระสอบป่าน 1 ใบ
12. ถุงพลาสติกดำ 1 ใบ
วิธีทำ • ผสมวัสดุทั้งหมดให้เข้ากันดี (1)
• ละลาย EM กากน้ำตาล น้ำ ให้เข้ากัน นำไปพ่นฝอยๆ บนส่วนผสม ในข้อ (1) แล้วคลุกให้เข้ากัน โดยให้ความชื้นไม่เกิน 40 %
• นำส่วนผสมบรรจุในกระสอบป่านผูกปากให้แน่น จากนั้นใส่ลงในถงุพลาสติกดำอีกชั้นหนึ่ง มัดปากถุงให้แน่น หมักไว้ 3 วัน
• เมื่อครบ 3 วัน นำกระสอบออกจากถุงพลาสติกดำ แล้วตั้งทิ้งไว้ในร่มอีก 3 วัน อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และเย็นลงให้กลับกระสอบทุกวัน เพื่อไม่ให้ความชื้นในกระสอบไปกองอยู่ในด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้จับเป็นก้อนแข็งได้
วิธีใช้ • ใช้ผสมอาการสัตว์ เช่น หมู ไก่ ปลา กุ้ง กบ ฯลฯ ในอัตรา 2% ของอาหารที่ให้แต่ละครั้ง (หรือ 2 กก. ต่ออาหารสัตว์ 100 กก.)
• นำใส่ถุงผ้าไปละลายน้ำในอัตราส่วน ½ กก. ต่อน้ำหนัก 100 ลิตร ทำเป็นน้ำ “โบกาฉิ” หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง ก่อนนำไปรดพืชผักต่างๆ จะทำให้พืช ผัก ที่ปลูกใหม่ๆ ฟื้นตัวและโตเร็ว
• นำใส่ในแปลงพืชตารางเมตรละ 1 กำมือ ( 50 - 100 กรัม : พื้นที่ 1 ตร.ม.)
• ใช้หว่านในบ่อน้ำ เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำที่เน่าเสียให้กลับตี หรือช่วยทำให้น้ำที่ดีอยู่แล้ว ไม่เน่าเสียได้
การทำจุลินทรีย์น้ำจากจุลินทรีย์แห้ง (ใช้ใน 1 วัน )
ส่วนผสม 1. จุลินทรีย์แห้ง (โบกาฉิ) 2 กก.
2. กากน้ำตาล ½ แก้ว
3. น้ำ 200 ลิตร
วิธีทำ • นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากันแช่ไว้ในช่วงเย็น

วิธีใช้ • นำไปรด พืช ผัก ผลไม้ ในไร่ นา ได้ในช่วงเช้า

4.3 การทำฮอร์โมนผลไม้
ส่วนผสม 1. มะละกอสุก 2 ก.ก.
2. ฟักทองแก่จัด 2 ก.ก.
3. กล้วยน้ำว้าสุก 2 ก.ก.
4. EM 250 ซีซี หรือ 1 แก้ว หรือ 25 ช้อนโต๊ะ
5. กากน้ำตาล 250 ซีซี หรือ 1 แก้ว หรือ 25 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีทำ • หั่นมะละกอ ฟักทอง กล้วยทั้งเปลือกและเมล็ดเข้าด้วยกัน ใส่ในถังพิทักษ์โลก (ดูรายละเอียดใน
วิธีทำ)* หรือถังพลาสติกหรือภาชนะดินเคลือบ
• ผสม EM กากน้ำตาล ลงในภาชนะ ใส่น้ำให้ท่วมผลไม้ คลุกให้เข้ากัน ปิดฝา หมักไว้ 7-10 วัน
• เมื่อเปิดฝาออก ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองด้านบน นำไปใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ ฯลฯ ช่วยเร่งรากดีมาก
• กรองน้ำหรือรินใส่ขวดพลาสติกไว้ใช้ เก็บไว้นาน 3 เดือน
วิธีใช้ • นำฮอร์โมน 4-5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด ไม้ผลช่วงติดดอก ก่อนดอกบาน ทำให้ติดผลดี หรือฉีดเร่งการออกดอก บำรุงราก เดือนละครั้ง
• ใช้กับพืชผักสวนครัว สัปดาห์ละครั้งสลับกับจุลินทรีย์น้ำ
• นำกากที่เหลือ (ในถัง หรือ ภาชนะที่ใช้หมัก ) ไปใส่ต้นไม้ บำรุงดิน หรือ ทิ้งไว้ให้แห้งทำจุลินทรีย์แห้ได้อีก
4.4 การทำฮอร์โมนยอดพืช
ส่วนผสม
1. ยอดสะเดาทั้งใบและเมล็ด ½ ถัง ( ขนาด 10 ลิตร )
2. ยอด / ใบยูคาลิปตัส ½ ถัง ( ขนาด 10 ลิตร )
3. EM 1 แก้ว
4. กากน้ำตาล 1 แก้ว
5. น้ำสะอาด 10 ลิตร
*ใช้ยอดพืช ยอดผัก หลายๆ ชนิด ก็ได้ อาทิ ชมพู่ มะม่วง ตะไคร้หอม ฯลฯ การเก็บยอดพืชให้เก็บตอนเช้าตรู่
วิธีทำ • สับยอดพืชให้สั้นประมาณ 1 นิ้ว ใส่ในถังพลาสติกหรือโอ่ง
• ผสม EM กากน้ำตาล น้ำ เทลงในถังให้น้ำท่วมพอดี ปิดฝาให้มิดชิด
• หมักไว้ 7 – 10 วัน กรองใส่ขวดเก็บได้นานประมาณ 3 เดือน

วิธีใช้ • 4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด ตอนเช้า หรือหลังฝนตก ป้องกันแมลงรบกวน พืชจะแข็งแรงเติบโตดี
• ใช้ผสมกับสารไล่แมลงจะได้ผลดียิ่งขึ้น

4.5 การทำสารไล่ศัตรูพืช (สุโตจู / EM 5)
ส่วนผสม
1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 2 ส่วน หรือ 2 แก้ว (แก้วละ 250 ซีซี)
2. น้ำสัมสายชู 5% 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
3. EM 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
4. กากน้ำตาล 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
5. น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีทำ
• นำกากน้ำตาลผสมน้ำเขย่าให้เข้ากัน ใส่เหล้าขาวและน้ำส้มสายชู
• ใส่ EM คนให้เข้ากัน
• เขย่าภาชนะทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น เปิดฝาระบายก๊าซหลังจากเขย่า ครบกำหนดนำไปใช้เพื่อขับไล่แมลง ป้องกันโรคพืชบางชนิด เช่น ใบหงิก ใบด่าง เพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ ฯลฯ
วิธีใช้
• ใช้ 10 – 50 ซีซี (1-5 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 5-10 ลิตร
• ฉีดพ่น ให้ชุ่ม และทั่วถึง นอกและในทรงพุ่ม
• ใช้กับพืช ผัก ทุก 3 วัน สลับกับการพ่นจุลินทรีย์น้ำ
• พืชไร่ พืชสวน ทุก 3-7 วัน สลับกับการพ่นจุลินทรีย์น้ำ
• ผสมกากน้ำตาล หรือ นมสด ฯลฯ เป็นสารจับใบ

4.6 การทำสารไล่ศัตรูพืชสูตรเข้มข้น (ซุปเปอร์สุโตจู)
ส่วนผสม
1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 2 ส่วน หรือ 2 แก้ว
2. น้ำสัมสายชู 5% 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
3. EM 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
4. กากน้ำตาล 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
วิธีทำ
• นำส่วนผสมทั้งหมดในภาชนะเขย่า หรือ คนให้เข้ากันดี
• ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 1 วัน
วิธีใช้
• ใช้ในกรณีที่ผสมสารไล่ศัตรูพืชธรรมดาไม่ทันกาล
• ใช้ 5 – 10 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง ฉีดพ่นปราบหนอน แมลงศัตรูพืช ที่ปราบได้ยาก เช่น หนอน หลอดหอม หนอนชอนใบ เพลี้ยกระโดย เพลี้ยผลไม้
• กรณีมีพื้นที่เพาะปลูกมาก ใช้ 200 – 300 ซีซี หรือ 2 แก้ว ผสมน้ำสะอาด 100 – 200 ลิตร มากน้อยแล้วแต่ความเหมาะสม
• ผสมน้ำ 50 เท่า กำจัดเหา เห็บ หมัด โรคขี้เรือน ในสัตว์เลี้ยง ใช้ราดให้ทั่วตัวหมักทิ้งไว้ 20 – 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
• ใช้ป้องกันและแก้โรคในสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ตะพาบน้ำ ปลา ฯลฯ
(ดูรายละเอียดการใช้ในการประมง)*
หมายเหตุ
• หมั่นสังเกตชนิดของแมลงที่เป็นศรัตรูพืช หากการใช้สารไล่ หรือสารป้องกันศัตรูพืชได้ผลต่ำให้ผสม ข่าแก่ หรือ บอระเพ็ด หรือตะไคร้หอม หรือ ดีปลี ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ 2 อย่าง โขลกละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ หรือนำแซ่ยาฉุนทิ้งไว้ 2 – 3 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำผสมลงในสารไล่แมลงที่ทำไว้จะช่วยไล่แมลงวัน มด ปลวก เพลี้ย ต่างๆ กำจัดหนอนที่กินพืชผัก
• พืชใบอ่อนผสมน้ำให้เจือจาง พืชใบแข็งผสมน้ำน้อยลงได้
• ใช้ร่วมกับฮอร์โมนยอดพืชได้
4.7 สูตรป้องกันเชื้อราหรือไร
ส่วนผสม
1. EM 1 ลิตร
2. กากน้ำตาล 1 ลิตร
3. ตระไคร้หอม 2 กก.
4. ข่าแก่ 2 กก.
5. ใบและเมล็ดสะเดา 2 กก.
วิธีทำ
• นำตะไคร้หอม ข่า สะเดา ปั่นหรือโขลกให้ละเอียด ใส่น้ำพอคั้นได้ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำสมุนไพร ประมาณ 3 กก.
• นำ EM ผสมกากน้ำตาล ผสมในน้ำสมุนไพร
• ปิดฝาภาชนะหมักไว้ 3 วัน
• เก็บไว้นานประมาณ 3 เดือน
วิธีใช้
. ใช้ ½ ลิตร ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีด พ่น ต้นไม้ทุก 3 วัน

4.8 สูตรไล่หอยหรือเพลี้ยไฟป้องกันใบข้าวไหม้
ส่วนผสม
1. ยอดยูคาลิบตัส 2 กก.
2. ยอดสะเดา 20 ยอด / 1 ปี๊บ
3. ข่าแก่ 2 กก.
4. บอระเพ็ด 2 กก.
5. จุลินทรีย์ 1 แก้ว
6. กากน้ำตาล 1 แก้ว
วิธีทำ
• นำยอดยูคาลิปตัส ยอดสะเดา ข่าแก่ และบอระเพ็ด แต่ละอย่างแยกกัน ใส่ปี๊บ ใส่น้ำให้เต็ม ต้มให้เหลือน้ำอย่างละครึ่งปี๊บ ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทรวมกันในถังใหญ่ หรือ โอง ใส่ EM 1 แก้ว กากน้ำตาล 1 แก้ว ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 3 วัน
วิธีใช้
• ใช้ ½ ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น ราดในไร่หรือนาข้าว
ข้อสังเกต หากมีแมลงศัตรูพืชระบาด รบกวนมาก จะใช้น้ำสมุนไพรต่างๆ อาทิ บอระเพ็ด เมล็ดสะเดา ตะไคร้หอม ฯลฯ ผสมร่วมกันเป็นสารไล่ศัตรูพืชทีเดียวก็ได้
4.9 สารสมุนไพรใช้ปราบศัตรูพืช ปราบหญ้า (หมายเลข 02)

สมุนไพร ประกอบด้วย
- เม็ดลำโพงสด
- หางไหลแดง – ขาว
- รากหนอนตายหยากตัวผู้ - ตัวเมีย
- ยาเส้น (ยาฉุน)
- กากน้ำตาล
- หัวน้ำส้มสายชู
- สะเดาชนิดผง
วิธีทำ นำส่วนประกอบทั้งหมดอย่างละประมาณเท่าๆ กัน รวมน้ำหนัก 1 กก. มัดใส่ห่อผ่าแช่ในน้ำ จำนวน
5 ลิตร หมักใส่โอ่งไว้นาน 15 วัน (ถุงผ้าห่อสมุนไพร เมื่อยกขึ้นจากน้ำที่หมักแล้ว สามารถนำไป
แซ่น้ำ 2 – 3 ชม. ใช้ได้อีกครั้งก่อนทิ้ง)
วิธีใช้ นำน้ำหมักสมุนไพร อัตราส่วน 150 – 200 ซีซี (หรือ 20 ช้อนโต๊ะ) ผสมจุลินทรีย์ EM 100 ซีซี
(หรือ 10 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นปราบศัตรูพืช 5 – 6 วันต่อครั้ง
4.10 สารสมุนไพรชะลอการเจริญเติบโต ของเชื้อรา เอ็นแท็กโน้ต (หมายเลข 07)
โดย นาตี๋ คล่องแคล่ว
อดีตประธานสหกรณ์หุบกะพงตามพระราชประสงค์ผู้คิดค้น
สมุนไพร ประกอบด้วย
- ว่านน้ำ ( ต้น ใบ ราก ) 1 กก.
- แอลกอฮอล์ 1 ขวด (เหล้าแม่โขง)
- เปลือกมังคุด 1 กก.
- หมากดิบ (สด ) กะเทาะเปลือกออกแล้ว ½ กก.
- ตะไคร้หอม 1 กก.
- กากน้ำตาล 100 ซีซี
- น้ำสะอาด 5 ลิตร
วิธีทำ
นำว่านน้ำล้างให้สะอาด มัดเป็นก้อน ทุบให้ผิวแตก แล้วแช่ในน้ำแอลกอฮอล์ 1 คืน, นำเปลือกมังคุดมาต้มในน้ำ จำนวน 2 ลิตร ให้งวดเหลือน้ำ 1 ลิตร, นำหมากดิบมาหั่นซอยเป็นแผ่นบางๆ ต้มน้ำร้อนเทใส่ ทิ้งไว้ 1 คืน, นำตะไคร้หอมทุบเล็กน้อยและกากน้ำตาลมาแซ่น้ำ 5 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืนเอาส่วนผสมที่ได้ทั้งหมดมาแซ่รวมกัน หมักต่อไปอีก 15 วัน
วิธีใช้
นำน้ำหมักสมุนไพร อัตราส่วน 150 ซีซี (หรือ 15 ช้อนโต๊ะ) ผสมจุลินทรีย์ EM 100 ซีซี (หรือ 10 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นไม้ ประมาณ 5 – 6 วันต่อครั้ง

4.11 การทำสารสกัดชีวภาพ (Fermented Plant Extract)

คือสารสกัดที่ได้จากการหมัก ยอดพืช วัชพืช ผัก ผลไม้ และ EM โดยมีส่วนประกอบของกรดอินทรีย์ (Ortanic Acids)
สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพแร่ธาตุและสารที่มีประโยชน์ ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตต่ำ

ส่วนผสม
1. ยอดพืชเก็บในตอนเช้าตรู่จะอุดมด้วยธาตุอาหาร เช่น ยอดมะพร้อมเมล็ดของสะเดา ยอดขี้เหล็กยอดพริก ใบสะระแหน่ กระถิน มัยราพยักษ์ หญ้า ยอดผักต่างๆ รวมทั้งผลไม้ เช่น ชมพู่ ส้มทที่ติดผลมากเกินไป เป็นต้น ปริมาณ 1ถัง หรือถัง 15 ลิตร
2. น้ำสะอาด 15 ลิตร หรือพอท่วมพืชผัก
3. EM ½ ลิตร (500 ซีซี)
4. กากน้ำตาล ½ ลิตร (500 ซีซี)
5. ถุงพลาสติกดำ 1 ถุง
*หากไม่มีกากน้ำตาลให้ใช้น้ำตาลทรายแดงแทนปริมาณ 2 กก. ผสมน้ำข้นๆ
วิธีทำ
1. สับพืช ผัก ผลไม้ ให้เป็นชิ้นเล็กๆ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร
2. นำพืช ผัก ผลไม้ สับลงในถังพลาสติก หรือ โอ่ง
3. ผสม EM และกากน้ำตาลลงในน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ แล้วเทส่วนผสมลงในถังหรือโอ่ง
4. ปิดถังหรือโอ่งด้วยพลาสติกดำ เอาเชือกหรือยางรัดมัดไว้
5. ปิดฝาและวางของหนักๆ ทับไว้ อย่าให้อากาศเข้า
6. เก็บไว้ในอุณหภูมิปกติ ไม่ให้ถูกแสงแดด หมักไว้ 5 – 7 วัน
7. 2 -3 วัน เขย่าถังเบาๆ เพื่อระบายแก๊สในถัง
8. ใช้ผ้ากรองน้ำสกัดใส่ขวดพลาสติก
9. เก็บไว้ได้ 3 เดือน ขึ้นไป
วิธีใช้
1. ใช้ อัตราส่วน 1 : 1,000 กับน้ำ (หรือ 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำ 1 ลิตร)
ฉีด พ่น รด ราด พืชในตอนเช้า หรือ หลังฝนตก ได้ทุกวัน
2. ใช้รดบนดิน บัวรดน้ำ สปริงเกอร์ หรือระบบให้น้ำอัตโนมัติ ก็ได้
3. ใช้รด พืช ผัก ลงบนเมล็ดที่กำลังงอก จะต้านทานโรคได้ดี ใช้ร่วมกับ EM 5(สุโตจู) จะเห็นผลเร็วยิ่งขึ้น

5. การใช้จุลินทรีย์ชีวภาพในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และบำบัดน้ำเสีย
5.1 การใช้จุลินทรีย์ชีวภาพกับพืช
พืชถือว่าเป็นผู้ผลิตอาหารให้คนและสัตว์ หากผู้ผลิตมีความสมบูรณ์แข็งแรงดี ก็จะส่งผลดีให้แก่ผู้บริโภค ผู้ผลิตหรือพืช อาศัยจุลินทรีย์ในดินช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีพลังต่อการเจริญเติบโตของพืช สำหรับการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพกับพืช แบ่งเป็นกลุ่มได้ ดังนี้
พืชผักสวนครัว
การปลูกพืชผักสวนครัว มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของชีวิตประจำวัน เพราะใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ดี ถ้าปลูกมากมีเหลือก็จำหน่ายได้ และสามารถยึดเป็นอาชีพได้ ขอให้มีความยึดมั่นในธรรมชาติ มีความขยันและอดทน การปลูกพืชผักสวนครัวมีหลักปฏิบัติ 5 ประการ
1. การเลือกเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์มีความจำเป็นในการเริ่มต้นในการเพาะปลูก จึงควรศึกษาเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี แข็งแรง ไม่เป็นโรคง่าย คัดสรรและเก็บรักษาไว้อย่างดีก่อนปลูก
2. การเตรียมดิน
คุณภาพของดิน จะเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของพืช การให้อาหารแก่ดินด้วยปุ๋ยชีวภาพจะทำให้ดินมีชีวิตและช่วยย่อยอินทรียวัตถุในดินให้ดินอุดมพร้อมแก่การเพาะปลูก
2.1 แปลงใหม่ (ดินไม่สมบูรณ์)
- ถ้าดินแข็งมาก อาจใช้เครื่องจักรช่วยในการไถก่อนยกแปลง
- ดินขาดอินทรียวัตถุ ควรแหวะท้องหมู ใส่จุลินทรีย์แห้งและรดด้วยจุลินทรีย์น้ำ
- ยกร่องให้สวยงาม โรยจุลินทรีย์แห้ง ตร.ม. ละ 1 กำมือ รดด้วยจุลินทรีย์น้ำ คลุมด้วยฟางไว้
5 – 7 วัน ปลูกพืชด้วยเมล็ดหรือกล้า
2.2 แปลงเก่า (ดินสมบูรณ์)
หลังจากตัดผักหรือถอนผักออกแล้ว ถอนหญ้า ปรับปรุงแปลง (ไม่ต้องขุด) แล้วเริ่มต้นดังนี้
1. ใส่ปุ๋ยแห้ง ตร.ม.ละ 1 – 2 กำมือ ใช้จอบสับเบาๆ ให้คลุกกับดิน
2. คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
3. รดด้วยจุลินทรีย์น้ำ 1-2 วัน
4. หมักไว้ 7 วัน ปลูกด้วยเมล็ดหรือกล้า
3. การปลูก
3.1 การปลูกด้วยเมล็ด
• นำเมล็ดไปแช่ในน้ำจุลินทรีย์ ประมาณ 30 นาที หากผิดเมล็ดแข็งให้แช่นานหน่อย
• แหวกหญ้าหรือฟางที่คลุมออก
• ใช้ไม้กระดานหน้า ½ x 2 นิ้ว กดเป็นรอยลึก 1-2 เซนติเมตร
• หยอดเมล็ดตามรอยที่กดไว้
• คลุมฟางเหมือนเดิม
• รดน้ำเช้าเย็น
• 2 วันแรกให้รดด้วยจุลินทรีย์น้ำช่วงเย็นวันละ 1 ครั้ง หลังจากนั้น ให้รดจุลินทรีย์น้ำ 3 วัน/ครั้ง นอกนั้นรดน้ำปกติ
3.2 ปลูกด้วยกล้า
การเพาะกล้ามี 2 ชนิด คือ
เพาะด้วยกะบะ
• อาจเป็นภาชนะสำเร็จรูป หรือใช้ไม้ ½ x 2 นิ้ว หรือวัสดุอื่น ทำเป็นกระบะขนาด 50 x 50 หรือ 50 x 70 หรือ 50 x 100 เซนติเมตร ให้สามารถยกย้ายและวางบนพื้นได้สะดวก
• ผสมจุลินทรีย์แห้งกับดินร่วน แกลบเผา อัตราส่วน 1: 5 : 3 ลงในกระบะ
• หยอดเมล็ดหรือหว่านเมล็ดให้ทั่ว อย่าให้แน่นเกินไป
• คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางบางๆ
• รดด้วยจุลินทรีย์น้ำให้ชุ่ม
• จากนั้นรดน้ำ เช้า-เย็น
• รดจุลินทรีย์น้ำช่วงเย็นติดต่อกัน 3 วัน หลังจากนั้นรดจุลินทรีย์น้ำ 3 วัน/ครั้ง
เพาะในแปลง
• นำจุลินทรีย์แห้งและแกลบเผาผสมในดิน ในแปลง คลุกให้ทั่ว ทำหน้าดินให้ละเอียด
• หยดเมล็ด หรือ โรยเมล็ด
• คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางบางๆ
• รดด้วยจุลินทรีย์น้ำให้ชุ่มทั่วแปลง
• รดน้ำ เช้า-เย็น
• 3 วันแรกรดจุลินทรีย์น้ำช่วงเย็นทุกวัน หลังจากนั้น รด 3 วัน/ครั้ง วันปกติรดน้ำธรรมดา
4. การดูแลรักษา
1. ผักเกือบทุกชนิดเพาะกล้าก่อนปลูกจะดี เพราะถ้าให้ร่นระยะเวลาในการลงปลูก สามารถปลูกได้หลายรุ่น และดูแลรักษาง่ายยกเว้นพืชผักที่ย้ายกล้าไม่ได้ เช่น แครอท หัวผักกาด การปลูกด้วยกล้าทำให้ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ด้วยดีกว่าปลูกด้วยเมล็ดแล้วต้องถอนทิ้งเมื่อผักแน่นเกินไป
2. ปกติจะใส่จุลินทรีย์แห้งครั้งเดียว แต่ถ้าผักมีอายุยาวเกิน 50 วัน ให้สังเกตว่าผักไม่สวย ไม่สมบูรณ์ ก็ใส่จุลินทรีย์แห้งได้ระหว่างแถว ไม่ให้ถูกต้นพืชผัก
3. การเตรียมแปลงดี ผักจะเจริญเติบโตเสมอกันทั้งแปลงผัก ต้นใดมีโรคให้งดน้ำ และรดด้วย EM สด ขยาย ผสมน้ำ 50 เท่า ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จึงให้น้ำต่อ
4. ผักมีหัวให้ขุดแปลงลึกๆ แหวะท้องหมู่บ่อยๆ และใส่จุลินทรีย์แห้งผสมให้ดี
5. การรดน้ำ ควรใช้บัวรพน้ำรูเล็กๆ ให้เป็นฝอยได้มากเท่าไรยิ่งดี
6. ไม่ควรรดน้ำด้วยสายยางที่น้ำพุ่งแรงๆ จะทำให้ผักนอนราบ โดยเฉพาะผักกาดขาวจะห่อใบยาวขึ้นหากถูกน้ำซัดแรงๆ ทุกวัน
7. พ่นด้วยสารไล่ศัตรูพืช หรือ สารป้องกันเชื้อรา ทุกๆ 3 วัน
ข้อสังเกต เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชโดยธรรมชาติ ควรปลูกผักกาดหอม ผักชีใบแหลม ปนกับผักอื่นๆ ปลูกต้นดาวเรือง ตะไคร้หอม ผกากรองไว้เป็นรั้ว และใช้ใบตะไคร้หอมมาคลุมแปลงผักจะป้องกันแมลง
รบกวนได้ด้วย
5. การเก็บผลผลิต - การจำหน่าย
การเก็บผลผลิตควรดำเนินไปตามอายุของผักแต่ละประเภท และหากปลูกโดยใช้จุลินทรีย์ชีวภาพดังกล่าวข้างต้น ควรเก็บก่อนกำหนดเล็กน้อยเพราะ
5.1 ผักธรรมชาติเจริญเติบโตเร็ว
5.2 ร่นระยะเวลาปลูก ลดแรงงาน และรายจ่าย
5.3 หากเก็บช้าหรือเกินอายุทำให้ผักมีภูมิต้านทานต่ำเกิดโรคได้
5.4 การเก็บควรใช้วิธีตัด ยกเว้นผักหัวใช้ถอน
5.5 ผักที่เป็นผลควรเก็บอย่างประณีต เพื่อให้โอกาสเกิดผลใหม่อีก เช่น ถั่ว แตง
5.6 ผักทั่วไปเก็บแล้วล้างให้สะอาด บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย
5.7 ผักที่เป็นผัก เช่น ถั่ว เก็บแล้วไม่ต้องล้าง ไม่ต้องพรมน้ำ
ข้อควรจำ
• ผักธรรมชาติทนทาน ขั้วไม่หลุดง่าย เหี่ยวยาก
• ไม่ต้องแช่สารเคมี
• น้ำพรมผักหรือแช่ผักควรผสม EM ด้วย • ไม่ควรนำผลผลิตไปขายร่วมกับแผลผักเคมี จะทำให้เสียคุณภาพ ควรเปิดแผงผักปลอดสารพิษหรือผักธรรมชาติเพื่อสะดวกต่อการเลือกซื้อของผุ้บริโภค สามารถรับรองคุณภาพและสามารถกำหนดราคาได้ดีในอนาคตช่วงที่เหมาะสมในการปลูกพืชผักกุมภาพันธ์ -
เมษายน
• ผักชี หอม ผักบุ้งจีน ผักกาดหัว ถั่วผักยาว แตงกวา มะระ ผักกาดเขียวปลี ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาวพฤษภาคม - กรกฎาคม
• ผักคะน้า กุยช่าย บวบเหลี่ยม ข้าวโพดหวาน หอมแดงสิงหาคม -
ตุลาคม (ปลายฝน)ผักชีลาว ผักโขม กุยช่าย ผักกาดขาว ผักกาดหอม พริก มะเบือเปราะ มะเขือยาวปลูกได้ทั้งปี
• ผักสวนครัวต่างๆ เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ โหระพา แมงลัก ฯลฯ
พืชไร่ พืชไร่ เป็นพืชที่คล้ายพืชผักสวนครัวในบางส่วนเพราะสามารถเพาะปลูกเป็นแปลงก็ได้ เพาะปลูกเป็นหลุมก็ดี ที่ต่างออกไปคือการเพาะปลูกเป็นลานกว้างเป็นแปลงเดียวทั้งพื้นที่ หรือแบ่งเป็นแปลงใหญ่ๆ มีขั้นตอนดังนี้
1. การเลือกพันธุ์ พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ คือเหมาะสมกับพื้นที่ และฤดูกาล เช่น
• พื้นที่ที่ปลูกเหมาะแก่พืชน้ำ หรือพืชดิน
• ฤดูกาลการเพาะปลูก และการให้ผลผลิตต่อปี
2. การเตรียมแปลง
แบบที่ 1 เตรียมแปลงเหมือนผักสวนครัว (เป็นแปลงยกร่องตามที่ได้กล่าวมาแล้ว)
• ทำแปลงลึกรูปตัว V เหมาะสมกับพืชที่ไม่ต้องการความชื้น เช่น แตงร้าน ถั่ว เป็นต้น
วิธีเตรียมดิน
1. ขุดเป็นรูปตัว V ขนาดพอเหมาะ กว้าง และลึก ประมาณ 50 ซม.
2. ใส่อินทรียวัตถุ เช่น หญ้าแห้ง ฟาง มูลสัตว์ ใบไม้แห้ง ฯลฯ
3. โรยจุลินทรีย์แห้ง ตารางเมตรละ 1 กำมือ
4. รดด้วยจุลินทรีย์น้ำ
5. ปิดแปลงด้วยดิน คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง รดด้วยจุลินทรีย์น้ำ หมักไว้ 7 วัน จึงปลูกพืช
แบบที่ 2 เตรียมเป็นหลุมขนาดต่างๆ ตามลักษณะของพืช (ใช้กับการปลูก บวบ แตง ฟักทอง ฯลฯ)
วิธีเตรียมดิน
1. ขุดหลุมประมาณ 30 x 30 ซ.ม. หรือ 50 x 50 ซ.ม.
2. 2 -5 (ทำเหมือนแบบที่ 1)
แบบที่ 3 เตรียมแปลงปลูกเป็นแปลงใหญ่ แปลงเดียวหรือหลายแปลง
วิธีเตรียมดิน
1. ถ้ามีหญ้ามากดำเนินการดังนี้
• ใส่จุลินทรีย์แห้ง พ่นจุลินทรีย์น้ำ ให้ทั่ว
• ไถและคราด หรือไถกลบ
• พ่นจุลินทรีย์น้ำอีกครั้ง เพื่อช่วยให้หญ้างอก ทิ้งไว้ 10 – 15 วัน แล้วไถคราดอีกให้เป็นปุ๋ย 2 ต่อ
• หากหญ้ายังไม่หมดพ่นจุลินทรีย์น้ำทิ้งไว้ 10 – 15 วัน แล้วไถคราดอีกครั้งจึงปลูก
2. เตรียมหลุมในแปลงใหญ่ได้ สำหรับพืชที่ระยะห่างกันมาก เช่น แตง ฟักทอง ฯลฯ หรือ ขุดปลูกได้
เลยตามลักษณะของพืช
3. การปลูก
3.1 ปลูกด้วยเมล็ด
• เตรียมเมล็ดให้พอเหมาะกับพื้นที่
• นำเมล็ดแช่จุลินทรีย์น้ำ (EM 1 ส่วน น้ำ 100 ส่วน) ประมาณ 20 – 30 นาที
• นำลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้
• ถ้าปลูกเป็นหลุมๆ ละประมาณ 3 – 4 เมล็ด
ฯลฯ
3.2 การปลูกด้วยกล้า
• เพาะกล้าในถุงเพาะ หรือแปลงเพาะ หรือกระบะเพาะ
• ดูแลรดน้ำสม่ำเสมอ
• โตพอควรจึงนำไปปลูก
ข้อควรคำนึงในการเพาะกล้า
1. เตรียมดินดี
2. เพาะในถุงไม่ควรมีเมล็ดมากเกินไป
3. เพาะในแปลงอย่าให้ถี่มากเกินไป
4. ให้เป็นไปตามอายุของพืช การปลูกอย่าให้อ่อนหรือแก่เกินควร
5. การปลูกพืชต่อเนื่อง การเพาะกล้าช่วยให้ปลูกได้หลายรุ่น และได้ผลผลิตมากกว่าเดิม
6. การปลูกด้วยกล้า ควรทำร่มเงาด้วยสักระยะหนึ่ง (ประมาณ 1 สัปดาห์) อาจจะใช้ฟางคลุมหรือทำนั่งร้านคลุมด้วยสแลน ฯลฯ



4. การดูแลรักษา
4.1 การให้น้ำ
• พืชบางชนิดหลังปลูกให้น้ำชั่วคราว แล้วไม่ต้องให้อีก เช่น แตงโม พริก มะเขือ ฟักทอง ยกเว้นแล้งจัด
• พืชบางชนิดต้องให้น้ำตลอด เช่น ถั่ว แตงร้าน
• พืชบางชนิด เช่น แตงกวา ฟักทอง ถ้าจะให้น้ำให้ที่ลำต้นที่เดียว ไม่ต้องฉีดพ่นทั่วไป
• บางชนิดอาจไม่ต้องให้น้ำเลย เช่น ข้าวโพด สับปะรด ถั่วบางชนิด ฯลฯ แต่อาศัยน้ำจากธรรมชาติ
การปลูกต้องพึ่งฤดูกาล
4.2 การให้ปุ๋ย
• ใส่จุลินทรีย์แห้งเดือนละครั้งหรือเมื่อสังเกตว่าพืชไม่สมบูรณ์
• เวลาใส่จุลินทรีย์แห้ง ให้ใส่รอบๆ ดิน หรือระหว่างแถว ไม่ให้ถูกลำต้น และใบ
• พ่นจุลินทรีย์น้ำ เสมอๆ สลับกับสานไล่หรือป้องกันศัตรูพืชประมาณเดือนละ 2 ครั้ง
• พืชที่ไม่ต้องให้น้ำ ควรพ่นจุลินทรีย์น้ำ และสารไล่ศัตรูพืชหลังฝนตก หากฝนไม่ตก อาจผสมน้ำ
ปริมาณมากกว่าเดิม และพ่นให้มากกว่าปกติ
4.3 การป้องกันศัตรูพืช
• ฉีดสารไล่แมลงหรือศัตรูพืชไว้ก่อนเสมอ เพื่อเป็นการป้องกัน
• หากมีแมลงศัตรูพืชมากหรืออยู่ช่วงฤดูศัตรูพืชระบาด ควรฉีดสารไล่แมลงบ่อยๆ 2-3 วัน/ครั้ง
• พื้นที่กว้างอาจแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ฉีดทุกวันๆ ละ 1 ส่วน สลับกันไปเพื่อประหยัดแรงงาน
5. การเก็บผลผลิต
• พืชเจริญเติบโตไม่เท่ากัน การเก็บผลก็ต่างกันออกไป
• ควรเก็บในตอนเช้า
• พืชที่มีผลต่อเนื่อง คือออกผลได้อีก เช่น แตง ถั่ว ควรเก็บให้รอบคอบ ไม่ทำลายขั้ว
• การดูแลรักษาผลผลิตต่อเนื่องเป็นเรื่องจำเป็น บางชนิดทับถมกันได้ บางชนิดทับถมกันมากไม่ได้
บางชนิดต้องมัดหรือบรรจุถุง หรือห่อ
พืชสวน
พืชสวนโดยทั่วไป จะมีการเตรีมดินปลูกเป็นหลุมๆ ละ 1 ต้น จึงไม่ต้องไถพื้นที่ ยกเว้นเพื่อการปราบวัชพืช อาจไถหลายครั้ง จากนั้นก็เตรียาหลุมปลูก
1. ขุดหลุมขนาดประมาณ 50 x 50 x 50 ซ.ม.
2. ใส่อินทรียวัตถุ เช่น หญ้าแห้ง ฟาง ใบไม้ มูลสัตว์ และใส่จุลินทรีย์แห้ง 2-3 กำมือ รดด้วย จุลินทรีย์น้ำ (EM + กากน้ำตาล + น้ำ อัตราส่วน 1 : 1 : 500) เอาดินกลบ หมักไว้ 7 วัน
3. นำต้นกล้ามาลงหลุม คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
4. ระวังการเหยียบย่ำด้วยคน และสัตว์ หรือพาหนะ
5. บริเวณชายพุ่มไม้ ที่ใบไม้ ดอกไม้ ร่วงลงมา ไม่ควรกวาดหรือนำไปที่อื่น เนื่องจากเป็นความสมดุลทางธรรมชาติ เมื่อออกดอก ผล ทั้งใบ ดอก ผล ที่ร่วงลงมาจะกลายเป็นอาหารของต้นเดิม อย่างต่อเนื่อง
6. การเสริมสร้างคุณภาพให้แก่ดิน ทำให้ต้นไม้แข็งแรงสามารถจะให้ผลผลิตในปีต่อไปได้ปกติหรือดีกว่าเดิม และถ้าดินสมบูรณ์จริงๆ จะออกดอก ผล ตลอดปี ดังนั้นต้นไม้ที่ออกผลปีเว้นปี คือ ต้นไม้ที่ไม่สมบูรณ์นั่นเอง
ข้อควรคำนึง
• การให้ปุ๋ยแห้งสำหรับไม้ผล
ครั้งที่ 1 หลังจากเก็บผล ตกแต่งกิ่งแล้ว
ครั้งที่ 2 หลังจากแตกใบอ่อน และใบอ่อนใกล้แก่
ครั้งที่ 3 ก่อนติดช่อดอก
ครั้งที่ 4 เมื่อติดลูกเล็ก
• พ่นจุลินทรีย์น้ำทุกๆ เดือน
• พ่นสารไล่แมลงศัตรูพืชเสมอๆ
• พ่นฮอร์โมนผลไม้ หรือฮอร์โมนยอดพืชเดือนละครั้ง หรือใช้พ่นหลังให้จุลินทรีย์แห้งแล้ว
การทำนาข้าว
ในประเทศไทย มีพื้นที่เพื่อการทำนามากกว่าการทำเกษตรชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก บางส่วน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคใต้บางพื้นที่ แม้แต่บนเขาในภาคเหนือก็มีการปลูกข้าว จึงทำให้เห็นว่าผลผลิตข้าวในประเทศไทยจะมีปริมาณสูงเป็นเรื่องที่น่าจะยินดี แต่การผลิตข้าวในประเทศไทยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และสารพิษสารเคมีในการกำจัดและปราบศัตรูพืช รวมถึงการแก้ปัญหาโรคข้าวและการปราบหญ้ากันมาก ทำให้ข้าวไทยไม่เหมาะแก่การบริโภคมากนักจึงทำให้เกรงว่าในปีต่อๆ ไป ข้าวไทยจะมีปัญหาเรื่องการตลาดอย่างหนัก เพราะตลาดโลกเข้มงวดกับผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นเกษตรเคมี ประกอบกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย เช่น ลาว เวียดนาม กำลังส่งการผลิตข้าวที่ไม่ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และงดการใช้สารพิษสารเคมีทั้งปวงโดยใช้เทคนิคเกษตรธรรมชาติ ซึ่งมีจุลินทรีย์ EM เป็นหลัก
การทำนาโดยใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ มีดังนี้
1. การเตรียมแปลงเพาะกล้าและการเพาะกล้า
มีข้อควรคำนึงในการเพาะกล้าบ้างเล็กน้อย คือ
1.1 อย่าเพาะให้กล้าแคระแกร็นหรืออวบเกินไป
1.2 ก่อนเพาะกล้าเลือกเมล็ดลีบหรือครึ่งลีบออกให้หมด
1.3 อย่าใส่จุลินทรีย์แห้งก่อนไถ หรือก่อนคราด จะทำให้กล้ารากลึก ทำให้ถอนยาก
1.4 ควรใส่จุลินทรีย์แห้งหลังจากเตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้ว โรยโบกาฉิให้ทั่วแล้วใช้ไม้ยาวๆ เกลี่ยปุ๋ยให้ทั่วพื้นดินก่อนทอดกล้า
1.5 ก่อนเพาะกล้าจะให้วิธีใดก็ได้ แต่ขอเสนอวิธีที่เป็นแนวทางได้ ดังนี้
- แยกเมล็ดลีบ โดยการนำไข่สด 2 ฟอง ใส่ในน้ำที่ใช้คัดเมล็ดลับ เติมเกลือจนกระทั่งไข่ทั้ง 2
ฟองลอย แช่พันธุ์ข้าวลงไปจะมีเมล็ดจมและลอย
- แยกเมล็ดลีบที่ลอยให้หมด นำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปล้างน้ำให้หายเค็ม

- นำเมล็ดข้าวไปแช่น้ำ EM (EM + น้ำ 500 เท่า) ไว้ 6 ชม. จึงนำมาอบ หรือผึ่งในภาชนะที่ระเหย
น้ำได้
- รดน้ำผสม EM ทุกวันจนกระทั่งเมล็ดข้าวมีจุดขาวที่จมูกข้าว แสดงว่ารากเริ่มงอก
- นำไปผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำไปหว่านในแปลงเพาะกล้าได้อย่าปล่อยให้รากยาว
- เพิ่มน้ำในแปลงเพาะกล้าตามความจำเป็น อย่าให้ลึกเกินไป ต้นกล้าจะผอม
2. การเตรียมแปลงนาดำ
ควรใส่จุลินทรีย์แห้งประมาณ 100 กก./ไร่ ก่อนไถหรือก่อนคราด ฉีดพ่น EM ขยายให้ทั่วด้วย หลังจากคราดแล้วหมักไว้ 15 วัน หากมีหญ้างอกให้ฉีดพ่น EM ขยาย และไถคราดอีกครั้งเพื่อปราบหญ้า
- ลงมือปักดำได้
- ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรใส่จุลินทรีย์แห้งอีก หากจำเป็นให้ใส่หลังปักดำไม่ต่ำกว่า 1 เดือน เพราะช่วงนี้ต้น
ข้าวอยู่ระหว่างการเจริญเติบโต หากใส่จุลินทรีย์แห้งรากจะลอยทำให้ต้นข้าวล้ม หากใส่จุลินทรีย์แห้ง
ก่อนไถหรือก่อนคราด รากข้าวจะหากินลึก ไม่ทำให้ต้นข้าวล้ม และการเพิ่มจุลินทรีย์แห้งบ่อยทำให้
ข้าวงาม มีใบเยอะเช่นกัน และมีจำนวนเมล็ดน้อยลงด้วย
การใส่จุลินทรีย์แห้ง ควรพิจารณาดังนี้
- ใส่หลังเก็บเกี่ยว ฉีดพ่น EM ขยายแล้วไถกลบ หรือ
- ใส่ก่อนการไถดำอีกครั้งถ้าจำเป็น หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่ต้องไถปราบหญ้าที่เกิดขึ้นให้กลายเป็นปุ๋ยด้วยการ
ฉีดพ่นด้วย EM ขยายอย่างเดียวก็ได้
3. การเตรียมแปลงนาหว่าน
เหมือนการทำนาดำ คือ ควรใส่จุลินทรีย์แห้งหลังการเก็บเกี่ยวแล้ไถกลบฟางไว้ หากจะทำนาปรังต่อ หลังไถกลบแล้วคราดด้วย หมักไว้ 15 วัน เพื่อดูการงอกของวัชพืช หากมีฉีดพ่น EM ขยาย ไถ คราด อีกครั้งจึงลงมือเพาะปลูก
4. การดูแลรักษาต้นข้าว
4.1 ฉีด EM ขยาย เดือนละ 1 ครั้ง
4.2 หากมีศัตรูพืช ฉีดพ่นสุโตจูสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
4.3 เมื่อข้าวออกรวงแล้ว จะฉีดพ่น EM ต้องใช้ EM ไม่ผสมกากน้ำตาล หากใช้ EM ขยายจะทำให้เมล็ด
ข้าวไม่สวย
4.4 ฉีดพ่นสารสกัดจากยอดพืชด้วยเสมอๆ ก็จะให้ผลผลิตและต้นข้าวแข็งแรงดี
5. การเก็บเกี่ยว
เนื่องจากข้าวธรรมชาติจะไม่แห้งหากพื้นนายังชื้นอยู่ จึงควรดูอายุของข้าวว่าควรเก็บเกี่ยวเมื่อใด ก็ดำเนินการตามนั้น
6. การปรับปรุงดินต่อเนื่อง หมายถึงว่า หากจะให้พื้นที่นาดีขึ้นๆ หลังเก็บเกี่ยวควรใส่จุรินทรีย์แห้ง พ่น EM แล้วไถกลบเลยทีเดียว จนกว่าฝนจะตกมา จึงไถดำหรือหว่านจะได้ฟางไว้เป็นปุ๋ย และดินได้มีโอกาสปรับปรุงให้ดีขึ้น พยายามให้นามีอินทรียวัตถุมากๆ เช่น ให้มีฟาง (ไม่ควรเผา) ให้มีหญ้าเพื่อใช้เป็นปุ๋ยธรรมชาติต่อไป งดใช้ยาฆ่าหญ้าโดยเด็ดขาด หากอินทรียวัตถุน้อย ควรหามาเพิ่มจะเป็นมูลสัตว์ด้วยก็จะดีมาก ครั้งแรกใส่จุลินทรีย์แห้งมากๆ ปี ต่อไปก็ลดลงได้
7. ผลดีของการใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพ
7.1 ปกติข้าวธรรมชาติปลูกด้วย EM จะไม่ล้มอยู่แล้ว
7.2 การฉีดพ่น EM ควรฉีดพ่นให้ทั่ว หากให้ EM ด้วยการหยดไหลไปกับน้ำข้าวที่อยู่ห่างไกลจะมีความ
สมบูรณ์น้อย
7.3 นาธรรมชาติ ข้าวที่ปลูกในร่มรำไรจะไม่มีเมล็ดลีบเหมือนปลูกด้วยปุ๋ยวิทยาศาตร์
7.4 ข้าวมีรสชาติอร่อย กลิ่นหอม หุงต้มแล้วบูดช้ากว่าปกติ
8 การใช้กับการประมง
การเลี้ยงสัตว์น้ำสิ่งสำคัญอยู่ที่การรักษาสภาพของน้ำซึ่งจุลินทรีย์ก็สามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญในการประมงด้วยเช่นกัน
การเลี้ยงปลา
1. การเลี้ยงปลาในบ่อขนาดเล็ก
2. การเลี้ยงปลาบ่อธรรมชาติขนาดใหญ่
การเลี้ยงปลาในบ่อขนาดเล็ก
เพื่อส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้พึ่งพาตนเองได้หรือให้ชาวบ้าน หรือผู้ที่มีพื้นที่น้อยสามารถทำบ่อปลาขนาดเล็ก เลียนแบบธรรมชาติ และเลี้ยงปลาจำนวนมากได้เป็นอาหารในครอบครัว และหากเหลือจำหน่ายเป็นรายได้ต่อไป
การเลี้ยงปลาในบ่อธรรมชาติขนาดใหญ่
1. เนื่องจากมีเกษตรกรหลายรายที่มีบ่อปลาอยู่แล้ว ให้ใส่จุลินทรีย์แห้งลงไปในบ่อ (อัตราส่วน จุลินทรีย์แห้ง : ปริมาตรบ่อ = 1 ตร.ม. : 1 กำมือ หรือจุลินทรีย์แห้ง 20 กก. : 1 ไร่)
2. ใส่จุลินทรีย์น้ำ (EM ขยาย 2 ลิตร กากน้ำตาล 2 ลิตร น้ำ 200 ลิตร)
3. ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จึงนำปลามาปล่อย
4. สังเกตดูน้ำโดยตักดมดูจะไม่มีกลิ่น หากมีกลิ่นเหม็นใส่จุลินทรีย์น้ำ (ตามอัตราส่วนข้างต้น) ลงไปในบ่อ เพื่อบำบัดน้ำเสีย

การทำอาหารปลาจาก EM
อาหารลูกปลา 1-4 สัปดาห์ (ต่อขนาดบ่อ 10 x 10 ม.)
ส่วนผสม
1. ปลายข้าวที่ต้มแล้ว 2 ส่วน
2. รำละเอียด 1 ส่วน
3. ผักสด (สับหรือหั่นละเอียด) 1 ส่วน
4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำสะอาด 5 ลิตร หรือ 5-6 ส่วน
วิธีทำ
• นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน แล้วหมักไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง

วิธีใช้
. ให้ลูกปลากิน เช้าและเย็น (หมักเช้าใช้ช่วงเย็น หมักเย็นใช้ช่วงเช้า)
• การให้อาหารมากเกินไป หรือหลายมื้อ ลูกปลาจะท้องอืดตาย• ปลามาก – น้อย เพิ่ม – ลด ส่วนผสมได้ตามส่วน
อาหารปลาใหญ่ 5 สัปดาห์ขึ้นไป (ต่อขนาดบ่อ 10 x 10 ม.)

ส่วนผสม
1. มูลสัตว์แห้ง 1 ส่วน
2. รำละเอียด 2 ส่วน
3. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำสะอาด 5 ลิตร หรือ 5-6 ส่วน
วิธีทำ
• นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 6 ชั่วโมง

วิธีใช้
• ให้ลูกปลากิน เช้าและเย็น

การเตรียมบ่อขนาดเล็ก
1. ขุดบ่อขนาดกว้าง 2 ม. ยาว 4 ม. ลึก 1 ม.
2. ปูบ่อด้วยพลาสติกหน้ากว้าง 4 ม. เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้และเชื้อโรคอื่นๆ ไม่ปนเปื้อนมาจากดิน เซาะขอบบ่อเป็นร่อง พับพลาสติกอัดลงร่อง แล้วเอาดินกลบให้มิดชิดถึงขอบบ่อ
3. ใส่ดินลงกันบ่อพอประมาณ เพื่อสร้างสภาพธรรมชาติ
4. ใส่ปุ๋ยแห้งลงไปในบ่อประมาณ 8-10 กำมือ เพื่อสร้างแพลงตอนเป็นอาหารในน้ำ ใส่จุลินทรีย์น้ำ 1-2 แก้ว เพื่อบำบัดน้ำในบ่อ
5. ปล่อยน้ำเข้าให้เต็มบ่อ ไม่ให้เห็นขอบพลาสติก ทิ้งไว้ 3-5 วัน
6. นำปลาขนาด 2 นิ้ว ลงเลี้ยงประมาณ 400 ตัว
7. ล้อมรอบบ่อด้วยตาข่ายเก็บชายฝังดิน เพื่อกันงูและสัตว์อื่นมากินปลา
8. ปูลกพืชผักสวนครัว เช่น ตะไคร้ โหระพา แมงลัก ผักชี ถั่วฝักยาว ฯลฯ รอบๆ บ่อ
9. ประมาณ 45-60 วัน จับได้
ชนิดของปลา สามารถเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาไน ปลาบู่ ฯลฯ
หมายเหตุ ช่วงหน้าหนาวปลากินอาหารน้อย จะเติบโตช้ากว่าปกติ